WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 10, 2011

ชำนาญ จันทร์เรือง: วิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯ

ที่มา ประชาไท

เมื่อ วันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาได้มีการจัดเวทีวิชาการเล็กๆขึ้นมา ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่มีผลตอบรับกลับมาเป็นวงกว้างเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นประชาชนชาวเชียงใหม่เองหรือประชาชาวจังหวัดอื่นซึ่งล้วนแล้วแต่ เห็นด้วยในความคิดเช่นว่านี้ แต่จากภาคราชการมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พวกที่เห็นด้วยก็บอกว่าถึงเวลาแล้ว โลกเราต้องก้าวไปข้างหน้าเหมือนนานาอารยประเทศเขา ส่วนพวกที่ไม่เห็นด้วยก็อ้างว่าจะนำมาซึ่งการแตกความสามัคคี

การจัด เวทีในวันนั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯที่ยกร่างโดยผมในฐานะประธานเครือข่ายบ้านชุ่มเมือง เย็น ซึ่งมีหลักการใหญ่ คือการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคแล้วให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางกับส่วนท้อง ถิ่นเต็มพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้มีการวิจารณ์ร่างโดยนายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีต คปร.และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ไชยยันต์ รัชชกุล จากมหาวิทยาลัยพายัพ ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้เข้าร่วมเวทีอีกหลายคน

การจัดเวทีครั้งนี้จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับโครงการบูรณาการเชียงใหม่จัดการตนเอง ซึ่งผลสรุปที่ได้จากการเปิดเวทีในครั้งนั้นสรุปได้ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ได้รับรองสิทธิ์การยกฐานะของพื้นที่ที่มีความพร้อมในการดูแลปกครองตนเองให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่และรับรองการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ ในบทบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 281-284

“ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ สาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้นที่ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครอง ตนเองได้ ย่อมมีสิทธิ์จัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการรับรองว่าการยก ระดับจังหวัดให้เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ เป็นเรื่องที่ทำได้ มิใช่การแบ่งแยกการปกครองแต่อย่างใด

การจัดรูปแบบการปกครองของ เชียงใหม่มหานครฯตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะทำให้ราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดเชียงใหม่หมดไป ซึ่งก็หมายความว่าจะไม่มีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดไปจากส่วนกลางอีก ต่อไป แต่อาจจะแปรสภาพเป็นผู้ตรวจการฯอย่างเช่นประเทศฝรั่งเศส เพราะอย่างไรเสียส่วนกลางก็ต้องมีผู้คอยประสาน (หากจะมี) อำนาจหน้าที่เดิมที่เคยเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดและอำนาจหน้าที่ที่เพิ่ม ขึ้นตาม พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯก็จะเป็นของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่ก็ได้ (ถ้าหวงชื่อนี้นัก) แต่ในชั้นยกร่างนี้ยังคงชื่อเดิมนี้ไว้อยู่

ในส่วนของการปกครองส่วน ท้องถิ่นจะมีการจัดรูปแบบเป็นสองระดับซึ่งแตกต่าง จากกรุงเทพมหานครซึ่งมีระดับเดียวคือระดับจังหวัดเท่านั้น แต่ร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯ จัดรูปแบบเป็นสองระดับ คือ ระดับบนเป็นระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน วาระ 4 ปี เป็นหัวหน้า ส่วนระดับล่างมีเทศบาลโดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเหมือนกัน ไม่ต้องแยกเป็น เทศบาลหรือ อบต.ให้ยุ่งยากเหมือนในปัจจุบันที่ในตำบลเดียวกันเช่น ต.ช้างเผือก มีตั้ง 2 นายก คือนายกเทศมนตรีและนายก อบต.การมีทั้งจังหวัดและเทศบาลนี้ไม่ได้หมายความว่าจังหวัดจะเป็นผู้บังคับ บัญชาของเทศบาลนะครับ ต่างฝ่ายต่างมีความเป็นอิสระในรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นเป็นของตัวเอง เพียงแต่แบ่งหน้าที่กันทำให้ชัดเจนว่าใครทำอะไร

ในส่วนขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ.ก็หมดไป กลายเป็นจังหวัดที่เป็นส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ยังคงอยู่ดัง เช่น กทม.แต่ไม่ได้เป็นราชการส่วนภูมิภาคแล้ว บทบาทก็จะเนั้นไปในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน

ประเด็น สำคัญที่สอบถามกันมากก็คือ แล้วข้าราชการส่วนภูมิภาคจะไปไหน คำตอบก็คือ ก็ยังคงอยู่แต่เปลี่ยนสังกัดจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม มาสังกัดท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ บังคับบัญชาโดยตรง (ซึ่งดึเสียอีกจะได้ไม่ถูกกลั่นแกล้งโยกย้ายออกนอกพื้นที่) ซึ่งก็รวมข้าราชหารส่วนกลาง ซึ่งในปัจจุบันทำตัวเป็นผู้ที่ผู้ว่าฯแตะต้องไม่ได้ก็ต้องมาฝากการดูแลต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง (ซึ่งก็หมายความไมได้ห้ามส่วนกลางที่จะมาตั้งสำนักงานในจังหวัด แต่หน่วยงานนั้นควรจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ การวิจัย ฯลฯ แต่ต้องฝากการกำกับดูแลกับผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ดี)

การปฏิรูปโครง สร้างการปกครองท้องถิ่นระดับจังหวัดเชียงใหม่ให้มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินนโยบาย เพื่อดูแล ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม การสร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ สวัสดิการของบุคคล และชุมชน มีทิศทาง นโยบายที่กำหนดได้เองระดับจังหวัด มีหน่วยงานระดับจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลัก โดยการยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ให้บุคลากร การบริหารจัดการและงบประมาณ ย้ายจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น มีการบริหารเหมือนการย่อขนาดกระทรวงต่างๆ ให้มาอยู่ในจังหวัด ครอบคลุมในเรื่องเหล่านี้

ความปลอดภัย หน่วยงานตำรวจเป็นหน่วยงานระดับจังหวัด มีหน้าที่การรักษา ความสงบเรียบร้อยของประชาชน อำนาจการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน การเรียน การสอบ การฝึกฝน ทักษะ เป็นภาระหน้าที่ของจังหวัด และมีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยประชาชน นอกจากนั้ก็มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ/การศึกษา มีหน่วยงานระดับจังหวัดรับผิดชอบการดำเนินงานด้านการศึกษา ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ การจัดการบุคลาการขึ้นตรงต่อเชียงใหม่ การบริหารจัดการ งานวิชาการ และงบประมาณ

การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล / การคมนาคม การพัฒนาระบบขนส่ง และการคมนาคม ระดับชุมชน จังหวัด มีวิศวกรรมจราจร /การท่องเที่ยว /สวัสดิการ การพัฒนาระบบสวัสดิการ ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร ตั้งแต่เกิดจนตาย และสร้างความมั่นคงในชีวิต/การจัดผังเมือง จังหวัดมีอำนาจในการกำหนดขอบเขต การใช้ประโยชน์ แบ่งโซนผังเมือง การสร้างสิ่งก่อสร้าง ควบคุมอาคาร/การพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานคร ฯลฯ

โดยจะไม่ดำเนินการใน 4 เรื่องหลัก คือ การทหาร การต่างประเทศ เงินตรา และศาล ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจของส่วนกลาง

ใน ส่วนของการที่มาของรายได้นั้นมาจากการจัดเก็บภาษีอากรจากผู้ที่มี หน้าที่รับผิดชอบ เช่น สรรพากร สรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ มิใช่ภาษึท้องถิ่นจิ๊บจ๊อยเช่นในปัจจุบัน เมื่อเก็บได้แล้วก็นำส่งส่วนกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วเก็บไว้บริหารจัดการในพื้นที่ 70 เปอร์เซ็นต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้ง ”ลูกขุนพลเมือง (Civil Juries)” ขึ้นมาทำหน้าที่ถ่วงดุล ส่วนวิธีการที่ได้มาและอำนาจหน้าที่จะมีมากน้อยแค่ไหนเพียงใดเป็นที่จะต้อง ถกแถลงกันต่อไป

รายละเอียดคงต้องถกกันอีกมาก แต่อย่างน้อยก็เป็นก้าวย่างที่เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ เพราะจุดมุ่งหมายของการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็คือการเสนอร่างโดยภาคประชาชนในปี 2555 ที่จะถึงนี้

โลกพัฒนาไปมากแล้ว ผู้ที่ติดยึดกับอดีตโดยไม่ลืมหูลืมตา จะถูกกระแสของพัฒนาการกวาดตกเวทีที่ตนเองยึดว่าเป็นของตัวไปอย่างช่วยไม่ได้

-------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2554