WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 11, 2011

เปิดข้อเสนอขบวนการประชาชน ถึง"ยิ่งลักษณ์""19 เรื่องใหญ่" ที่ควรอยู่ในนโยบายรัฐบาล

ที่มา มติชน







ขบวน การประชาชนเพื่อสังคมที่เป็น ธรรม (ขปส.) People Movement for a Just Society (Pmove) ได้จัดทำ ข้อเสนอเพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคมไทย เสนอต่อ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28

เกริ่นนำ

สภาพความขัดแย้งในสังคมไทย ที่ปะทุอยู่ในปัจจุบัน ล้วนมีที่มาจากปัญหาความไม่เท่าเทียม อันเกิดเป็นความเหลื่อมล้ำในสังคม และเกิดเป็นบาดแผลร้าวลึกหยั่งรากลงสู่กลุ่มคนต่าง ๆ จำนวนมาก เกิดขบวนการแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย แต่ทั้งหมดนี้มีพื้นฐานมาจากสภาพช่องว่างของความมั่นคงต่อการดำเนินชีวิต และเป็นที่มาความเหลื่อมล้ำ ทั้งด้านรายได้ ด้านสิทธิ ด้านโอกาส ด้านอำนาจ และด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เป็นเวทีกลางของขบวนการของเกษตรกรและคนจนเมืองที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และผู้ได้รับผลกระทบอันเลวร้ายจากนโยบายการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มคนจน ๔ เครือข่าย ๓ กรณีคือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.), เครือข่ายสลัม ๔ ภาค, สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) , และเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อุบลราชธานี จำนวน ๕๔๐ กรณีปัญหา ได้รวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาความยากจน ความไม่เป็นจากนโยบายการพัฒนา และโครงการพัฒนาของรัฐ


ปัญหาความยากจนซึ่งกำลังแพร่ขยายอย่างกว้างขวางในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากจนของภาคเกษตรหรือชนบท สาเหตุสำคัญของปัญหามาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาเชิงนโยบายด้านการเกษตรและการพัฒนาของรัฐ ปัญหาการทำให้ยากจนโดยฉับพลันจากการให้สัมปทานที่ดินเพื่อกิจการอื่นของรัฐ ที่ไปทำลายอาชีพเดิมลง และการชดเชยที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งปัญหาจากการสร้างเขื่อนหรือระบบชลประทานที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบ อย่างรอบด้านต่อประชาชน

ปัจจุบันเกษตรกรกำลังเผชิญอันตรายอย่างยิ่ง อันเกิดจากนโยบายการเกษตรเพื่อขายและส่งออกของรัฐที่เน้นการค้าเสรี การแข่งขันกันอย่างเสรี โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม ระหว่างทุนและปัจจัยการผลิตของเกษตรกรที่ยากจน กับเกษตรกรที่ฐานะดีร่ำรวย บริษัทพืชผลการเกษตรขนาดใหญ่ หรือบรรษัทพืชผลการเกษตรข้ามชาติ โดยไม่มีกฎหมายคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรรายย่อยในการแข่งขันกับ ยักษ์ใหญ่ที่เหนือกว่าหลายเท่าตัว แต่กลับเปิดโอกาสให้บรรษัทเหล่านั้นมามาผลิตสินค้าที่เป็นฐานอาหารโดยใช้ เทคโนโลยีสมัย เบียดขับ และทำลายเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศให้กลายเป็นคนยากจนที่ทวีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว


ความจนเป็นปัญหาใหญ่ทางโครงสร้างสังคม ซึ่งเกี่ยวโยงกระทบเป็นลูกโซ่ จากจำนวนคนยากจนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนี้สินรุงรัง ไร้ที่ทำกิน ต้องดิ้นรนอพยพเข้าเมืองเป็นผู้ใช้แรงงาน อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนแออัดที่รัฐไม่สนใจดูแล ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณอยู่ทุกขณะในเมืองใหญ่หรือเมืองสำคัญ อันนำไปสู่ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบจากคนเมือง ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการบีบคั้นทางเศรษฐกิจและจิตใจ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในลักษณะต่างๆ รวมไปถึงการบุกรุกหรือเป็นเครื่องมือของนายทุนในการบุกรุกป่า ก่อให้เกิดปัญหาระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม ฯลฯ ปัญหาทั้งหมดดังกล่าวล้วนสืบเนื่องจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยไม่ได้วางแผนการ แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง ไม่มีนโยบายในการกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากร และการมีวิสัยทัศน์การพัฒนาแบบองค์รวมที่เน้นความหลากหลายและการมีส่วนร่วม ของคนจน


ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยไม่พยายามศึกษาและเข้าใจฐานะของคนจน เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งจากการเรียกร้องของคนจน การประท้วงของเกษตรกร หรือการบีบบังคับให้คนจนเสียสละเพื่อสังคม รัฐบาลประชาธิปไตยมักใช้การแก้ไขปัญหาด้วยอำนาจความรุนแรง การข่มขู่คุกคาม การจับกุมคุมขัง หรือใช้กฎหมายอย่างไร้ความเมตตา อันเป็นการสร้างปัญหาใหม่แก่ประชาชน


ปัญหาคนจนกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง การแก้ไขปัญหาจึงต้องคำนึงถึงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นองค์รวม และจะต้องยกระดับปัญหาไปสู่การวางแผนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ

สรุป พวกเราตระหนักว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดในการดำรงชีวิตและการพัฒนา แต่นโยบายและมาตรการเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐที่ผ่านมา ซึ่งกระทำในโครงสร้างการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ ที่เปิดโอกาสให้กับอำนาจของกลุ่มทุนใช้รัฐเป็นเครื่องมือในการตักตวง ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่คำนึงถึงความสมดุลและยั่งยืนของทรัพยากร และมีความไม่เป็นธรรม ส่งผลอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตคนไทยและสิ่งแวดล้อม จนเกิดปัญหาตามมามากมาย ผู้คนจำนวนมากถูกกีดกันออกไปจากการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น ทำให้ชีวิตตกต่ำลงในทุกด้านและยากที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้นได้ ดังนั้นจึงสร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดแก่ผู้คนอย่างมาก เพราะเข้าไม่ถึงทรัพยากรธรรมชาติ จึงยิ่งยากจนลง และไร้โอกาสในด้านอื่นๆ


ความยากจนจึงไม่ใช่เป็นเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือเกิดจากอุปนิสัยความขี้เกียจของผู้คน ความยากจนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างพัฒนา ที่มีพื้นฐานมาจากการไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียม จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อการใช้และการเข้าถึงทรัพยากร ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรเสียใหม่ เพื่อสร้างความเป็นธรรม คือเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างทั่วหน้า อันจะเป็นประตูนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ ขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นที่จะต้องสะสางปัญหาที่เกิดการจากความขัดแย้งใน การเข้าถึงทรัพยากร เช่น คดีบุกรุก คดีการชุมนุมเรียกร้อง และคดีโลกร้อน นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจอย่างแท้จริง


ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) คือเวทีกลางของผู้ประสบชะตากรรมอันเนื่องมาจากแนวทางการพัฒนาประเทศที่มุ่ง สู่ความเป็นอุตสาหกรรม ละเลยภาคเกษตรกรรม แนวทางดังกล่าวได้ล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ชุมชนไม่สามารถดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมได้ ทรัพยากรตกอยู่ในมือของคนส่วนน้อย ที่ดินอันเป็นปัจจัยหลักของเกษตรกรถูกแย่งชิง นโยบายการประกาศใช้พื้นที่ป่าทับที่ทำกินของชาวบ้าน การสร้างเขื่อนต่างๆ ได้ทำลายทรัพยากรและชุมชน คนหนุ่มสาวถูกสภาพเศรษฐกิจบีบรัดให้ต้องเข้ามาขายแรงงานในเมือง เกิดแหล่งชุมชนแออัดและถูกละเลยจากรัฐเช่นเดิม

ดัง นั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเดินหน้าต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) อันเป็นประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ผู้เดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนปากมูล และเครือข่ายประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐ จึงได้จัดทำข้อเสนอนี้ขึ้น เพื่อเป็นให้พรรคเพื่อไทยนำไปเป็นนโยบายของรัฐบาล สำหรับใช้แก้ไขปัญหาของภาคประชาชน ต่อไป


ข้อเสนอสำหรับจัดทำเป็นนโยบายของรัฐบาล

ในช่วงของการยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้ง พวกเราซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายองค์ประชาชนทั้งคนจนจากชนบท คนจนเมือง กลุ่มผู้ใช้แรงงาน จากทั่วประเทศ ได้จัดเวทีสัญญาประชาคมพบพรรคการเมืองขึ้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต ในงานดังกล่าวได้มีพรรคการเมืองหลายพรรค ส่งตัวแทนเข้าร่วมเวทีด้วย ซึ่งรวมทั้งพรรคเพื่อไทย โดยหัวหน้าพรรคได้มอบหมายให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนไปรับข้อเสนอของประชาชน รวมทั้งได้ลงนามเป็นสัญญาประชาคม ท่ามกลางสักขีพยานคือประชาชนกว่า 2,000 คน และสื่อมวลชนหลายสำนัก

ต่อมาหลังการเลือกตั้งขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็น ธรรม (ขปส.) และองค์กรสมาชิกทั่วประเทศได้ส่งไปรษณียบัตรถึงท่าน พร้อมทั้งยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานสาขาพรรคเพื่อไทย ประจำจังหวัด เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ในการผลักดันการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปบรรจุไว้เป็นนโยบาย ของรัฐบาล โดยมีข้อเสนอเพื่อนำไปบรรจุเป็นนโยบายของรัฐบาล ดังนี้

1. รัฐต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ตามเจตนารมณ์ของสังคม เพื่อนำไปสู่การกระจายอำนาจที่แท้จริง โดยเฉพาะการกระจายอำนาจบริหารจัดการไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม และกลไกร่วมในการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างชุมชน ประชาสังคม กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐในระดับพื้นที่ กระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคม

2. รัฐต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน ด้วยการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม และปฏิรูปความยุติธรรม เพื่อลดสภาพที่คนทั่วไปเรียกว่า"สองมาตรฐาน" ลดปรากฏการณ์ที่สะท้อนความผิดปรกติของกระบวนการยุติธรรม

3. รัฐต้องยกเลิก ทบทวนการดำเนินการทางกฎหมาย และคดีการเมือง คดีการชุมนุม รวมทั้งคดีโลกร้อน ที่เกี่ยวข้องกับกรณีข้อพิพาทความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน เอกชน (กลุ่มทุน) อันเกิดจากนโยบายที่คนจนได้รับการเลือกปฏิบัติจากกลไกรัฐ ราชการที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งรัฐจะต้องดูแลค่าจ่ายใช้ทั้งหมดอันเกิดจากคดีที่รัฐฟ้องร้องประชาชน

4. รัฐต้องเร่งรัดผลักดันนโยบายการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืน กำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า จัดเก็บภาษีทรัพย์สินมรดก สร้างหลักประกันในการคุ้มครองเกษตรกรและส่งเสริมที่ดินเพื่อการทำการ เกษตรกรรม และเร่งออกนโยบายจำกัดสิทธิในการถือครองที่ดิน เร่งปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรยากจนมีที่ดินทำกินไม่เพียง พอ

5. จัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตร เสนอให้รัฐจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตรเพื่อนำเงินทุนไปซื้อ ที่ดินที่ถือครองเกินขนาดจำกัด รวมทั้งจัดซื้อที่ดินที่เป็นทรัพย์ประกันหนี้เสียของธนาคารและสถาบันการเงิน มาบริหารให้กระจายไปยังเกษตรกรที่ไร้ที่ดินและที่มีที่ดินไม่พอทำกิน

6. ออกพระราชบัญญัติโฉนดชุมชน แทนระเรียบสำนักนายรัฐมนตรี รองรับพื้นที่ขอจัดทำโฉนดชุมชน และเป็นหลักประกันในความมั่นคงในการถือครองที่ดินให้เกษตรกร รวมทั้งเป็นการแก้ไข้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างหน่วยรัฐที่ดูแลพื้นที่กับผู้ใช้ ประโยชน์ในพื้นที่ทำการเกษตร ให้เกิดผลประโยชน์อย่างสูงสุด

7. สานต่อนโยบายการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง โดยอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งงบอุดหนุนเรื่องที่ดิน การสร้างบ้าน และงบพัฒนาสาธารณูปโภค

8. โครงการที่อยู่อาศัยคนจน ให้การไฟฟ้า และการประปา มีหน้าที่จัดหาสาธารณูปโภคให้ โดยไม่คิดงบประมาณลงทุนเพิ่ม และในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างตามโครงการให้คิดค่าบริการน้ำ ไฟ ในอัตราปกติ

9. อุดหนุนงบประมาณรายปี เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ถูกไฟไหม้ ไล่รื้อ ภัยพิบัติ สภาพชุมชนเสื่อมโทรม เพื่อใช้สำหรับปลูกบ้านพักชั่วคราว น้ำ/ไฟ การโยกย้าย การปรับปรุง เป็นต้น

10. โครงการพัฒนาที่กระทบเรื่องที่อยู่อาศัย ต้องคำนวณงบประมาณการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเป็นต้นทุนของโครงการด้วย และต้องให้ผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และกำหนด แนวทางการแก้ปัญหา

11. ให้มีนโยบายนำที่ดินรัฐมาจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับคนจน เช่น ที่ดินการรถไฟ ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณะ และที่กรมศาสนา และที่วัด เป็นต้น โดยให้เช่าในอัตราต่ำ ใช้ระบบกรรมสิทธิ์ และการบริหารจัดการร่วมกันโดยชุมชน

12. ให้มีนโยบาย และกลไกในการแก้ปัญหาคนเร่ร่อนไร้บ้านอย่างชัดเจน ในเรื่องที่อยู่อาศัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นสำคัญ

13. รัฐต้องประเมินความคุ้มค่าของเขื่อนทั่วประเทศ โดยศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม หากไม่คุ้มค่า เกิดความเสียหาย ให้ยกเลิกการดำเนินโครงการนั้นๆ ทันที กำหนดแผนงานและมาตรการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ของผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างพัฒนาของรัฐ เขื่อนทุกประเภท โดยยึดหลักการว่าผู้รับผลกระทบต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม ต้องตั้งกองทุนประกันความเสียหาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาของรัฐ สร้างเขื่อนทุกด้าน โดยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จะต้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

14. ให้ทบทวน ยกเลิก ยุติ การดำเนินการเหมืองแร่ทุกประเภท ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะเหมืองแร่ที่กำลังมีความขัดแย้งกับชุมชน

15. ทบทวนแผน นโยบายในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน (PDP) โดยใช้พลังงานหมุนเวียนให้เป็นพลังงานหลัก รวมทั้งการปรับปรุงระบบสายส่งในการรองรับพลังงานหมุนเวียน โดยมีการบริหารจัดการที่หลากหลาย และเคารพสิทธิของชุมชนอย่างเป็นธรรม และการใช้พลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

16. ให้มีมาตรการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองใน ประเทศไทย ตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ๑๖๙ ประเทศ “ว่าด้วยปวงชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศราช” โดยการออกกฎหมายและมาตรการมารับรองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยอย่าง ชัดเจน และรัฐบาลไทยประกาศรับรองให้วันที่ ๙ สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย”

17. เร่งรัดการแก้ไขปัญหาสถานะกลุ่มคนที่เข้าเกณฑ์ ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ(ฉบับที่ ๔) ๒๕๕๑ ให้เป็นไปตามปฏิญญาสากล พร้อมผลักดันร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่๕) พ.ศ. .....ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว

18. ให้ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.การชุมนุม โดยทันที

19. ปรับปรุง แก้ไข และยกเลิก ระเบียบ กฎหมาย นโยบาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นอุปสรรคในการรองรับสิทธิ์ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นในการ จัดการที่ดิน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สอดคล้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และกฎหมายป่าไม้ทั้ง 4 ฉบับ

ข้อเสนอสำหรับนำไปสร้างเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหา

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ ก็ควรดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการสานต่อข้อตกลงหรือแนวทางที่เคยมีไว้แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามเจตจำนง และลุล่วงไปได้ด้วยดี ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) มีข้อเสนอเพื่อสร้างกลไกการแก้ไขปัญหา ต่อฯพณฯนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1. สร้างกลไกร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็น ธรรม (ขปส.) ในรูปแบบของ ครม.สังคม เพื่อเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา

2. คณะกรรมการฯ อนุกรรมการฯ หรือคณะทำงาน ซึ่งเป็นกลไกการแก้ไขปัญหาซึ่งมีอยู่แล้ว ให้ใช้กลไกนั้นดำเนินการต่อ

3. กรณีกลุ่มปัญหาใด ที่ยังไม่มีกลไก รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการจัดตั้งกลไกขึ้นโดยเร็ว