WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 11, 2011

ภาคประชาสังคมไทย เตรียมนำเสนอสถานการณ์สิทธิในประเทศต่อ ‘ยูเอ็น’

ที่มา ประชาไท

เครือข่ายภาคประชาสังคม เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยต้องนำเสนอต่อสหประชาชาติ พร้อมเรียกร้องให้รบ. เปิดเผยข้อเท็จจริงกรณีการสลายการชุมนุม ’53 พร้อมคืนความยุติธรรมให้ผู้สูญเสีย ด้านนักวิชาการเสนอรบ.ไทยปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก

ใน วันที่ 5 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะถึงคราวประเทศไทยรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผ่านกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) หรือการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งจะเกิดขึ้นในทุกๆ สี่ปี กระบวนการดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบสถานการณ์สิทธิฯ ในประเทศต่างๆ ผ่าน “กระบวนการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์” (Constructive Dialogue) ซึ่งต่างจากการใช้อำนาจบังคับ หรือประณามในที่ประชุมดังเช่นในคณะมนตรีความความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยกระบวนการดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อสร้างบทสนทนากับรัฐบาลร่วมกับหลายภาคส่วน และใช้อำนาจจูงใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในแต่ละ ประเทศแทน

ศาสตราจารย์วิฑิต มันตาภรณ์ ในฐานะผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวถึงกระบวนการยูพีอาร์ว่า นี่เป็นครั้งแรกของกระบวนการทางด้านสิทธิมนุษยชน ที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งสามฝ่าย คือจากทางรัฐบาล ภาคประชาสังคม- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และจากทางสหประชาชาติ ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูลที่มีความสมดุลมากพอสมควร และเป็นกระบวนการเดียวในสหประชาชาติที่มีลักษณะเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม การประเมินดังกล่าวถือว่าเป็นการประเมินแบบมิตรภาพ และทางสภาฯ ไม่มีอำนาจสั่งการฟ้องร้องได้

การนำเสนอสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของ ประเทศไทยต่อสหประชาชาติในครั้งนี้ ถูกจัดทำขึ้นมาเป็นรายงานขนาด 20 หน้า โดยประกอบไปด้วยรายงานของรัฐบาล ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ-ภาคประชาสังคม และส่วนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยรายงานฉบับดังกล่าว นำเสนอสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศในด้านต่างๆ เช่น เสรีภาพในการแสดงออก สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระบวนการยุติธรรม และกลไกสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ เป็นต้น

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มูลนิธิศักยภาพชุมชน ในฐานะเลขาธิการการจัดทำรายงาน จึงได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประเทศไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเครือข่ายภาคประชาสังคมและมูลนิธิศักยภาพชุมชน ณ โรงแรมสยามซิตี้ พร้อมทั้งมีนักวิชาการ และตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ร่วมแถลงข้อเสนอแนะทางด้านสิทธิมนุษยชนต่อรัฐบาลใหม่ ในหลายๆ ข้อเสนอแนะนี้ รวมถึง การให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงในกรณีการสลายการชุมนุมเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 พร้อมคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ การปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการให้รัฐบาลลงนามในอนุสัญญาป้องกันการบังคับคนให้สูญหาย และทำให้การบังคับคนสูญหายเป็นอาชญากรรม

องค์กรสิทธิย้ำ ต้องคืนความเป็นธรรม กรณีการสลายการชุมนุม ‘53
ขวัญระวี วังอุดม ตัวแทนจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 (ศปช.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงโดยการใช้กองกำลังทหารของรัฐ เมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 93 คน จนบัดนี้ รัฐบาลยังคงไม่สามารถค้นหาความจริงและคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผล กระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ ขวัญระวีมองว่า เป็นเพราะคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ หรือ คอป. ที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ อย่างเต็มที่ และไม่มีอำนาจที่แท้จริงในเรียกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุการณ์การสลายการชุมนุม นอกจากนี้ คอป. ยังมุ่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระยะยาว มากกว่าการหาตัวผู้กระทำผิดมารับผิดชอบ

“ทางศปช. มีเรียกร้องไปยังรัฐและยูเอ็นผ่านกลไกยูพีอาร์ คือ ให้รัฐบาลเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม และถึงแม้มีการพูดคุยกันว่า จะมีปฏิรูปคอป. แต่การหาข้อเท็จจริง และคืนความยุติธรรมนั้นไม่สามารถประนีประนอมได้ นอกจากนี้รัฐบาลต้องให้ค่าชดเชยที่เป็นธรรมแก่ผู้เสียชีวิตและครอบครัว ให้สิทธิในการประกันตัวกับผู้ต้องขัง ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ เนื่องจากในหลายกรณีมีการตั้งประกันสูงเกินไป ทำให้ไม่สามารถประกันตัวได้ และต้องไม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ใคร เพราะเป็นการส่งเสริม Impunity (การงดเว้นโทษ) และทำให้คนทำผิดลอยนวล” ขวัญระวีกล่าว

นอกจากนี้ เธอเสริมด้วยว่า รัฐบาลต้องยินยอมให้ผู้ตรวจการณ์พิเศษแห่งสหประชาติ (UN Special Rapporteur) ในด้านต่างๆ เข้ามาทำการตรวจสอบในประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้ตรวจการพิเศษทางด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และการสังหารนอกกฎหมาย ได้ร้องขอรัฐบาลไทยเพื่อเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ภายในประเทศแล้ว แต่เอกสารทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ของสหประชาชาติระบุว่า จนปัจจุบันยังไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลไทยแต่อย่างใด

ต่อประเด็น ดังกล่าว ทางรัฐบาลไทยได้ชี้แจงในรายงานว่า “ขณะนี้ การสอบสวนกรณีความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2553 กำลังดำเนินอยู่เพื่อตัวนำผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี โดยกระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปตามกฎหมาย ในขณะที่ผู้ได้รับผลกระทบจากการประท้วงดังกล่าวได้รับการเยียวยาแล้ว” ในขณะที่รายงานของกสม. แสดงความกังวลเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่มีการปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐาน ต่อผู้ชุมนุมที่ถูกจับ โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์การชุมนุม ที่มีการจับกุมด้วยข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง และการไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องหา

นักวิชาการเสนอ รัฐบาลไทยควรปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ

ด้าน ดร. เดวิด เสตร็กฟัสส์ นักวิชาการอิสระ ผู้เขียนหนังสื่อ Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lèse-Majesté ซึ่งเกี่ยวกับการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสังคมไทย ชี้ว่า การใช้กฏหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ โดยในระหว่างปีพ.ศ. 2532-2548 มีการฟ้องคดีหมิ่นฯ โดยเฉลี่ยปีละ 5-6 คดี แต่หลังจากช่วงก่อนการรัฐประหารปี 2549 จำนวนคดีหมิ่นฯ ที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลมีจำนวน 33 คดี และในปี 2550, 2551 และ 2553 เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 126, 77 และ 478 คดีตามลำดับ และจากสถิติพบว่า อัตราที่อัยการตัดสินว่าผิดจริง มีสูงถึง 94% เนื่องจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่รับสารภาพ เพื่อหวังโทษที่ลดลงครึ่งหนึ่ง และขออภัยโทษในภายหลัง

ทั้งนี้ เดวิด เสตร็กฟัสส์ อ้างถึงข้อเสนอแนะการปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 ของกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นกลุ่มอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ว่า ควรให้มีการลดโทษสูงสุดของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้อยู่ที่ 15 ปี และลดโทษขั้นต่ำสุดซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3 ปี นอกจากนี้ ยังเสนอให้จำกัดผู้ฟ้อง เพื่อไม่ให้มีการนำกฎหมายนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยยกตัวอย่างประเทศนอร์เวย์ ที่การดำเนินคดีสามารถทำได้ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากพระมหากษัตริย์เท่า นั้น หรือในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่การดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากกระทรวงการยุติธรรม ซึ่งช่วยป้องกันการดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมิ่นฯ อย่างไม่เลือกหน้า

“ใน กรณีประเทศไทย อาจจะให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินคดีในฐานะผู้เสียหาย และเป็นผู้พิจารณาว่าจะมีการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้หรือไม่ เพียงแค่นี้ การใช้กฎหมายนี้ในทางละเมิดก็จะลดลง และช่วยปรับปรุงสถานะสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างมาก” เดวิดกล่าว

ในขณะที่รายงานสถานการณ์สิทธิฯ ที่จัดทำโดยรัฐบาลไทย กล่าวถึงประเด็นเสรีภาพในการแสดงออกว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตย ของไทย ซึ่งได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญภายใต้มาตรา 45, 46, 47 ซึ่งประกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา” และระบุว่า “ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานสื่อต่างประเทศ องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศหลายองค์กร ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงบรรยากาศที่เอื้อต่อการรายงานข่าว และการรับ-ส่งข้อมูลอย่างอิสระ นอกจากนี้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ยังสะท้อนให้เห็นผ่านการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนและสถานีโทรทัศน์เคเบิลทั่ว ประเทศ ในขณะที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้อย่าง เต็มที่”

ทาง รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล อาจารย์สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ เห็นว่า รายงานของรัฐบาลไทย ที่ระบุว่า “ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพและความหลากหลาย” เป็นเรื่องที่น่าขบขันและไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่นเดียวกับเดวิด เสตร็กฟัสส์ ที่มองว่า ข้อมูลของรัฐบาลไทยในรายงานสิทธิฯ ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงมากนัก

“รายงานสิทธิของรัฐบาลไทย ดูเหมือนว่าตามตัวอักษรแล้ว เหมือนจะมีกฎหมายต่างๆ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ในทางปฏิบัติแล้วอาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง หากเราดูองค์กรที่จัดลำดับเรื่องเสรีภาพสื่อในโลก เช่น Reporters without Borders จะเห็นว่า ในปี 2547 รัฐบาลไทยอยู่ที่ลำดับ 59 จากทั้งหมด 103 ประเทศ แต่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 153 จากทั้งหมด 178 ประเทศซึ่งจัดเป็น 16% ที่มีเสรีภาพสื่อต่ำที่สุด” เดวิดตั้งข้อสังเกต

ต่อ ประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รายงานของรัฐบาลไทยชี้แจงว่า “ประเทศไทยพยายามดำเนินการเพื่อให้เกิดดุลยภาพในการปกป้องสถาบันซึ่งเป็น หนึ่งในเสาหลักที่ค้ำจุนความมั่นคงของประเทศ กับการคุ้มครองสิทธิในการแสดงออกของบุคคล” และระบุว่า ได้มีการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน เพื่อให้คำแนะนำแก่ตำรวจอัยการเกี่ยวกับการสั่งฟ้องคดีหมิ่นฯ และพรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยหวังว่าจะสามารถปรับปรุงการใช้กฎหมายและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการทบทวนกฎหมายดังกล่าว เพื่อจัดทำรายงานเสนอแนะต่อรัฐบาล

การบังคับคนให้สูญหาย ต้องเป็นอาชญากรรม
ประทับจิตร นีละไพจิตร เจ้าหน้าที่วิจัยด้านการบังคับคนให้สูญหาย (Enforced Disappearance) มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพกล่าวว่า ขณะนี้ จำนวนคนที่ถูกบังคับให้สูญหายในประเทศไทย ยังไม่มีการเปิดเผยที่ชัดเจน แต่จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า สามารถรวบรวมกรณีดังกล่าวได้อย่างน้อย 90 กรณี ในระหว่างปี 2534-2554 ประทับจิตรชี้ว่า แนวโน้มการบังคับคนให้สูญหาย คงจะยังมีต่อไปตราบใดที่ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงดำรงอยู่ เนื่องจากในอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีใครที่ได้รับผิดจากการกระทำที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ลงนามในอนุสัญญาฯ ป้องกันคนหาย พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศ ให้การทำให้คนหายเป็นอาชญากรรม และเปิดเผยข้อเท็จจริงในกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ทางด้านอรชพร นิมิตกุลพล กล่าวถึงสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกรณีการใช้ทหารเด็ก และการใช้กฎหมายพิเศษที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชน โดยจากการวิจัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อ สันติภาพ เปิดเผยว่า ในระหว่างปี 2548- 2552 มีเด็กและเยาวชนทั้งหมด 151 คน ถูกคุมขังภายใต้กฎหมายพิเศษ เช่น พรก. ฉุกเฉิน และ กฎอัยการศึก โดยเยาวชนเหล่านี้ถูกควบคุมตัวในคุก และหน่วยเฉพาะกิจของทหารในพื้นที่
นอกจากนี้ ยังพบว่าราว 65% ของเยาวชนอายุต่ำกว่า 18% ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน (ชรบ.) ซึ่งเป็นกลุ่มพลเรือนที่ติดอาวุธ โดยเยาวชนกลุ่มนี้ บ้างก็ได้รับการฝึกอาวุธ บ้างก็เข้าไปอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ อรชพรกล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าไปพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ก็มีการตอบรับที่ดีจากทางการด้านความมั่นคงในพื้นที่ ในการระมัดระวังไม่ให้เยาวชนไปเกี่ยวข้องกับชรบ. และหวังว่าสถานการณ์สิทธิฯ ในจังหวัดชายแดนใต้น่าจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม เธอมองว่า ภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ดังกล่าว ไม่น่าจะแตกต่างไปจากเดิมมากนัก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ขึ้นอยู่กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นหลัก และหากผู้บัญชาการกองทัพบก หรือแม่ทัพภาคที่สี่ไม่ถูกเปลี่ยน ก็คงไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ชัดเจน

ต่อประเด็นปัญหาสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ทางกลุ่มภาคประชาสังคมมีเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย เช่น ให้ยกเลิกพรก. ฉุกเฉิน เนื่องจากมองว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน และให้รัฐบาลออกกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการท รมาน เป็นต้น

ทั้งนี้ กลไกยูพีอาร์ จะจัดขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จัดเวลาให้ประเทศไทยรวมสามชั่วโมง ในการนำเสนอรายงาน โดยมีผู้แทนจากรัฐบาลไทยเป็นผู้นำเสนอ และเปิดโอกาสให้ผู้แทนจากสหประชาชาติ และจากประเทศต่างๆ ซักถามถึงสถานการณ์สิทธิในประเทศไทย ผู้ที่สนใจ สามารถติดตามการถ่ายทอดสดผ่านทาง webcast ของสหประชาชาติได้ที่เว็บไซต์ของ UNHCR