WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 23, 2009

มรสุมกระหน่ำ "มาร์ค"เสียศูนย์

ที่มา ข่าวสด



ก่อนหน้านี้ใครต่อใครหลายคนคาดหวังว่าหลังพ้นเหตุการณ์ถวายฎีกาของคนเสื้อแดงวันที่ 17 ส.ค.แล้วสถาน การณ์ทางการเมืองน่าจะคลายความตึง เครียดลง

เพราะข้อเท็จจริงคือเมื่อขบวนทัพ เสื้อแดงนำฎีกาไปยื่นถึงสำนักราชเลขา ธิการแล้ว

ตามกฎระเบียบขั้นตอนต่างๆ ก็บังคับให้ต้องวนกลับมายังรัฐบาลเป็นฝ่ายชี้ขาด

ฉะนั้นการที่รัฐบาลออกอาการตื่นตูมตั้งแต่แรก จึงเป็นการช่วยโหมประโคมสร้างภาพให้พิธีกรรมของคนเสื้อแดงดูเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และน่ากลัวเกินจริง

โดยเฉพาะการเปิดศึกล่ารายชื่อผู้คัดค้านฎีกาสู้กับฝ่ายเสื้อแดง ทำให้รัฐบาลถูกสังคมครหาว่าเป็นฝ่ายสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนเสียเอง

ทั้งที่จริงเรื่องจำนวนรายชื่อไม่ใช่สาระสำคัญในฎีกา แต่อยู่ที่ว่าฎีกานั้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ข้อกฎ หมายหรือไม่

การตรวจสอบตรงนี้เป็นอำนาจหน้าที่รัฐบาล ซึ่งทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม บอกตรงกันว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 60 วัน

อีกทั้งหากแกนนำกลุ่มเสื้อแดงทำตามคำมั่นสัญญาที่ว่าเมื่อถวายฎีกาเรียบร้อยแล้วจะยุติการเคลื่อนไหว ไม่พูดถึง ไม่ทวงถามความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็น่าจะทำให้สถานการณ์การเมืองเย็นลง

แม้ว่าแกนนำเสื้อแดงจะประกาศยกระดับเปลี่ยนเงื่อนไขการชุมนุมเป็นการขับไล่รัฐบาล โค่นอำมาตย์ เรียกร้องให้มีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่

แต่ดูแล้วเป็นเรื่องยากที่ลำพังกลุ่มคนเสื้อแดงจะผลักดันสถานการณ์ไปสู่จุดนั้นได้



นักการเมืองแก่ประสบการณ์หลายคน มองว่า

อย่างน้อยจนถึงปลายปีที่บรรดาพรรคร่วมรัฐ บาลต้องกัดฟันประคับประคองกันต่อไป เพื่อรอใช้งบประมาณและโยกย้ายข้าราชการให้เป็นที่เรียบร้อยเสียก่อน

ยกเว้นเสียแต่จะมีเงื่อนไขฉุกเฉินแทรก ซ้อนเข้ามา อย่างเช่นปัญหาคดีความต่างๆ ที่เกี่ยวพันไปถึงคนในรัฐบาลกำลังใกล้ถึง จุดได้-เสีย

ไม่ว่ากรณีส.ส.ถือหุ้นต้องห้ามที่อาจเป็นเหตุให้ต้องจัดการเลือกตั้งซ่อมครั้งใหญ่

คดีทุจริตกล้ายางที่ส่งผลต่อชะตากรรมของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลคนสำคัญ

กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารที่เป็นปัญหาต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน โดยมีรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ 2-3 คนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง

คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทที่พรรคประชาธิปัตย์เสี่ยงต่อการถูกยุบพรรค

มีการปล่อยข่าวว่าคณะอนุกรรมการไต่สวนของ กกต.มีมติ 3 ต่อ 2 ให้หลุดจากคดี แต่ยังต้องไปลุ้นตรงที่กกต.ชุดใหญ่ว่าจะเห็นตามคณะอนุกรรมการ หรือไม่

ความไม่โปร่งใสในโครงการชุมชนพอเพียง แม้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ จะแสดงความรับผิดชอบลาออกจากประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ

แต่ไม่รู้จะชดเชยความเสียหายด้านภาพพจน์ของรัฐบาลได้หรือไม่ ขณะที่เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้นายกอร์ปศักดิ์ ลาออกจากรองนายกฯ ด้วย

ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนฉ่าอยู่ในขณะนี้คือความขัดแย้งกรณีโผแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ มาจนถึงการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผบ.ตร.คนใหม่

เชื่อกันว่านายอภิสิทธิ์เองคงคาดไม่ถึงเช่นกันว่าความขัดแย้งจะเตลิดมาไกลถึงขนาดนี้

ความวุ่นวายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้นายกฯ ต้องตกเป็นเป้าให้ฝ่ายค้านดำเนินการยื่นถอดถอนข้อหาแทรก แซงข้าราชการ

เกมยื้อแต่งตั้งผบ.ตร.คนใหม่ยังสะท้อนให้เห็นภาพรอยร้าวระหว่างพรรคแกนนำรัฐบาลกับพรรคร่วม

ตลอดจนความปริแตกในหมู่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ด้วยกันเอง



การที่ปุบปับพรรคภูมิใจไทยเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้กับผู้กระทำความผิดในการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่หลังการปฏิวัติ 19 ก.ย. 49 เป็นต้นมา

ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนเสื้อเหลือง เสื้อแดง และเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งอยู่ร่วมในเหตุการณ์

ถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีวาระแฝงเร้น

เพราะการเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยอ้างเรื่องความสมานฉันท์ของคนทุกกลุ่มในประเทศ

ขัดแย้งกันเองกับพฤติกรรมของกระทรวงมหาดไทยโดยพรรคภูมิ ใจไทยก่อนหน้านี้ที่สั่งการให้ผู้ว่าราชการและนายอำเภอทุกจังหวัดตั้งโต๊ะล่ารายชื่อต้านฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง

แบ่งประชาชนออกเป็นสองฝ่าย

สำหรับกับคนเสื้อเหลืองถึงจะอยู่ร่วมขั้วเดียวกันแต่ก็มีเรื่องไม่ลงรอยกันมาตลอดโดยเฉพาะเกี่ยวกับตำแหน่งผบ.ตร. ของพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ

ที่ฝ่ายหนึ่งอยากให้ปลด แต่อีกฝ่ายไม่ให้ปลด

ดังนั้น การที่พรรคภูมิใจไทยเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาจึงมีการประเมินเป้าหมายแท้จริงว่าน่าจะอยู่ที่การช่วยเหลือนายตำรวจบางนายที่กำลังถูกป.ป.ช. สอบสวนชี้มูล

ให้พ้นจากความผิดทั้งทางอาญาและทางวินัยมากกว่า

รวมถึงประเด็นที่แกนนำพรรคภูมิใจไทยประกาศตัวอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายกฯ ในการคัดเลือกผบ.ตร.คนใหม่ จนมีข่าวนายกฯ ไม่พอใจถึงขั้นขู่จะยุบสภา-ลาออก

สิ่งต่างๆ เหล่านี้นอกจากบ่งบอกถึงเสถียร ภาพของรัฐบาลที่กำลังเสียศูนย์ ล่อแหลมต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ทุกขณะอย่างที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลหลายคนพยายามส่งสัญญาณเตือนถึงนายกฯ แล้ว

ยังแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของพรรคภูมิใจไทยที่พยายามจะสถาปนาขั้วการเมือง

ดึงเอาทหาร-ตำรวจเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนอำนาจใหม่

ลอยแพนายอภิสิทธิ์

ที่กำลังโดดเดี่ยวท่ามกลางมรสุมการเมืองที่ซัดกระหน่ำไม่หยุดหย่อน