WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 23, 2009

พลิกคดี"คาร์บอมบ์" ศาลทหารพิพากษา จำคุกพ.อ.-พ.ท.-ร.ท. สรุปไม่ใช่คาร์บ๊อง

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ แฟ้มคดี




นับจากเกิดเหตุพบรถบรรทุกระเบิดหรือ "คาร์บอมบ์" เตรียมถล่มขบวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะเป็นนายกฯ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549

ระเรื่อยมาจนถึงการจับกุมผู้เกี่ยวข้องซึ่งล้วนเป็นนายทหาร จนถึงการสั่งฟ้องของตำรวจ และอัยการทหาร

ฝ่ายตรงข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามบิดเบือนว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ โดยตั้งชื่อคดีนี้ว่า "คาร์บ๊อง"

โดยไม่สนใจดูพยานหลักฐานที่ปรากฏว่ามีมากมายเพียงใด

แต่เพราะต้องการโจมตีและดิสเครดิต พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงประการเดียว

ข้อเท็จจริงทั้งหมดจึงถูกมองข้ามไป หรือพยายามกลบเกลื่อน

เพราะคดีนี้จริงๆ แล้วแม้จะดูเหมือนเกี่ยวข้องกับนายทหาร แต่ทางสืบสวนพบว่าโยงใยถึง "พลเรือน" บางส่วน!??

หลักๆ เป็นแง่สนับสนุนเงินทุน หรือเป็นขุนพลอยพยัก เสนอแนะให้จัดการพ.ต.ท.ทักษิณ

เพราะห้วงเวลานั้นแม้จะมีการเคลื่อนไหวมวล ชน พยายามขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ แถมยังไม่มีวี่แววว่าจะเกิดปฏิวัติ

จึงเมื่อเกิดเหตุพยายามลอบสังหารผู้นำประเทศ ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม แล้วก็ต้องรีบลนลานออกมาดิสเครดิต และเบี่ยงเบนประเด็นว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ขึ้นเอง!??

ทว่า 3 ปีเศษผ่านไป คดีคาร์บอมบ์ที่ผ่านการพิจารณาของศาลทหาร ก็มาถึงบทสรุปในขั้นต้น

เมื่อมีคำพิพากษาจำคุก 3 นายทหารที่ตกเป็นจำเลย ประกอบด้วย ร.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ นายทหารสารบรรณที่รับผิดชอบงานในภาคใต้ ทำหน้าที่ขับรถขนระเบิด, พ.ท.มนัส สุขประเสริฐ นายทหารรักษาความปลอดภัยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) และ พ.อ.สุรพล สุประดิษฐ์ หรือ "เสธ.ตี๋" นายทหารแผนกการเงิน กอ.รมน. เกี่ยวข้องกับการทำระเบิดและสนับสนุน

ศาลให้จำคุกคนละ 6 ปี ในข้อหาร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดและพาไปในเขตเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควรและร่วมกันมียุทธภัณฑ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต

เป็นการยืนยันว่า "คาร์บอมบ์" มีเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่คาร์บ๊องอย่างที่บางกลุ่มพยายามจูงจมูกคนในสังคมให้คล้อยตาม!!

วันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา ศาลทหารกรุงเทพฯ นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการทหารเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ร.ท.ธวัชชัย, พ.ท.มนัส และ พ.อ.สุรพล เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ ในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันมียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย



จำเลยทั้งหมดเดินทางมาศาลด้วยใบหน้าเรียบเฉย

เมื่อถึงเวลาผู้พิพากษาขึ้นนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา เท้าความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยคดีนี้มีพยานสำคัญคือ "จ่ายักษ์"จ.ส.อ.ชาคริต จันทระ พลขับของพ.อ.สุรพล ซึ่งมีส่วนในขบวนการคาร์บอมบ์ด้วย แต่เพราะให้การเป็นประโยชน์และร่วมมือกับพนักงานสอบสวน จึงได้รับการกันตัวเป็นพยาน

"จากคำให้การของพยานสรุปว่า จำเลยทั้งสามได้บังอาจนำวัตถุระเบิดมาประกอบเป็นระเบิดแสวงเครื่องติดในรถยนต์ และมีการเชื่อมต่อระบบวงจรครบถ้วน ซึ่งสามารถที่จะระเบิดสังหารบุคคลหรือทำอันตรายให้แก่บุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้สนับสนุนการเงินให้จำเลยที่ 2 จัดหาและประกอบวัตถุระเบิด และให้จำเลยที่ 1 ขับรถออกจาก กอ.รมน. ไปยังบริเวณใต้สะพานแยกบางพลัดในวันที่ 24 ส.ค. 2549"

"ทั้งนี้ จากคำให้การ จ.ส.อ.ชาคริต เบิกความว่าได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 3 ให้ไปรับรถยนต์แดวู จากนั้นได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปจอดที่ริมรั้ว กอ.รมน. โดยจะมีการลอบวางระเบิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ทั้งนี้ ยังรับทราบจากจำเลยที่ 3 ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบวัตถุระเบิด"

ในวันที่ 24 สิงหาคม 2549 วันเกิดเหตุ พบพยานหลักฐานปรากฏว่า รถที่ใช้ในการประกอบวัตถุระเบิดมีการนำมาจอดทิ้งไว้ภายใน กอ.รมน. ประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนวันเกิดเหตุ และเช้าวันที่เกิดเหตุพบว่าจำเลยที่ 1 นำรถออกจาก กอ.รมน. ขับรถมาบริเวณใต้สะพานบางพลัด

จากพยานหลักฐานศาลพิพากษาว่า จำเลยทั้ง 3 ร่วมกันกระทำความผิดใน 3 ข้อหา คือร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี ข้อหาร่วมกันเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดและพาไปในเขตเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควรและร่วมกันมียุทธภัณฑ์ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ลงโทษจำคุก 2 ปี รวมโทษทุกกระทงจำคุกจำเลยทั้ง 3 คน 6 ปี ปรับคนละ 4,000 บาท

แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ให้การเป็นประโยชน์จึงให้ลดโทษเหลือ 4 ปี 6 เดือน ปรับ 3,000 บาท

"ส่วนข้อหาพยายามฆ่าพ.ต.ท.ทักษิณ จากคำให้การของพยานไม่อาจมีหลักฐานบ่งชี้ได้ จึงไม่สามารถรับการลงโทษได้ จึงให้ยกฟ้องข้อหานี้ และข้อหาอื่น"



หลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาทนายจำเลย ยื่นหลักทรัพย์คนละ 8 แสนบาทขอประกันตัวเพื่อสู้ต่อในชั้นอุทธรณ์ทันที

หากย้อนเวลากลับไปเมื่อต้นปี 2549 คดีคาร์บอมบ์ถือว่าเป็นหนึ่งในคดีใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของเมืองไทย เพราะไม่เคยมีผู้นำประเทศไทยคนไหนต้องเฉียดตายเท่ากับพ.ต.ท.ทักษิณ มาก่อน

ขบวนการสังหารนำรถเก๋งแดวู สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน ฐฉ 3085 กทม. บรรทุกระเบิดซีโฟร์ซึ่งมีรัศมีทำลายล้างราวๆ 1 ก.ม. ไปจอดอยู่บริเวณข้างสะพานข้ามแยกบางพลัดเมื่อเช้าวันที่ 24 มีนาคม 2549 ซึ่งเป็นเส้นทางที่ขบวนรถของพ.ต.ท.ทักษิณ นายกฯ ต้องใช้เดินทางจากบ้านไปทำเนียบ

อย่างไรก็ตาม รถเก๋งคันนี้ไม่รอดหูรอดตาหน่อยรปภ.ของนายกฯ ที่ออกเคลียร์เส้นทางก่อนขบวนมาถึง เพราะมีข้อมูลว่าเป็นรถต้องสงสัยในการลอบสังหาร เนื่องจากไปปรากฏตามจุดต่างๆ ที่นายกฯ ต้องผ่านหลายครั้ง

เมื่อเห็นรถคันนี้อีกครั้ง หน่วยรปภ.จึงประสานกับหน่วยอรินทราช 191 และตำรวจท้องที่ เฝ้าดูและไม่นานจากนั้นพบชายคนหนึ่งเดินลิ่วๆ มาขึ้นรถและขับออกจากจุดดังกล่าว

เจ้าหน้าที่เข้าสกัดจับไว้ได้กลางถนน โดยในรถ พบ ร.ท.ธวัชชัย อดีตคนขับรถของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รองผอ.กอ.รมน.

ที่นั่งเบาะหลังและกระโปรงท้ายรถมีระเบิดทีเอ็นทีและซีโฟร์ ผูกติดกันไว้ มีถังแกลลอนน้ำมันบรรจุน้ำมันเบนซินผสมปุ๋ยยูเรีย รวมทั้งยังพบแผงวงจรที่เบรกมือด้วย!!!

ตำรวจรวบรวมพยานหลักฐาน โดยเฉพาะการตรวจรถระเบิดซึ่งทิ้งรอยนิ้วมือไว้จำนวนมาก เพราะทีมสังหารมั่นใจว่าเมื่อเกิดระเบิดขึ้นหลักฐานดังกล่าวจะสลายเป็นจุณไปด้วย

หลังจากพบคาร์บอมบ์คันนี้ ฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามปั่นกระแสว่าเป็นการสร้าง สถานการณ์ และระเบิดไม่ได้ต่อวงจรไว้

แต่การตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญพบว่าต่อวงจรไว้เรียบร้อย และสามารถเปิดสวิตช์ให้เครื่องทำงานโดยจุดระเบิดจากระยะไกล

และการที่ต้องใช้รถเพียงคันเดียวจนกลายเป็นจุดสนใจ เพราะการต่อวงจรระเบิดนั้นซับซ้อนเกินไป

การทำผู้ลงมือเหมือนตายไปแล้วครึ่งตัว จึงไม่ง่ายหากจะเปลี่ยนรถแล้วทำระเบิดคาร์บอมบ์ขึ้นมาใหม่

ทำให้ขบวนการวางแผนเสี่ยงที่จะใช้รถเพียงคันเดียวเพื่อรอโอกาสเหมาะลงมือสังหาร

คดีนี้ตร.แห่งชาติ จัดทีมสืบสวนมือดีเข้ามาร่วมทำงาน จนนำไปสู่การบุกจับ "จ่ายักษ์" จ.ส.อ.ชาคริต จันทระ ซึ่งมีส่วนรู้เห็นในคดีนี้อย่างมาก

แต่จ่ายักษ์ ไหวตัวทันเผ่นหนีไปได้ก่อน อย่างไรก็ตามสุดท้าย จ่ายักษ์ ติตต่อขอมอบตัวหลังสงสัยว่าถูก"นาย"สั่งฆ่าปิดปาก เพราะรู้รายละเอียดมากเกินไป

จ่ายักษ์ ระบุว่าเป็นคนไปรับรถคาร์บอมบ์มาจากเต็นท์แห่งหนึ่ง ซึ่ง พ.อ.สุรพล ไปติดต่อซื้อเอาไว้ จากนั้นนำไปให้ พ.ท.มนัส เป็นคนลงมือประกอบระเบิด

พยานสำคัญระบุอีกว่าหลังจากประกอบคาร์บอมบ์สำเร็จ ก็เริ่มวางแผนลอบสังหารหลายครั้ง จ่ายักษ์ ทำหน้าที่ "มาร์กจุด" ขับรถอีกคันไปจอดจองที่เอาไว้เพื่อรอรถคาร์บอมบ์มาจอดแทน

และยังเพื่อตบตาหน่วยรปภ.นายกฯ ที่จะมา ตรวจสอบล่วงหน้า ให้เข้าใจว่าไม่มีปัญหาอะไร

เมื่อตรวจสอบทุกอย่างเสร็จสรรพ จ่ายักษ์จะขับรถออกจากจุดแล้วให้รถคาร์บอมบ์มาจอดเสียบแทน

จากคำให้การของจ่ายักษ์ และการสืบสวนหาหลักฐานอื่นๆ ของตำรวจ นำมาสู่การออกหมายจับ 3 นายทหารของกอ.รมน.ประกอบด้วย พล.ต. ไพโรจน์ ธีระภาพ, พ.อ.สุรพล และพ.ท.มนัส

ระหว่างการทำคดีนี้ก็เกิดเหตุปฏิวัติ 19 กันยาฯ 49 ฝ่ายตรงข้ามพ.ต.ท.ทักษิณ พยายามให้คดีนี้จบลงไปด้วย

แต่ตำรวจซึ่งมี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เป็นผบ.ตร. กลับเดินหน้าทำไปตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ สร้างความไม่พอใจให้กับบางฝ่ายอย่างมาก

ท้ายที่สุดตำรวจสรุปสำนวนส่งฟ้องให้อัยการทหารพิจารณาเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549

ต่อมา พล.ต.อ.โกวิท ก็ถูกย้ายออกจากตำแหน่งผบ.ตร.

ห้วงเวลานั้นทหารกำลังเป็นใหญ่ และคดีนี้ก็อยู่ในมืออัยการทหาร ทำให้ฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ ยิ่งประโคมข่าวเรื่อง "คาร์บ๊อง" มากขึ้น

แต่ก็ต้องหน้าม้าน เมื่ออัยการที่พิจารณา สำนวนราวๆ 4 เดือน มีคำสั่งฟ้องพ.อ.สุรพล และ พ.ท.มนัส และร.ท.ธวัชชัย แต่สั่งไม่ฟ้องพล.ต. ไพโรจน์ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

คดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลทหารในช่วงเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งยังอยู่ในห้วงของรัฐบาลคมช. มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ

ศาลทหารใช้เวลาพิจารณาคดีอยู่ 2 ปีเศษ

ก็ได้คำพิพากษาออกมา