ที่มา TalkyStory นิวยอร์คไทม์สเปิดเผยถึงโทรเลขทางการทูตจากลิเบีย ซึ่งถูกนำมาเปิดโปงโดยวิกิลีก ทำให้เราพอมองเห็นสภาพรัฐบาลเผด็จการในประเทศนั้น พร้อมกับเข้าใจความโกรธแค้นของประชาชนที่มีต่อการปกครองของนายพลกัดดาฟี มีรายงานในสื่อมวลชนตะวันตกว่า หลังวันปีใหม่ของปี 2009 เซอีฟ กัดดาฟี (Seif Qaddafi) ซึ่งเป็นลูกชายคนหนึ่งของนายพลกัดดาฟี จ่ายเงินหนึ่งล้านเหรียญ เพื่อให้ มารายห์แครี ไปร้องเพลงเพียงสี่เพลงให้ฟัง ที่เกาะ St. Barts ในทะเลคาริบเบียน โทรเลขทางการทูตรายงานว่า เซอีฟ กัดดาฟีได้ปฏิเสธเรื่องนี้ผ่านหนังสือพิมพ์ที่เขาควบคุมอยู่ โดยเขากล่าวว่า เจ้ามือหลักคือ มูอาทัซซิม(Muatassim) น้องชายของเขา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประเทศ โทรเลขทางการทูตยังระบุว่ามูอาทัซซิมผู้นี้เอง ที่ในปี 2008 เรียกร้องเงิน 1.2 พันล้านเหรียญจากประธานบริษัทน้ำมันแห่งรัฐของลิเบีย ทั้งนี้เพื่อจัดตั้งกองกำลังของตนขึ้น ขณะเดียวกัน คามิส (Khamis) น้องชายอีกคนหนึ่ง ก็เป็นผู้บัญชาการกองรบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องระบบเผด็จการอยู่ โทรเลขในปีเดียวกัน ระบุว่าลูกๆของนายพลกัดดาฟี ต่างวิ่งเต้นเพื่อหาตำแหน่ง ขณะที่ผู้เป็นพ่อแก่ตัวลง พร้อมระบุว่า ขณะที่ลูกชายสามคน ต่างแย่งชิงผลประโยชน์จากแฟรนไชส์ของโคคาโคลา นั้น “ลูกๆทุกคนของกัดดาฟี รวมถึงสมุนที่เขาโปรดปราน ล้วนรายได้จากบริษัทน้ำมันแห่งรัฐ และ บริษัทลูกๆที่ทำธุรกิจบริการด้านน้ำมัน” โทรเลขทางการทูตในปี 2010 กล่าวว่า คนหนุ่มสาวชาวลิเบีย มองว่า เซอิฟลูกชายคนที่สองของกัดดาฟี เป็น “ความหวัง” ของอนาคตของลิเบีย หนุ่มสาวเหล่านี้ เห็นว่า เขาเป็นคนมีการศึกษา มีวัฒนธรรม และเป็นคนที่ต้องการเห็นอนาคตซึ่งดีขึ้นของลิเบีย ซึ่งแตกต่างกับพี่น้องคนอื่นๆ แต่นั่นก็เป็นเพียงอดีต เพราะภายหลังจากที่ประชาชนลิเบียออกมาขับไล่ครอบครัวกัดดาฟีนั้น เซอิฟผู้นี้เอง ที่ออกมาประกาศทางโทรทัศน์ ว่า ลิเบียอาจจะต้องพบกับ “สงครามกลางเมือง” และ ต้องเผชิญกับ “แม่น้ำแห่งสายเลือด” หากประชาชนไม่หันมาสนับสนุนพ่อของตน
โทรเลขทางการทูตในปี 2006 เรียกระบบที่กุมอำนาจรัฐในลิเบียว่า “กลุ่มบริษัทกัดดาฟี (Qadhafi Incorporated)” เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาพการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย และการเล่นพรรคเล่นพวกที่แพร่หลายในประเทศนี้
Permalink : http://www.oknation.net/blog/StayFoolish
เพื่อไทย
Friday, February 25, 2011
ระบบกัดดาฟี ลูกเมียและ บริวาร …. !?!
เวทีแลกเปลี่ยน ข้อคิด มุมมอง ของผู้คนที่ชอบสงสัย ชอบเห็นต่าง แต่ไม่แตกแยก