WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 23, 2011

บทเรียนวิกฤติน้ำท่วม 2554 และสิ่งที่ควรแก้ไขในอนาคต

ที่มา ประชาไท

ในฐานะที่ผมเป็นผู้ที่เผชิญปัญหาน้ำท่วม 54 ไปแล้ว เพราะมีที่พักอยู่บริเวณซอยท่าอิฐ ตำบลบางรักน้อย อ.เมืองของจังหวัดนนทบุรี ผมคิดว่าควรจะหาบทเรียนจากวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งมีดังนี้

1) บทเรียนนี้มีราคาแพงมากและน่าจะสร้างความเสียหายสูงสุดแก่ประเทศไทยเป็น ประวัติการณ์ จากการประเมินโดยเบื้องต้นของผมซึ่งรวมผลกระทบทั้งทางตรง ซึ่งก็คือความเสียหายต่อภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ทางอ้อม คือกำลังซื้อของประเทศหดหายไปมหาศาล เพราะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมตกงานหรือไม่ได้รับค่าจ้างและอาจจะรวมถึงโบนัสใน ไตรมาส 4 เพราะช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาที่ภาคอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อสูงที่สุด ในขณะที่กำลังซื้อภาคเกษตรลดลงเพราะเทือกสวน ไร่นา จมน้ำเสียหาย

ผมประเมินความเสียหายประมาณ 5.5-6.5 แสนล้านบาท และส่งผลกระทบต่อจีดีพีให้หายไปประมาณ 2-2.5 % เพราะกว่าน้ำจะลดและไร่นาจะกลับมาเพาะปลูก กว่าที่เครื่องจักรจะมาเดินการผลิต อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 เดือนขึ้นไป

2) ต้องเร่งหาสาเหตุของวิกฤติน้ำท่วม 2554 ให้ได้ เพราะสาเหตุที่ถูกต้อง จะนำไปสู่การแก้ปัญหาวิกฤติน้ำท่วมที่ถูกต้อง โดยควรใช้คณะกรรมการอิสระในรูปแบบเดียวกับที่ประเทศไทยหลังเผชิญวิกฤติการ เงินปี 2540 เคยจัดตั้ง คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการ เงินของประเทศ (ศปร.)

โดยรัฐบาลควรตั้งคณะกรรมอิสระที่เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ฝน ภูมิอากาศ เศรษฐกิจ การเกษตร เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางจัดการบริหารน้ำอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับ ภูมิประเทศและเศรษฐกิจไทย เพราะข้อมูล ข่าวสารในขณะนี้จากองค์การสหประชาชาติ ผู้เชี่ยวชาญของไทย สื่อชั้นนำของต่างประเทศ และรัฐมนตรีของรัฐบาล (คุณปลอดประสพ) ได้ให้ความเห็นไปในทางว่าความเสียหายจากวิกฤติน้ำท่วมส่วนหนึ่งอาจมาจากการ จัดการบริหารน้ำที่ผิดพลาด ส่งผลให้นักลงทุนจากต่างประเทศเกิดการขาดความเชื่อมั่นในการบริหารน้ำของ รัฐบาล เพราะไม่มีใครในรัฐบาลรับประกันได้ว่าในปีหน้าถ้ามีปัญหาน้ำท่วมและมีการ บริหารจัดการน้ำในรูปแบบนี้อีก จะไม่เกิดผลเสียต่อนิคมอุตสาหกรรม

ถ้าไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ การย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยจะเป็นเรื่องที่ตามมา เพราะการลงทุนในมูลค่า 1 พันล้านบาทขึ้นไปนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความมั่นใจและรับประกันถึงความปลอดภัยในการลงทุนโดย เฉพาะจากความบกพร่องในฝีมือมนุษย์ เพราะเรื่องธรรมชาตินั้น นักลงทุนเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องสุดวิสัยและไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าเป็นจากความบกพร่องในเรื่องของการบริหารจัดการและยังไม่ได้มีการ จัดการแก้ไข ความจำเป็นในการย้ายฐานการผลิตจะเป็นเรื่องตามมา เพราะความเสียหายขณะนี้ ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตโลกของชิ้นส่วนอีเลกทรอนิกส์และยานยนตร์ ให้เกิดการชะงักขึ้น สร้างความเสียหายในการผลิตไปทั่วโลก

3) การบริการสถานการณ์ในภาวะวิกฤติ ( Crisis Management) เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงอย่างมากโดยเฉพาะในเรื่องความสอดคล้องและ ความถูกต้องของข้อมูล รวมทั้งแผนรองรับ เพราะประชาชนไม่น่าจะต้องการทราบว่าจะมีมวลน้ำก้อนใหญ่ ไหลมาด้วยความเร็วกี่ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือมีพื้นที่รองรับปริมาณน้ำได้กี่ลูกบาศก์เมตร แต่ประชาชนน่าจะต้องการทราบว่ามีถนนสายไหนบ้างที่น้ำจะท่วมและจะท่วมสูงแค ไหน กี่เซนติเมตร กี่เมตรและจะท่วมขังอยู่นานแค่ไหน เพื่อที่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆจะได้วางแผนถูก เพราะข้อมูลความเร็วน้ำและปริมาตรน้ำนั้น เอาไปใช้ในการวางแผนรับน้ำท่วมไม่ได้เพราะประชาชนไม่ใช่นักอุทกศาสตร์ที่ วิเคราะห์ข้อมูลพวกนี้ได้ด้วยตนเอง

ประการสำคัญ วิกฤติน้ำท่วมมิใช่ภัยแผ่นดินไหว สึนามิ หรือภูเขาไฟระเบิดที่รู้ตัวล่วงหน้าในเวลาไม่นาน หากแต่น้ำท่วมครั้งนี้ รัฐบาลได้รู้ล่วงหน้ามากกว่า 1 เดือน เพราะนายกรัฐมนตรี ได้ไปเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วม แต่ทำไมจึงไม่มีการเตรียมตัวรับมือวิกฤติตั้งแต่แรก ต้องรอให้อยุธยาจมน้ำจนมิดเสียก่อน รัฐบาลจึงพึ่งตื่นและตระหนักว่านี่คือวิกฤติ ดังนั้น เกิดอะไรขึ้นกับระบบประมวลข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลในการคาดการณ์วิกฤติ

ในวิกฤติครั้งนี้ ผมเห็นถึงพลังขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบจ. อบต. ที่เข้ามาทำหน้าที่อย่างแข็งขันในยามที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติน้ำ ท่วมนี้ได้ นอกจากนี้ ผมขอบคุณภาคประชาชนที่ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดย เฉพาะเครือข่ายสังคม (Social Network) ใน Face Book ที่ชื่อว่า “น้ำขึ้น ให้รีบบอก” ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องน้ำขึ้นตามสถานที่ต่างๆระหว่างภาคประชาชน ในอินเตอร์เน็ต และข้อมูลนี้มีส่วนช่วยผมมากในประเมินระดับวิกฤติของปัญหาน้ำท่วมเป็นราย นาที

สุดท้าย ผมขอขอบคุณ คณะกรรมการหมู่บ้านและอาสาสมัครของหมู่บ้านนันทนาการ์เด้น ซอยท่าอิฐ ที่มีจิตอาสาร่วมมือในการต้านภัยน้ำท่วมครั้งนี้

หมายเหตุ: 1)บทความนี้ มุมมองส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่สังกัดอยู่ และผู้เขียนขอขอบคุณคำแนะนำของ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ที่ให้ความเห็นว่าจริงๆแล้ว ประชาชนที่กังวลเรื่องน้ำท่วมอยากรู้ข้อมูลประเภทใด
2)บทความนี้ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ฉบับวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2554