WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 17, 2011

พ.อ.สรรเสริญปล่อย"ไก่อู"อ้างพระราชนิพนธ์ร.6 "เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง" แท้จริงเป็นกลอน"นเรศ นโรปกรณ์"

ที่มา Thai E-News

มีการแซวกันว่าถ้าเป็น "คนเสื้อแดง" อ้างกลอนบทนี้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของ ร. 6 เขาอาจเจอมาตรา 112...

ที่มา มติชนออนไลน์

หลัง จาก พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก แถลงข่าวยืนยันว่า "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รองนายกรัฐมนตรีไม่ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก่อนที่พล.อ.ประยุทธ์จะออกรายการพิเศษทางช่อง 5 และช่อง 7

นอกเหนือจากปฏิเสธข่าวนั้นแล้ว เสธ.ไก่อู ยังชี้แจงเพิ่มเติมถึงเนื้อหาที่พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ด้วย โดยพยายามจะย้ำว่าทหารมีเจตนารมณ์ยึดมั่นในอุดมการณ์รับใช้ประเทศชาติ

และเพื่อเพิ่ม "น้ำหนัก" ของการแถลงข่าว เขาจึงยกบทกลอนบทหนึ่งขึ้นมา

เสธ.ไก่อู ยืนยันด้วยเสียงหนักแน่นและมั่นใจว่าเป็น "พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6"


“ผมมีคำกลอน 1 กลอน ซึ่งไม่ได้ต้องการจะเอาใจใคร ผมจำได้ว่าเราเคยได้รับการสอนสั่งมาตั้งแต่เป็นสมัยนักเรียน ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ความว่า

เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง ฤๅจะมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดกระนั้นฤๅ
แท้จริงเจ้าควรคิด จงตั้งจิตและยึดถือ
รับใช้ชาติไทยคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน...

….ทุกคนที่เป็นทหารยึดมั่นใจเจตนารมณ์อันนี้มาโดยตลอด"

ฟังดูหนักแน่นและน่าเชื่อถือ
แต่สำหรับนักกิจกรรมนักศึกษารุ่นเก่า ฟังบทกวีเสริมความรักชาติของพ.อ.สรรเสริญแล้ว.อึ้ง
ก่อนจะ...ยิ้ม
แล้ว...หัวเราะ

เพราะ พ.อ.สรรเสริญ ปล่อย "ไก่อู" ตัวใหญ่

มีการแซวกันว่าถ้าเป็น "คนเสื้อแดง" อ้างกลอนบทนี้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของ ร. 6 เขาอาจเจอมาตรา 112
.................


เพราะ "เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง....." ไม่ใช่พระราชนิพนธ์ ของรัชกาลที่ 6 บทกวีนี้คุ้นเคยกันดีในหมู่นักกิจกรรมรุ่นก่อน 14 ตุลาคม 2516 ยาวนานมาถึงรุ่นเดือนพฤษภาคม 2535


"นเรศ นโรปกรณ์" แต่งกลอนบทนี้เมื่อก่อนปี 2500 ซึ่งเป็นยุค "สายลมแสงแดด"


นัก ศึกษาสมัยนั้นไม่สนใจเรื่องราวทางสังคม ทั้งที่ประเทศชาติเป็นเผด็จการ "นเรศ" จึงแต่งกวีบทนี้ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของนักศึกษา

และเนื้อหาที่ถูกต้องก็คือ


"เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง หรือจะมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤๅ
แท้ควรสหายคิด และตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน"


สังเกตุคำว่า "แท้ควรสหายคิด" และ "รับใช้ประชา" ไม่ใช่ "แท้จริงเจ้าควรคิด" และ "รับใช้ชาติไทย" ตามสำนวนของเสธ.ไก่อู

การใช้คำว่า "สหาย" และ "รับใช้ประชา" เพราะนี่คือบทกวีของ "ฝ่ายซ้าย"

"นเรศ" เขียนกวีบทนี้ขึ้นมาตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพล.ป.พิบูลสงคราม กวาดล้างทางการเมืองครั้งใหญ่ "นเรศ" ก็ถูกจับในข้อหากบฎและกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์

ข้อหาฮิตในยุคเผด็จการ ซึ่งกำลังย้อนกลับมาฮิตอีกครั้งในวันนี้

กวีบทนี้ว่ากันว่าเป็นแรงบันดาลใจทำให้ "วิทยากร เชียงกูล" เขียน "เพลงเถื่อนสถาบัน" ในหนังสือ "ฉันจึงมาหาความหมาย" เมื่อปี 2511

และมีวรรคทองที่ส่งผลสะเทือนทางความคิดอย่างรุนแรง


"ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึงมาหาความหมาย
ฉันหวังเก็บอะไรไปมากกมาย
สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว"


เป็นบทกวีที่กระตุ้นความคิดของนักศึกษาในยุคสมัยนั้น

จาก จุดเล็กๆ จุดแรกของบทกวี "เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง..." มาเชื่อมต่อกับจุดต่อมา "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง..." จนกลายเป็น "สึนามิทางประชาธิปไตย"

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516


โค่นล้มเผด็จการทหาร จอมพลถนอม กิตติขจร