ที่มา ประชาไท
รายงานโดย 'เพลงไพร'
นายกอังกฤษหารือแนวทางรับ มือจลาจล เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในลอนดอนเป็น 13,000 นาย โฆษกกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ยืนยันว่าจะไม่ใช้การฉีดน้ำสลายการก่อจลาจลและจะไม่มีการนำกองทัพเข้ามาร่วม สลายกลุ่มผู้ก่อจลาจล
ตำรวจนครบาลลอนดอน (London’s Metropolitan Police) เร่งเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่อารักขาความปลอดภัยตามท้องถนนเป็น 13,000 นาย หลังเหตุการณ์ความไม่สงบลุกลามไปรอบกรุงลอนดอนและกระจายไปเมืองใหญ่หลายแห่ง
วัน อังคารที่ 9 สิงหาคมนับเป็นวันที่ 4 ที่ผู้ก่อความไม่สงบเข้าปล้นและเผาทำลายห้างสรรพสินค้าใหญ่หลายแห่ง ร้านรวง อาคารที่พักอาศัยและทรัพย์สินทั้งของส่วนราชการและประชาชน คือรถโดยสารประจำทาง รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและรถยนต์ส่วนบุคคลในบริเวณเกิดเหตุ ผู้ที่ถูกจับกุมในเหตุก่อจลาจลทั้งในลอนดอนและเมืองอื่นขณะนี้มีจำนวนรวมกัน มากกว่า 500 ราย
ทางรัฐยังถกเถียงกันว่าควรใช้มาตรการอะไรเพื่อปราบ ปรามผู้ก่อความไม่สงบ สำนักข่าว Express รายงานว่าโฆษกกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ยืนยันว่าจะไม่ใช้การฉีดน้ำสลายการก่อจลาจลและจะไม่มีการนำกองทัพเข้ามาร่วม สลายกลุ่มผู้ก่อจลาจลด้วย โดยทางโฆษกกล่าวว่าการฉีดน้ำไม่ใช่มาตรการยุติจลาจลที่กระทรวงมหาดไทยจะใช้ กับกลุ่มผู้ชุมนุมบนแผ่นดินสหราชอาณาจักร
นายกรัฐมนตรีของอังกฤษนาย เดวิด คาเมรอน (David) จากพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) จัดการประชุมหารือวิกฤตการณ์ (crisis talks) กับนายกเทศมนตรีลอนดอนนายบอริส จอห์นสัน (Boris Johnson) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนางเทเรซา เมย์ (Theresa May) และตำรวจนครบาลลอนดอนถึงมาตรการจัดการเหตุจลาจลที่เริ่มขึ้นตั้งแต่คืนวัน เสาร์ที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น
เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล อังกฤษเรียกผู้ก่อเหตุไม่สงบว่าอาชญากร เนื่องมาจากการเข้าปล้นห้างสรรพสินค้าและร้านค้าของประชาชน พร้อมยืนยันว่าการจลาจลจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา โอลิมปิกในปี 2012
สำนักข่าวอัลจาซีรา (Al Jazeera) ภาคภาษาอังกฤษ รายงานว่ารองนายกรัฐมนตรีอังกฤษนายนิค เคลก (Nick Clegg) จากพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ให้สัมภาษณ์หลังจากไปเยือนท็อตแนม (Tottenham) ซึ่งเป็นจุดแรกที่เกิดเหตุจลาจลขึ้น โดยเขากล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการฉกฉวยโอกาสเพื่อขโมยข้าวของและการใช้ความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุจำเป็นแต่ประการใด และเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
เคลกยังแสดงจุดยืนว่ารัฐบาลอยู่เคียงข้างประชาชนที่อาศัยในชุมชนที่เกิดจลาจลและประนามการปล้นและการใช้ความรุนแรงในเหตุก่อความไม่สงบ
ขณะ เดียวกัน ผู้นำฝ่ายค้านนายเอ็ด มิลิแบน (Ed Miliband) จากพรรคแรงงาน (Labour Party) ก็ได้ทวิตข้อความลงทวิตเตอร์ของเขาเองว่า ภาพที่เขาได้เห็นในลอนดอนและเบอร์มิ่งแฮมทำให้เขาตกใจมาก และเรียกร้องให้มีการเพิ่มกำลังตำรวจเพื่อยุติการจลาจลเพื่อที่ชุมชนเหล่า นี้จะได้เดินหน้าต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม แกนนำเคลื่อนไหวภาคประชาชนและนักการเมืองฝ่ายค้านบางส่วนมีความเห็นร่วมกัน ว่าสาเหตุการใช้ความรุนแรงในครั้งนี้เกิดจากมาตรการตัดงบประมาณแผ่นดินของ รัฐบาลอนุรักษ์นิยมผลักให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและคนว่างงานเข้า ร่วมปล้นร้านค้าและทำลายทรัพย์สิน
ข้อเสนอนี้ถูกโต้แย้งโดยนักการ เมืองอนุรักษ์นิยมว่ามาตรการดังกล่าวไม่ เพียงพอที่จะทำให้คนกลายเป็นโจรได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการฉวยโอกาสขโมยสิ่งของมีค่า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้าในขณะที่เกิดเหตุไม่สงบขึ้นทั่วกรุงลอนดอน
นาย เดวิด คาเมรอนยังยืนยันว่าจะไม่มีการชะลอการตัดงบประมาณของภาครัฐ โดยการตัดงบนี้กระทำขึ้นภายหลังจากพรรคอนุรักษ์นิยมเข้ามาเป็นรัฐบาลแทนพรรค แรงงานของนายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) มีจุดประสงค์เพื่อลดงบประมาณขาดดุลที่รัฐบาลใช้จ่ายในการสร้างสวัสดิการและ สาธารณูปโภค
โดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมอ้างว่างบประมาณขาดดุล(รายรับของ ภาครัฐไม่เพียงพอ กับรายจ่าย)ทำให้รัฐบาลมีภาระในการหางบมาสนับสนุนการดำเนินนโยบาย ซึ่งมักมาในรูปการขึ้นภาษี
ทั้งนี้ สาเหตุของการจลาจลยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นประเด็นเรื่องการเหยียดผิว ระหว่างคนผิวขาวและผิวสี ข้อขัดแย้งระหว่างตำรวจและกลุ่มวัยรุ่นหรือเป็นการกระทำของโจรฉวยโอกาส แต่เหตุจลาจลเกิดขึ้นภายหลังนายมาร์ค ดักเกน ชายผิวดำถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเสียชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาอังกฤษ เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในลอนดอนเป็น 13,000 นาย โฆษกกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ยืนยันว่าจะไม่ใช้การฉีดน้ำสลายการก่อจลาจลและจะไม่มีการนำกองทัพเข้ามาร่วม สลายกลุ่มผู้ก่อจลาจลด้วย