WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 12, 2011

′ครู′ กับ ′ศิษย์′

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 11 สิงหาคม 2554)

ขอหลบกระแส "ครม.ยิ่งลักษณ์ 1"

ที่คงจะต้องพิสูจน์คุณภาพกันด้วย "ผลงาน" มากกว่า "ชื่อ-ชั้น" ของสมาชิก ครม.

มาพูดถึงข่าวเล็กๆ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

เมื่อบัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ถูกจับกุมตัวในฐานะเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามข้อกฎหมายที่มีผลกระทบ "รุนแรง" เหลือเกิน

ทั้งในแง่โทษ และในแง่ความรู้สึกของสังคมที่มีต่อผู้ต้องหาในคดีความลักษณะนี้

ที่น่าสนใจคือ ผู้ฟ้องร้องกล่าวหาบัณฑิตรายนี้ กลับมีสถานะเป็น "ครู" ในมหาวิทยาลัยที่เขาเพิ่งจบการศึกษามา

ไม่แปลกที่ "ครู" จะมีสถานะหรือเลือกดำรงตนเป็น "กลไก" หนึ่งในการเผยแพร่/ผลิตซ้ำ/บังคับใช้อุดมการณ์ของรัฐ

แต่ไม่ว่าจะเลือกอยู่ข้างรัฐเพียงใด

"ครู" ในสถาบันอุดมศึกษา ก็น่าจะมีวิธีการจัดการกับปัญหานี้หรือนักศึกษาผู้มีความคิดเช่นนี้ ได้มากกว่า "1 ทางเลือก"

ใน "พื้นที่วิชาการ" เช่น มหาวิทยาลัย ถ้า "ศิษย์" มีความคิดเห็นเรื่องสังคมการเมืองต่างจากคุณ

หนึ่ง คุณต้องให้เสรีภาพในการถกเถียงแก่เขาอย่างเต็มที่ รวมทั้งต้องรับฟังเขาอย่างเต็มใจและตั้งใจ

สอง หากคุณเห็นต่างจากเขา ก็สามารถโต้แย้งกลับไปตามหลักเหตุผล

โดยยังมิต้องพิจารณาว่า คุณมี "เครื่องมือ" ในระบบการศึกษาอีกหลายประการ ที่สามารถนำมาใช้ "ตบแต่ง" ความคิดความเชื่อของ "ศิษย์" ได้

สาม ไม่ว่า "ศิษย์" จะยอมเปลี่ยนแปลงความคิดของเขาตามที่คุณโน้มน้าวหรือไม่

แต่อย่างน้อยในฐานะ "ครู" คุณควรช่วยฝึกฝนประคับประคองให้เขารู้จักแสดงความเห็นของตนเองอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่แสดงอาการดูหมิ่นเกลียดชังหรือเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และไม่ผิดกฎหมาย

(ถ้ากฎหมายมีความเป็นธรรมและไม่มีปัญหาที่ตัวบทหรือการบังคับใช้)

นี่คืออีก "1 ทางเลือก" ซึ่งสามารถนำมาใช้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หากคุณเป็น "ครู" ในสถาบันอุดมศึกษา

แทนที่จะเลือกใช้วิธีการฟ้องร้องกล่าวหา "ศิษย์" ของตนเอง

ทั้งนี้ "ศิษย์" ของคุณก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ความคิดเชื่อของตนได้ ตามอายุ, หน้าที่การงาน, ภาระรับผิดชอบ และรูปแบบความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เจ้าตัวจะต้องเผชิญหน้า ที่ย่อมแปรผันไปเรื่อยๆ

แม้ไม่มีโอกาสย้อนเวลากลับไปเป็น "เด็กน้อยที่ว่านอนสอนง่าย" สมัยอนุบาล-ประถม-มัธยม

แต่ "ศิษย์" ของคุณยังมีโอกาสที่จะ "ประสานประโยชน์" กับ "รัฐไทย"

หรือเป็นผู้มีความคิดความอ่านวิพากษ์ "รัฐ" อย่างมีเหตุผลและไม่แข็งกร้าวรุนแรงได้

หากคุณเลือกเผชิญหน้ากับเขา ผ่าน "กลไก" ที่ปัญญาชนพึงใช้กันในพื้นที่มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณเลือกนำ "กฎหมาย" มาจัดการ "ศิษย์"

เขาอาจถูกกดดันให้เงียบเสียง หวาดกลัว หรือเก็บตัวในซอกหลืบเร้นลับของสังคม

ทว่าการใช้ "ไม้แข็ง" เช่นนั้น กลับมีแนวโน้มจะส่งผลให้ "ศิษย์" ของคุณ "เปลี่ยน" ไปตลอดกาล

จนมิใช่เพียงแค่กลับมาเป็น "เด็กดีคนเดิม" ไม่ได้

แต่ยังมีโอกาสน้อยมากที่เขาจะกลับมาเป็น "พลเมือง" อันพึงปรารถนาของ "รัฐไทย"