WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 23, 2011

ติดตามสถานการณ์การลุกขึ้นขับไล่เผด็จการในลิเบียและในโลกอาหรับ

ที่มา Thai E-News


พ.อ. มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี (อายุ 69 ปี) ก้าวขึ้นสู้อำนาจในปี 2512 ในวัย 27 ปี ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารหนุ่มที่ทำการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบบกษัตริย์มาสู่ระบบทหาร

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
23 กุมภาพันธ์ 2554


สำนักข่าว Al Jazeera รายงานวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึงสถานการณ์ในลิเบีย เกี่ยวกับการออกมาพูดทีวีของ พ.อ.มู อัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา ที่ยืนยันว่า "จะสู้จนถึงที่สุดและจะตายอย่างนักบุญบนพื้นแผ่นดินลิเบีย" เขาได้เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนของเขาออกมาชิงพื้นที่คืนจากกลุ่มผู้ประท้วง รวมทั้งยังกล่าวว่า "เขายังไม่ได้สั่งการให้มีการใช้กำลังกับกลุ่มผู้ประท้วง และถ้าเขาสั่งจริงๆ แล้วละก็ ทุกอย่างจะถูกเผาราบเป็นหน้ากอง"

ในขณะที่ทูตลิเบียที่ประจำการอยู่ในประเทศต่างๆ รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ทยอยล่าออกเพื่อเป็นการประท้วงการใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงครั้งนี้ และประกาศจุดยืนอยู่ข้างผู้ประท้วง

แม้ว่ากัดดาฟี จะยืนยันว่าประเทศลิเบียยังแข็งแกร่ง แต่ผู้นำนานาชาติ ได้ส่งสัญญาณเตือนกัดดาฟีว่าความรุนแรงต่างๆ และการแสดงความไม่เห็นด้วยกับกัดดาฟีของทหารและคนในรัฐบาลของเขา แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างการเมืองของประเทศลิเบียกำลังอยู่ในสภาวะที่หล่อแหลมและอันตรายอย่างยิ่ง

คนงานต่างชาติในลิเบียรอเดินทางกลับประเทศ

*******************
สำหรับการติดตามสถานการณ์การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง Siam Intelligence Unit หรือ SIU ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้อ่านไทยอีนิวส์สามารถติดตามได้ทีเกาะติดสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือได้ที่ Siam Intelligence Unit

SIU วันที่ 21 ก.พ. 2554 ได้รายงาน "สถานการณ์ในเยเมนยังตึงเครียด โมร็อคโคและคูเวตเริ่มมีการประท้วง ส่วนบาห์เรนฝ่ายต่อต้านยังประชุมไม่เสร็จว่าจะรับการเจรจาสันติภาพหรือไม่"

ลิเบีย

ติดตามสถานการณ์ในลิเบียได้จาก ลิเบียยังเดือด 233 ศพ, ลูกกัดดาฟีออกทีวีเตือน “สงครามกลางเมือง”

แผนที่แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แสดงประเทศที่เกิดความไม่สงบ

บาห์เรน

ฝ่าย ต่อต้านรัฐบาลของบาห์เรน ซึ่งประกอบด้วยพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มทางการเมืองอีกหลายกลุ่ม จะประชุมกันอีกครั้งในวันนี้ เพื่อหาข้อสรุปว่าจะยอมรับการเจรจาสันติภาพกับฝ่ายรัฐบาลหรือไม่

เมื่อวานนี้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมาร่วมประชุมกันเป็นวันแรก แต่ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ลงตัวได้สำหรับการเจรจาสันติภาพ

Ebrahim Sharif จากสมาคม National Democratic Action ให้สัมภาษณ์ว่า “เราต้องการเจรจากับรัฐบาลมา 10 ปีแล้ว และเราคงเป็นคนสุดท้ายที่ไม่รับข้อเสนอนี้ แต่ก่อนอื่นเราต้องเตรียมข้อเสนอของฝ่ายเราให้พร้อม คิดเห็นตรงกันเสียก่อน”

หลังจากตำรวจและทหารยอมถอนตัวออกจากกรุง Manama ผู้ชุมนุมก็กลับมาตั้งเต๊นท์อีกครั้ง และเริ่มมีการสไตรค์ของคนงานรวมถึงครูและนักเรียน – Wall Street Journal

เยเมน

ประธานาธิบดี Ali Abdullah Saleh ของเยเมนปฏิเสธข้อเสนอที่จะให้เขาลงจากอำนาจ และยื่นข้อเสนอต่อผู้ประท้วงให้เกิดการเจรจาแทน เขาบอกว่าข้อเรียกร้องของฝ่ายต่อต้าน “เป็นไปไม่ได้” และยังบอกให้ผู้ต่อต้านลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งครั้งหน้าปี 2013

Saleh ให้สัมภาษณ์ในการแถลงข่าวว่าเขาสั่งกองทหารไม่ให้ทำร้ายผู้ประท้วง เว้นเสียแต่ว่าเป็นการป้องกันตัวเองเท่านั้น นับถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต 11 รายจากการประท้วงในเยเมน ขณะนี้ผู้ชุมนุมในหลายเมืองออกมาเรียกร้องให้ Saleh ออกจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเมืองท่า Aden, Taiz และเมืองหลวง Sanaa

เยเมน ถือเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในตะวันออกกลาง และประสบปัญหาการแบ่งแยกดินแดนจากผู้ก่อการร้ายเยเมนใต้ อย่างไรก็ตามประธานาธิบดี Saleh ที่ครองอำนาจมายาวนาน 30 ปีได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐ – AP

โมร็อคโค

โดมิโนแห่งการประท้วงแพร่ไปยังโมร็อคโค ประเทศทางตะวันตกสุดของแอฟริกาเหนือที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ผู้ชุมนุมเริ่มออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองและต้องการให้กษัตริย์ Mohammed VI ยอมปล่อยอำนาจบางส่วน การชุมนุมเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ และในวันจันทร์นี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 รายในเมือง Al Hoceima ทางตอนเหนือของประเทศ ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าเสียชีวิตได้อย่างไร

ผู้ชุมนุมประกอบด้วยสหภาพแรงงาน องค์กรเยาวชน และกลุ่มสิทธิมนุษยชน ออกมาชุมนุมใน 6 เมืองทั่วประเทศ การชุมนุมส่วนมากยังอยู่ในความสงบและไม่มีอาวุธ มีการประเมินว่าผู้ชุนนุมในเมืองหลวง Rabat มีประมาณ 2,000 คน

โฆษกรัฐบาลให้สัมภาษณ์กับสถานีทีวีของรัสเซียว่าการประท้วงเป็นเรื่อง ปกติในโมร็อคโค และการประท้วงครั้งนี้อยู่ในกรอบของกฎหมาย รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย – CNN, BBC

คูเวต

ประชาชนชาวคูเวตออกมาเดินขบวนตามท้องถนนตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. และล่าสุดมีรายงานว่ามีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง และถูกจับกุมโดยรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง

องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้เรียกร้องให้รัฐบาลคูเวตปล่อยตัวผู้ชุมนุมเหล่านี้ทันที ส่วนรัฐบาลคูเวตได้ออกคำเตือนให้ประชาชนอยู่ในเคหสถาน ไม่ต้องออกมาร่วมชุมนุม

ผู้ชุมนุมชาว Bidun มีประมาณ 300-500 คน ยังอยู่ในความสงบแต่มีบางส่วนที่ขว้างก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมคือขอสัญชาติและสถานะของประชากร ส่วนเจ้าหน้าที่ได้ใช้ปืนน้ำ ระเบิดควัน และแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม – Human Rights Watch

จอร์แดน

แม้การประท้วงในจอร์แดนจะเริ่มสงบลงชั่วคราว แต่กษัติรย์อับดุลลาห์ที่สองก็บอกแก่รัฐบาลใหม่ที่เพิ่งแต่งตั้งให้เริ่มการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังและรวดเร็ว พระองค์ขอให้รัฐบาลใหม่ทำงานหนักและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

กษัตริย์อับดุลลาห์ยังบอกว่าการปฏิรูปดำเนินไปบ้างแล้วในรัฐบาลก่อนหน้า นี้ แต่บุคคลระดับสูงบางคนต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพระองค์บอกว่าจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นอีก – CNN

อัพเดตสถานการณ์ตะวันออกกลาง ตอนก่อนหน้านี้

เกาะติดสถานการณ์การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนชาวตะวันออกกลางกับ Siam Intelligence

*********

กลุ่มไม่เอาสงคราม ต้องการสันติภาพ


ได้ประกาศเชิญชวนหน้าเฟสบุค ให้คนมาร่วมแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามผู้ประท้วงรัฐบาลแถบตะวันออกกลาง(โดยเฉพาะลิเบีย) "เราไม่อยากให้เพื่อนมนุษย์ต้องเจ็บปวดจากคนบ้าอำนาจเหมือนที่เราโดน" "ต่อต้านการเข่นฆ่าประชาชนโดยทรราชย์"

วันที่ 24 ก.พ.54 นี้ เวลา 16.00 - 19.00 น. ที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN)

สืบเนื่องมาจากกระแสการประท้วงรัฐบาลในภูมิภาคตะวันออกกลางหรืออาหรับที่ถูกจุดมาจากตั้งแต่ตรูนิเซีย และอิยิปต์ ขณะนี้ลุกลามไปหลายประเทศ ที่ประชาชนลุกขึ้นมาประท้วงและขับไล่รัฐบาล

แต่ในขณะนี้สถานการณ์การลุกขึ้นมาประท้วงกลับเลวร้ายเมื่อฝ่ายผู้กุมอำนาจหรือรัฐบาลเลือกที่จะใช้ความรุนแรงในการปราบปรามและจัดการกับผู้ประท้วง เช่นในลิเบีย มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนแล้ว ในบาห์เรนก็เช่นกัน และยังรวมถึง เยเมน อิหร่าน โมร๊อคโค คูเวต แอลจีเลีย เป็นต้น

ดังนั้นในวันที่ 24 ก.พ.54 นี้ เวลา 16.00 - 19.00 น. ที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมแสดงออกและประณามการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลลิเบียและประเทศในแถบอาหรับ เพราะ "เราไม่อยากให้เพื่อนมนุษย์ต้องเจ็บปวดจากคนบ้าอำนาจเหมือนที่เราโดน" "ต่อต้านการเข่นฆ่าประชาชนโดยทรราชย์" โดยมีกิจกรรมเช่น

อ่านแถลงการณ์
ปราศรัยจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ
การแสดงเชิงสัญญาลักษณ์ เปรียบเทียบ นอนตาย คนเสื้อแดง(ผู้ประท้วงรัฐบาลไทย)
และ ประชาชนลิเบีย(ผู้ประท้วงรัฐบาลลิเบีย) ที่เสียชีวิต
การจุดเทียนไว้อาลัยกลุ่มไม่เอาสงคราม ต้องการสันติภาพ