ที่มา
ประชาไท
คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ลูกสาวของนักการเมืองสักคนจะลุกขึ้นมาจัดกิจกรรมสักอย่าง หากเราไม่พบว่ามีชื่อของ ‘น้องเอม’ จารี ปิ่นทอง บุตรสาวสุดหวงของ ‘เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ รวมอยู่ด้วย และยังมีลูกนักการเมือง ไฮโซสกุลดังต่างขั้วร่วมอยู่ในคณะเจ้าภาพด้วย
“หากการเมืองเรื่องของสีเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกแตกขั้ว ขึ้นในประเทศไทย แล้วทำไมเราไม่มาร่วมใจใช้สีที่เคยแบ่งแยกเยาวชนไทยให้ กลับมาเป็นหนึ่งเดียว และสร้างรอยยิ้มขึ้นอีกครั้ง” นี่คือประโยคใบเปิดงานกิจกรรมทางศิลปะ ‘ร่วมแรง ร่วมใจให้เมืองไทยในฝัน’ ของคณะเจ้าภาพซึ่งล้วนเป็นศิษย์เก่าขององค์กรสหสากลวิทยาลัย (United World College) หรือ UWC ซึ่ง ‘อ้อมแก้ว เวชยชัย’ บุตรสาวคนโตของ‘ภูมิธรรม เวชยชัย’ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม นักการเมืองในบ้านเลขที่ 111 ของอดีตพรรคไทยรักไทยเป็นหนึ่งในนั้น
คง ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ลูกสาวของนักการเมืองสักคนจะลุกขึ้นมาจัด กิจกรรมสักอย่างเพื่อแสดงออกซึ่งสถานะทางสังคม หากเราไม่พบว่ามีชื่อของ ‘น้องเอม’ จารี ปิ่นทอง บุตรสาวสุดหวงของ ‘เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ ไม้เบื่อไม้เมาของระบอบทักษิณและพวกรวมอยู่ด้วย และยังมีลูกนักการเมือง ไฮโซนามสกุลดังซึ่งที่จุดยืนทางการเมืองตามความรับรู้ของผู้คน (ที่สนใจ) ต่างขั้วต่างความคิดกันร่วมอยู่ในคณะเจ้าภาพด้วย
งานจัดขึ้นในวันพุธ ที่ 10 สิงหาคม 25541 นี้ เวลา 16.00-22.00 น. ที่ Re-Café ซอยมหาดเล็กหลวง1 ราชดำริ พร้อมๆ กับคำถามที่เกิดขึ้นมากมายจากคนที่ทราบข่าว
อ้อมแก้ว หรือ ‘ฝ้าย’ บุตรสาวคนโตของอดีต ‘สหายใหญ่’ แห่งสำนัก เอ.30 นั่งอยู่ตรงหน้าเพื่อรอตอบคำถามอยู่แล้ว
0 0 0
งานนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เริ่ม จากตัวพวกเรากลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตนักเรียนทุนของ UWC ซึ่งเป็นทุนที่ทาง ก.พ.จัดสรรให้ เรามีความหลากหลายมาก งานนี้จึงรวมคนหลายคนที่มี ทั้งปรัชญาทางการเมือง ไม่อยากให้เห็นงานเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง อยากให้งานออกมาในทางศิลปะมากกว่า
จริงๆ แนวความคิดเรื่องการยอมรับความแตกต่างนี้เราได้มาจากโรงเรียน UWC ซึ่งสอนเราดีมากทีเดียว เพราะโรงเรียนแต่ละที่นี้ เป็นการคัดเลือกคนจากหลายประเทศ ประเทศละคนหรือสองคนมาใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนด้วยกัน และแต่ละคนมีความแตกต่างกันมาก บางคนไม่ชอบอเมริกา มากก็สามารถมานอนอยู่ร่วมห้องกันกับเพื่อนนักเรียนจากอเมริกา มีคนปาเลสไตน์กับคนยิวจากอิสราเอลมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันนั่งเรียนในห้อง เดียวกัน มีคนอินเดียกับปากีสถาน มาอยู่ร่วมด้วยกัน ซึ่งมันสอนให้เราต้องอยู่รวมกันให้ได้ แม้ว่าจะเกลียดชังกันมาก่อน มีความคิดทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน หรือสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
การ แตกต่างทางความคิดสำหรับฝ้าย เราต้องยอมรับกันและกันให้ได้ ยิ่งพอมันเป็นเรื่องการเมืองไทย สีมันไม่ควรแบ่งแยกเราออกจากกัน ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อนมันยังคงอยู่
ส่วนราย ละเอียดในงานก็คงให้ทุกคนที่มาร่วมได้แสดงออกในการสร้างงาน ศิลปะ ศิลปะตามความคิดของเขาเลย เรามีกระดาษ มีเฟรมกับสีให้ ใครอยากทำอะไรก็ทำได้เลย มีอิสระเต็มที่
ที่บอกว่า ยอมรับกันได้ เป็นการยอมรับกันได้ในจุดไหน?
ยอม รับในความเป็นมนุษย์ของเขา ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง การเมืองมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เราเป็นคนรุ่นใหม่ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มโครงสร้างอำนาจไหน สิ่งที่เราต้องการคือให้คนเข้าใจว่าการที่คนมีความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง กัน ไม่ได้หมายความว่าเขาผิดหรือเราถูก แต่ละคนมีสิทธิโดยพื้นฐานที่จะคิด บนฐานอุดมการณ์และความเชื่อของตัวเอง
อย่างฝ้ายเป็นเพื่อน กับเอม ก็ไม่ได้คิดว่าทำไมเอม (จารี ปิ่นทอง) ถึงคิดไม่เหมือนเรา หรือทำไมเราไม่คิดเหมือนเอม ก็เพราะว่าเราคิดไม่เหมือนกัน แต่เรามีความสัมพันธ์ในเชิงมิตรภาพด้วยกันมาก่อน เราก็ไม่เอาความเห็นทางการเมืองมาตัดสิน
ที่บอกว่าไม่อยู่ในกลุ่มอำนาจมันขัดกับข้อเท็จจริงหรือเปล่าว่าเราเป็นลูกนักการเมือง?
ลักษณะที่เราจะทำไม่ได้อยากทำบนพื้นฐานของ การแสดงสถานะทางสังคม แต่เราอยากทำเพื่อให้มันเกิดแรงกระเพื่อมในสังคมบางอย่าง จุดประสงค์เราเพื่อต้องการให้เกิดสิ่งดีๆ กับสังคมนี้ ก่อนหน้านี้ก็เคยจัดกิจกรรมกับศิษย์เก่า UWC แต่เป็นเรื่องของการศึกษา นี่เป็นครั้งแรกที่จัดในเรื่องที่ที่เอาความเห็นทางการเมืองมาแสดงออกในรูป แบบศิลปะกัน
การเป็นลูกนักการเมืองก็น่าจะเจอคำถามว่าทำไมไม่หาอะไรอย่างอื่นทำที่มันสบายกว่านี้?
ฝ้าย เป็นลูกนักการเมืองซึ่งครอบครัวนักการเมืองจริงๆ ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากครอบครัวอื่น ฝ้ายโตขึ้นมาตอนพ่อเป็น NGO ไม่ใช่นักการเมือง แม่เป็นนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ ยังไม่มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นเพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เกิดมาสบายเลย เราผ่านชีวิตที่เห็นพ่อทำงานกับชาวบ้านคนยากคนจนมา และพ่อก็สอนเราในเรื่องของจิตอาสา จิตสาธารณะ ที่ฝ้ายเป็นนี่จึงเป็นตัวตนของฝ้ายจริงๆ ฝ้ายก็คิดและเชื่ออย่างนั้น เราโตมากับภาพที่พ่อออกไปทำงานกับชาวบ้าน ฝ้ายเองก็โตมากับงานเพื่อสังคม ช่วงหนึ่งไปทำวิจัยที่พะเยากับเด็กกำพร้า เด็กติดเชื้อ เด็กตกเขียว อยู่ระยะนึง เพราะฉะนั้นเราจึงเป็นคนแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร
ทำไมจึงเป็นเรื่องของศิลปะไม่ใช่เวทีอภิปรายทางการเมือง?
เพราะมันได้ผ่านการถกเถียงกันมาพอแล้ว พอมันเป็นศิลปะทำให้เราได้ Creative ได้แสดงออกในสิ่งที่เราคิดโดยไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก เราไม่ได้แสดงตัวตนของเรา เรามีอิสระในการแสดงออกได้เต็มที่ ไม่มีใครมาชี้มาถกเถียงว่ามันผิดหรือถูก แต่ก็มีการเชิญหลายคนมาร่วม แต่ไม่มีเวทีนะ (ยิ้ม) ให้เขามาดูงานและพูดคุยทักทายกันมากกว่า
แล้วการเมืองในทัศนะของอ้อมแก้ว เวชยชัยเป็นอย่างไร?
ความเห็นในเรื่องการเมืองไม่ขอตอบได้ไหม(ยิ้ม) แต่ละคนมีความเห็นอยู่แล้ว
กับ เอม(จารี ปิ่นทอง) ซึ่งคุณพ่อของเธอ(เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง)อยู่ฝั่งตรงข้ามกับคุณพ่อของฝ้าย เราในฐานะลูกๆ เคยคุยเคยสื่อสารกันบ้างไหม?
เราไม่พูดเรื่อง การเมืองด้วยกัน แต่เรื่องทั่วไปก็คุย เอมก็เป็นศิษย์เก่าของ UWC แต่เรียนคนละที่กับฝ้ายนะ เราคุยกันได้ปกติ เรื่องการเมืองไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องเลย ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่จำเป็นเข้ามาเกี่ยวอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันของเราก็ดำเนินไป ใครจะเอาเรื่องนั้นมาคิดตลอดเวลา (ยิ้ม)
หวังผลอะไรจากกิจกรรมนี้?
Send message across (ส่งสารออกไป) เราไม่ได้เอาการเมืองมาเป็นตัวชี้วัดในความเป็นมิตร ถ้ามองข้ามการเมืองไปเราจะเจอข้อดีของคนที่แตกต่างจากเรามากมาย
เตรียม รับมือกับเสียง ที่อาจสะท้อนกลับมาในแง่ลบไว้หรือยัง เพราะขณะนี้การแสดงออกในการเรียกร้องความเป็นกลางมักถูกวิจารณ์จากฝั่งใด ฝั่งหนึ่ง?
ยัง(หัวเราะ) ไม่รู้สิ...ฝ้ายคิดว่าเราคิดดี เราทำในสิ่งที่มันดี ไม่ได้ทำในสิ่งที่ไปซ้ำเติมใคร จุดเน้นของเราคืออยากให้เราอยู่ร่วมกันได้ในความคิดที่แตกต่าง และเคารพความคิดของกันและกัน ก็คิดว่าน่าจะมีผลที่ดีสะท้อนกลับมา เราหวังดีกับประเทศของเรา อยากให้เดินหน้าต่อไปและพบเจอแต่เรื่องดีๆ ส่วนแง่ลบจะออกมาอย่างไร ฝ้ายก็พร้อมรับฟัง
อนาคตอยากเล่นการเมืองไหม?
ตอน นี้ยังไม่คิด(ยิ้ม) ทุกวันนี้สนับสนุนในสิ่งที่คุณพ่อทำ คนรอบตัวทำ แต่โดยส่วนตัวฝ้ายไม่ได้สนใจการเมืองเลยในขณะนี้ อยากทำเรื่องการศึกษา มากกว่า เราสนใจด้านนี้เพราะเคยเรียนทางด้านนี้มา
ได้ปรึกษาคุณพ่อก่อนมาจัดกิจกรรมนี้หรือเปล่า?
ไม่ได้คุยในรายละเอียด แต่ท่านรับรู้ และสนับสนุนเราด้วยดี คุณพ่อสนับสนุนทุกอย่างในสิ่งที่เราทำ
องค์การสหสากลวิทยาลัย หรือ United World Colleges (UWC) เป็น องค์การนานาชาติอิสระ ไม่ขึ้นกับรัฐบาลใด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นโดยชาวอังกฤษ โดยมี Lord Mountbatten เป็นประธานคนแรก ส่วนองค์ประธาน UWC ปัจจุบันคือ HM Queen Noor แห่งจอร์แดน มีวิทยาลัยในเครือขององค์การ 12 แห่ง ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ แคนาดา สวาซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เวเนซุเอลา จีน (ฮ่องกง) นอร์เวย์ อินเดีย คอสตาริกา และบอสเนีย เฮอร์เซอร์โกวิน่า วัตถุ ประสงค์ของ UWC ต้องการส่งเสริมสันติภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ โดยมอบทุนแก่นักเรียนจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไปศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นเวลา 2 ปี ตามหลักสูตร International Baccalaureate หรือ IB ซึ่งเป็นหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา ที่วิทยาลัยในเครือขององค์การ เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถสมัครเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้เกือบทุก ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย องค์การสหสากลวิทยาลัย ประจำประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2519 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงาน ก.พ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ และมี ม.ร.ว. สฤษดิคุณ กิติยากร ดำรงตำแหน่งประธานองค์การสหสากลวิทยาลัยประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน มีนักเรียนไทยได้รับทุนจาก UWC ตั้งแต่ปี 2519 รวม 96 คน มีศิษย์เก่าดังๆ เช่น ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจของ TDRI ประกิต บุณยัษฐิติ ผอ.ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน กลต.ฯลฯ ซึ่งฝ้ายเป็นหนึ่งในนั้นสนุกมากค่ะ” เธอบอก “เพราะ มันเป็นทุนที่ดี และ Movement ของ UWC น่าสนใจมาก แต่ตอนเรียนก็ยากมากเพราะเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย แม้ว่าเราเคยเป็นนักเรียน แลกเปลี่ยนมาก่อน แต่ UWC มันยากมาก เราคิดว่าเราเก่งแล้ว ได้เกรด 4 ภาษาอังกฤษ แต่เอาเข้าจริงความเก่งในมาตรฐานเราไปเจอแล้วมันยาก แล้วก็ต้องไปอยู่รวมกันในห้องนอนแคบๆ รับผิดชอบตัวเอง คนที่มาบางคนก็มาจากครอบครัวที่กำพร้า ยากจน คนเก่งระดับอัจฉริยะจากบัลแกเรีย ลูกท่านทูตจากภูฎาน มาจากประเทศแปลกๆ จากแอฟริกา ทุกอย่างแตกต่างหมด แต่พอปรับตัวได้ ได้เรียนรู้ในหลักสูตรนอกห้องเรียน มันก็สนุก ทำให้เราได้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจเรื่องการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตก ต่างของเพื่อนมนุษย์ เรื่องความต่างขั้วทางความคิด เราอยู่ร่วมกันได้หมด” อ้อมแก้ว เวชยชัย ทิ้งท้าย. หาข้อมูลเพิ่มเติม องค์การสหสากลวิทยาลัยได้ที่ www.uwc.org |