WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, September 19, 2010

19 กันยายน คือรัฐประหารที่รุนแรงและนองเลือด

ที่มา ประชาไท

ถ้าจำกันได้ เหตุผลหนึ่งในการรองรับความชอบธรรมของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือรัฐประหารครั้งนั้นไม่นองเลือด (bloodless coup) แถมยังช่วยระงับ หยุดยั้งความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชุมนุมใหญ่ของพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตยในวันที่ 20 กันยายน 2549 หรือแม้แต่ข้ออ้างว่าเป็นการช่วยแก้ไขความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนั้น ระหว่างรัฐบาลทักษิณกับพันธมิตรฯ
แต่ 4 ปีผ่านไป พิสูจน์ให้เห็นว่ารัฐประหารนอกจากจะไม่สามารถหยุดยั้งความขัดแย้งในสังคม ไม่สามารถปฏิรูปอะไรได้แล้ว กลับนำพาสังคมไทยเข้าสู่ความขัดแย้งที่ลุกลามใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ และแม้จะไม่ได้นำไปสู่ความรุนแรงทันทีทันใด แต่การนองเลือดก็เกิดขึ้นและค่อยๆ มากขึ้นเป็นลำดับเมื่อเวลาผ่านไป
บทความนี้เสนอให้มองการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในระยะยาวกว่าวันที่ 19 กันยายน 2549 ยาวกว่าเวลาอยู่ในอำนาจของคมช. หรือยาวกว่าเวลาการมีอำนาจของรัฐบาลพลเอกสรยุทธ์ จุลานนท์ แต่หลังจากวันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงทุกวันนี้ สังคมไทยยังคงอยู่ใน "กระบวนการรัฐประหาร" ที่ไม่สิ้นสุด อีกทั้งยังได้ตกลงไปในหลุมลึกของความขัดแย้งใหม่ ซึ่งแหลมคมจนแปรเปลี่ยนเป็นความรุนแรงมาหลายต่อหลายครั้ง เราจึงควรมองการรัฐประหารครั้งนี้ในฐานะรัฐประหารที่นำไปสู่การนองเลือด อย่างต่อเนื่อง (bloodshed coup) ทั้งของฝ่ายที่พิทักษ์กระบวนการรัฐประหาร และฝ่ายที่ต่อต้านกระบวนการรัฐประหาร
การ จดจำเนื้อหา หรือความหมายที่ถูกให้กับเหตุการณ์นี้ใหม่มีความสำคัญยิ่ง ทั้งในแง่ของการมองผลของการรัฐประหารต่อความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน และในแง่ของการปฏิเสธความชอบธรรมใดๆ ของรัฐประหารที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
เนื้อหาและรูปแบบของการรัฐประหาร
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 3-9 กันยายน 2553 ได้ลงบทสัมภาษณ์พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้นำการรัฐประหาร 19 กันยายน ในโอกาสที่ใกล้ครบรอบ 4 ปีของเหตุการณ์นั้น ความตอนหนึ่งว่า
“มี สักแว่บหนึ่งของความคิดบ้างไหม ที่พอเห็นเหตุการณ์รุนแรงทางหน้าจอทีวี แล้วเกิดความรู้สึกว่า เป็นเพราะการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือเปล่า บ้านเมืองถึงเดินมาถึงจุดนี้ได้
- ทางกองทัพมีหน้าที่ในเรื่องการรักษาความมั่นคง รักษาความปลอดภัย และที่สำคัญรักษาระบอบประชาธิปไตย กองทัพมีหน้าที่พวกนี้
ท่านไม่คิดว่าเป็นเพราะการรัฐประหารหรอกหรือ
- มันอาจจะเกิดจากที่ผ่านมา เกิดจากว่าเราประเมินสถานการณ์ข้างหน้าดูดีมากไปหน่อย
หมายความว่า ไม่ได้ประเมินว่ามันจะเลวร้าย
- ใช่ ไม่คิดว่ามันจะเลวร้ายไปถึงขนาดนี้ ไม่มีใครคาดคิด
ไม่คิดว่าเป็นเพราะการรัฐประหารแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณเขาสู้ ทำให้เกิดปัญหามาจนถึงวันนี้
- ผมทำตรงนี้ก็เพื่อว่ารักษาระบอบประชาธิปไตย เป็นหน้าที่ของกองทัพ บ้านเราต้องปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเมื่อมันกำลังสับสนในระบอบประชาธิปไตย เราก็เข้ามาจัดระบบให้มันเป็นประชาธิปไตย”
นอกจากจะน่าสนใจที่จะตั้งคำถามว่าเมื่อไรกันที่กองทัพมีหน้าที่สำคัญในการรักษา “ระบอบ ประชาธิปไตย” แล้ว ยังน่าสนใจในความขัดแย้งของตรรกะวิธีคิดของนายทหารผู้นี้ เพราะหากกองทัพทำไปเพราะต้องการรักษา “ระบอบประชาธิปไตย” แล้ว เหตุใดกระบวนการตัดสินใจ ประเมินสถานการณ์ข้างหน้าหลังจากการรัฐประหาร กลับกระทำโดยคณะรัฐประหาร หรือคนกลุ่มน้อยไม่กี่คน
แต่มองในอีกมุมหนึ่ง “ระบอบ ประชาธิปไตย” ที่พล.อ.สนธิกล่าวถึงนั้น กลับไม่ได้หมายความถึงการปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนน้อย ผู้คอยถ่วงดุลตรวจสอบเสียงส่วนใหญ่ และเสนอทางเลือกให้หากเสียงส่วนใหญ่พาไปในทางที่ผิดแล้ว แต่หมายถึงการปกครองของคนส่วนน้อย ที่ในสภาวะซึ่งเกิด "ความสับสน" ขึ้นในสังคม จะ “รู้ดีกว่า” คนส่วนใหญ่ว่าอะไร “มั่นคง” อะไรคือ “ประชาธิปไตย” และอะไรคือทางแก้ปัญหา
จึงไม่ใช่เรื่องขัดแย้งหรือน่าแปลกใจ ที่เหล่าคณะรัฐประหารจะประเมินสถานการณ์ข้างหน้ากันเอาเอง แล้วจึง “เข้ามาจัดระบบให้มันเป็นประชาธิปไตย”
อาจกล่าวได้ว่า เนื้อหาของการรัฐประหารครั้งนี้คือการที่คนกลุ่มน้อยซึ่ง “รู้ดีกว่า” เข้ามาจัด “ระบบประชาธิปไตย” ใหม่ที่ถูกทำให้ “สับสน” ไปในสมัยของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้คืนสู่ “สภาพเดิม”
เกษียร เตชะพีระ เคยประเมินเนื้อหาหรือแก่นแท้ของการรัฐประหาร 19 กันยายน ว่าเป็น "รัฐประหารเพื่อราชบัลลังก์...กล่าวอีกนัยหนึ่งคือก่อรัฐประหารขึ้นก็เพื่อปฏิรูปประชาธิปไตยไทยไปในลักษณะวิถีทางที่จะทำให้มันปลอดภัยสำหรับสถาบันกษัตริย์จากการท้าทายด้วยอำนาจนำทางการเมืองของกลุ่มทุนใหญ่ หรือ ที่พลเอกสนธิ เรียกในเวลาต่อมาว่า ‘เผด็จการทุนนิยม’ ” นั่นเอง (เน้นโดยเกษียรเอง ใน "รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 กับการเมืองไทย" รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2551 หน้า 52-53)
สำหรับ รูปแบบของการรัฐประหาร เกษียรก็ชี้ให้เห็นว่าเป็นการรัฐประหารเชิงตั้งรับ คือทหารเข้ามาแทรกแซง ยึดอำนาจรัฐแบบเฉพาะกิจเฉพาะการณ์ ช่วงเวลาค่อนข้างสั้น จากนั้นก็ฟื้นฟูการปกครองโดยพลเรือนคืนมาพร้อมกับทหารพากันยกพลกลับสู่กรม กองบางส่วน (หน้า 54)
นอก จากนั้น รูปแบบอีกอย่างหนึ่งของการรัฐประหารในครั้งนี้คือ การดึงสถาบัน และองค์กรหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือเข้ามารองรับความชอบธรรมของการยึดอำนาจโดยทหาร ไม่ว่าจะเป็นสถาบันตุลาการ สถาบันกษัตริย์ สถาบันวิชาการ องคมนตรี องค์กรอิสระ นักการเมือง เอ็นจีโอ รวมทั้ง “ภาค ประชาชน” บางส่วน นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ในช่วงแรกของการรัฐประหารไม่มีความรุนแรง หรือการนองเลือดเกิดขึ้น เพราะมีฐานค้ำยันจำนวนมากอยู่
อีก ทั้งฝ่ายต่อต้านรัฐประหารยังไม่ สามารถก่อตัว รวมตัวต่อสู้ ต่อต้านได้ แต่ก็เต็มไปด้วยการแสดงความไม่เห็นด้วยจากกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยหลายกลุ่มโดย ตลอดตั้งแต่หลังการรัฐประหารเป็นต้นมา ก่อนที่จะแปรกลายไปเป็นกลุ่มที่เรียกว่าเสื้อแดงหรือนปช.หลังการลงประชามติ รัฐธรรมนูญ 2550 ในที่สุด
กระบวนการรัฐประหารและต้านรัฐประหารยังไม่สิ้นสุด
การยึดอำนาจโดยตัวของมันเอง ไม่ได้ทำให้เกิดการจัด “ระบบ ประชาธิปไตย” ใหม่ได้แต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการขับไล่ผู้ครองอำนาจอยู่เดิมออกไปเท่านั้น กระบวนการต่างๆ ที่ตามมาหลังจากนั้นจึงเป็น
แถม วิธีการที่ใช้ก็เช่นเดียวกับช่วง รัฐประหาร คือการดึงสถาบันหรือองค์กรทุกๆ ภาคส่วนดังกล่าวข้างต้น เข้ามาพัวพัน แทรกแซง วุ่นวายกับการรื้อถอนระบบการเมืองเก่าที่ "สับสน" และจัดระบบการเมืองใหม่ที่จะทำให้สังคมไทยกลับสู่ "สภาพเดิม" อย่างปกติสุข ดังนั้นแม้คณะรัฐประหารจะหมดอำนาจไปแล้ว แต่กระบวนการจัดระบบใหม่ก็ยังถูกส่งไม้ไปยังตัวละครทางการเมืองอื่นๆ ต่อไป และแม้จะเกิดการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ขึ้น แต่กระบวนการหลังจากนั้นก็ยังดำเนินไปภายใต้เนื้อหาของการรัฐประหารเช่นเดิม
เพียง แต่ผลที่ "ไม่มีใครคาดคิด" ก็เกิดขึ้นตามมา เมื่อวิธีการดึงสถาบันและองค์กรจำนวนมากเข้ามาช่วยกันกำจัดระบบเก่า สร้างระบบใหม่ กลับกลายเป็นการกัดกร่อน ทำลาย บ่อนเซาะตัวสถาบัน องค์กรต่างๆ เหล่านั้นเสียเอง กระบวนการจัดการทักษิณและการ "ปฏิรูปประชาธิปไตยไทย" ดำเนินไปตลอด 4 ปีโดยสะสมปัญหาและผลิตความขัดแย้งมากขึ้นทุกวัน ยิ่งเดินหน้าไปความรุนแรงก็มากขึ้นเรื่อยๆ ความพยายามพิทักษ์เนื้อหาของการ รัฐประหารจึงใช้ต้นทุนทางสังคมไทยสูงมากในทุกๆ ด้าน ซึ่งนอกจากจะไม่ได้กำไรแล้ว ยังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไรจึงจะได้ทุนคืนมา
ระบบ ยุติธรรมที่พอจะมีอยู่บ้างในสังคม พังทลายลงจนคนจำนวนมากไม่เชื่อถืออีกเลยไม่ว่าจะตัดสินเรื่องใดก็ตาม ความน่าเชื่อถือต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมหลายคนมลายหายสูญไปอย่างที่ไม่เคย มีมาก่อน สถาบันกษัตริย์ถูกดึงและลงมาพัวพันกับความขัดแย้ง ซึ่งยิ่งสร้างความสุ่มเสี่ยงของโอกาสเกิดความรุนแรง สถาบันวิชาการถูกท้าทาย ตั้งคำถาม และถูกมองอย่างหมดความหวัง สถานะความเป็นเอ็นจีโอถูกสงสัย เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ของรัฐเป็นจำนวนมาก และต้องเผชิญกับความแตกร้าวภายในอย่างรุนแรง
เงื่อนไข เหล่านี้เอง ที่ทำให้ขบวนการต้านรัฐประหารค่อยๆ เติบโตขึ้น การรวมตัวขยายใหญ่ขึ้น แน่นอนว่าคนบางส่วนก็สนับสนุนทักษิณ หากแม้รัฐบาลทักษิณจะมีปัญหาในหลายๆ ด้าน และตัวระบบการเมืองในสมัยทักษิณก็มีปัญหาเช่นกัน แต่ "การปฏิรูปประชาธิปไตย" โดยเริ่มต้นจากการทำรัฐประหารกลับกลายเป็นการเพิ่มเงื่อนไขของความขัดแย้ง แทนที่จะลดความรุนแรงลงไปดังที่ถูกอ้าง
ประเด็น ความไม่เป็นธรรมจากการพยายาม รื้อระบบเก่า เป็นไปอย่างโจ่งแจ้งและสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยมา จนหลอมรวมกลายเป็น "สภาวะสองมาตรฐาน" ประเด็นความไม่พอใจต่อ "คนกลุ่มน้อยที่รู้ดีกว่า" ผนวกรวมกับปัญหาการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทยที่คาราคาซังมาตั้งแต่ 2475 กลายมาเป็นถ้อยคำที่ถูกเรียกว่า "อำมาตย์กับไพร่"
คน จำนวนมากที่ในตอนแรกไม่ได้สนใจเข้า ร่วมต้านรัฐประหาร แต่สะสมความไม่พอใจไว้ และเมื่อกระบวนการพิทักษ์รัฐประหารยิ่งแสดงความไม่เป็นธรรมมากขึ้น คนเหล่านี้ก็ทยอยกระโดดลงมาร่วมการชุมนุมของคนเสื้อแดงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเมื่อสงกรานต์เลือดปีที่แล้ว ต้นปีที่ผ่านมา และในขณะนี้
สิ่ง สำคัญอีกประการ ที่เป็นผลพวงใหญ่ของการรัฐประหารครั้งนี้ คือการรื้อฟื้นอำนาจของกองทัพต่อการเมือง และทำให้วิธีการทางทหารในการจัดการปัญหาความขัดแย้งต่างๆ กลับคืนมาสู่สังคมไทย
ไล่ ตั้งแต่งบประมาณทางทหารที่หลายคน ชี้ให้เห็นแล้วว่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี หรือการเข้ามาแทรกแซงการเมืองอย่างการตั้ง "รัฐบาลในค่ายทหาร" หรือการที่กฎหมายด้านความมั่นคง ซึ่งให้อำนาจกับทหารและฝ่ายความมั่นคงอย่างมาก ได้แก่ กฎอัยการศึก, พรก.ฉุกเฉิน และพรบ.ความมั่นคง ถูกประกาศใช้อย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปีที่ผ่านมา แม้แต่ในสมัยนายกฯ สมัคร และสมชาย ก็มีการใช้กฎหมายเหล่านี้เช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าใครจะเข้ามายึดกุม อำนาจ แต่รัฐและสังคมไทยได้เปิดโอกาสให้มีการใช้กระบวนการทางทหารเข้ามาจัดการ ปัญหาอย่างเข้มข้น
รวม ถึงการใช้อาวุธสงครามไม่รู้กี่ ประเภทที่มีให้เห็นอยู่แทบตลอดในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะใช้ยิงกันโต้งๆ กลางเมือง หรือแอบยิงในที่ต่างๆ ปรากฏการณ์เช่นนี้ ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นคนทำ มันกลับสะท้อนเช่นเดียวกันว่า "เครื่องมือแบบทหาร" กำลังถูกใช้ในความขัดแย้งครั้งนี้ จนอาจกลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งไปเสียแล้ว
หาก ก็ไม่ได้หมายความว่าก่อนหน้านี้ อำนาจของกองทัพ หรือวิธีการทางทหารไม่ได้มีอยู่ในช่วงรัฐบาลทักษิณ (เห็นได้ชัดเจนในกรณีปัญหาชายแดนใต้) เพียงแต่ความเข้มข้นและปริมาณในระดับประเทศกลับมากขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ ปีที่ผ่านมา
การดึงวิธีการและเครื่องมือแบบทหาร (Militarization) กลับเข้ามาในการเมืองไทยอย่างเข้มข้นดังกล่าว กลายเป็นผลผลิตหนึ่งของการรัฐประหาร ที่ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นคนใช้ มันกลับยิ่งค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงในสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งความรุนแรงในความหมายกว้าง ที่ไม่จำเป็นต้องมีการบาดเจ็บล้มตาย อย่างการปิดกั้นสื่อ การคุกคามสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในรูปแบบต่างๆ และความรุนแรงในความหมายแคบ นั่นคือการบาดเจ็บ ล้มตายของผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน สีใด
ถ้า สังคมไทยไม่หาวิธีการลดความเข้มข้น ของการใช้เครื่องมือแบบทหารเหล่านี้ลง อาจเป็นไปได้ว่า ความรุนแรงอาจขยายตัวต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่ก็พึงตระหนักว่าการใช้วิธีการแบบทหารจัดการกับวิธีการแบบทหารเหมือนกัน กลับจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงเสียอีกด้วยซ้ำ พรก.ฉุกเฉินที่ดำเนินอยู่ขณะนี้ จึงส่งเสริมความรุนแรงในตัวของมันเอง
กลับไม่ได้ ไปก็ไม่ถึง
กระบวน การรัฐประหารได้พาสังคมไทยตกลง ไปในหลุมลึกที่ขยายใหญ่ขึ้นทุกวัน บานปลายเรื่อยมา แถมการพยายามถอยขึ้นมาจากหลุมก็ดูจะไม่ง่าย จะไปต่อข้างหน้าก็ดูจะมืดๆ มัวๆ อีกเช่นกัน
คณะ รัฐประหารดูเหมือนจะรู้ว่าทางเลือก ที่นำสังคมไทยมานั้นผิด พ.ล.เอกสนธิ บุญยรัตกลิน ตอบบทสัมภาษณ์ของมติชนสุดสัปดาห์ว่าถ้าเลือกใหม่ได้ อาจจะไม่ทำรัฐประหาร และ “ไม่คิด ว่ามันจะเลวร้ายขนาดนี้ ” แม้คำตอบจะเป็นไปแบบอ้ำๆ อึ้งๆ อ้อมค้อมไปหน่อยก็ตาม แต่ปัญหาคือสังคมกลับไปก่อนหน้าการรัฐประหารไม่ได้เสียแล้ว พวกเขาทำการเลือกใหม่ไม่ได้
ขณะ ที่เหล่าผู้พิทักษ์การรัฐประหาร พยายามเดินหน้าต่อไป โดยไม่สนใจความผิดพลาดในอดีต อ้างซ้ำๆ ว่ามันเกิดขึ้นแล้วจะให้ทำอย่างไร แต่ก็กลับพบว่ากระบวนทั้งหมดที่ผ่านมาก็เป็นไปอย่างไม่ชอบธรรมเสีย แล้ว “ความผิดเก่าๆ” ยังไม่เคยถูกแก้ไข “ความผิดใหม่ๆ” ก็สะสมเพิ่มขึ้นมา แถมคนจำนวนมากเลือกไม่สังฆกรรมกับกระบวนการใดๆ ทั้งหมดตลอดหลายปีที่ผ่านมา หากยังต่อสู้ เหนี่ยวรั้ง ตั้งคำถาม และท้าทายให้จัดการกับมันใหม่ ความตึงเครียดดังกล่าวจึงยังอยู่ในสังคมไทยมาตลอดและพร้อมแปรเปลี่ยนเป็น ความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา
อาจกล่าว ได้ว่ากระบวนการรัฐประหาร เป็นทั้งความรุนแรงโดยตัวมันเอง และเป็นโครงสร้างที่ผลิตความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
เหตุการณ์ 10 เมษายน จนถึง 19 พฤษภาคม จึงถือได้ว่าเป็นผลพวงที่มาช้าไปเกือบ 4 ปีของการรัฐประหาร 19 กันยายน แต่แทนที่พลเมืองจะออกมาต่อสู้กับทหารที่รัฐประหาร ทหารกลับออกมา “กระชับพื้นที่” ของพลเมืองแทน
แต่ หากมองในทางกลับกัน สังคมไทยมีเวลาถึงเกือบ 4 ปีในการแก้ไข “ความผิดพลาด” หรือหยุดยั้งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เราจึงอาจต้องตั้งคำถามกับตัวเองร่วมกันว่าเหตุใดเราจึงมากันถึงวันนี้? และต่อจากนี้ไปเราจะจัดการกับโครงสร้างแบบนี้อย่างไร?