WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 27, 2011

องค์กรสิทธิ ‘อาร์ติเคิล 19’-‘แอมเนสตี้ฯ’ ประณามคำตัดสินคดี ’อากง’

ที่มา ประชาไท

องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ‘อาร์ติเคิล 19’ แถลงการณ์ประณามผลการตัดสินคดี ‘อากง’ เหยื่อคดีหมิ่นฯ รายล่าสุดที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ร้องรัฐไทยต้องโมฆะตัดสินดังกล่าว พร้อมแก้ไขมาตรา 112-พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ด้าน ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล’ ชี้ ‘อากง’ เป็น ‘นักโทษการเมือง’

สืบเนื่องจากคดีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ- พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (17 พ.ย. 54) เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือหมิ่นเบื้องสูงไปหา เลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจำนวน 4 ข้อความนั้น

องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศด้านสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก ‘อาร์ติเคิล 19’ (Article 19) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ได้ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสินดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า คำตัดสินดังกล่าวเป็นที่น่าตกใจอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงการจงใจละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดเจนของทางการไทย

“การตัดสินลงโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัด แจ้ง” นายเบนจามิน ซาแวกกี นักวิจัยสากลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำประเทศไทยกล่าว “อำพลเป็นนักโทษการเมือง” เขาระบุ

นายเบนจามินยังชี้ว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 มีผลเหนือคำสั่งตามรัฐธรรมนูญของไทย และบทบัญญัติและการใช้ของกฎหมายดังกล่าว ยังขัดแย้งกับพันธกรณีของไทยที่ต้องมีต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมืองแห่งสหประชาชาติแล้วตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด และสิทธิของพลเมืองในการแสดงความเห็นและการแสดงออกโดยเท่าเทียมกัน

องค์กร ‘อาร์ติเคิล 19’ ยังได้เรียกร้องให้ไทยยกคำตัดสินในคดีนายอำพลเป็นโมฆะโดยทันที เนื่องจากมองว่า การใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงออกอย่างร้ายแรง และยังปรากฎถึงการใช้หลักฐานที่ยังขาดความน่าเชื่อถือในการเอาผิดนายอำพลอีก ด้วย อาร์ติเคิล 19 ระบุในแถลงการณ์ว่า จะยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และแก้ไขพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับรัฐธรมนูญไทยและมาตรฐานกฎหมายสากลต่อไป

ด้านนายสมชาย หอมลออ กรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ให้ความเห็นว่า การตัดสินคดีนายอำพลแสดงให้เห็นถึงความไม่เอาจริงเอาจังของรัฐบาลในการแก้ ปัญหาการละเมิดสิทธิ เช่นเดียวกับการดำเนินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และชี้ว่า การใช้กฎหมายดังกล่าวในทางที่ผิด ยิ่งแต่จะทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายที่เห็นต่างในสังคมรุนแรงขึ้น และนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่สถาบันฯ มากกว่าเดิม