WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 17, 2011

พรมแดนของ free speech และ hate speech อยู่ตรงไหน?

ที่มา ประชาไท

อาจารย์ ภาควิชาปรัชญา อักษร จุฬาฯระบุว่า มาตรวัดสำคัญว่าเป็น hate speech หรือไม่คือดูว่ามีการขู่อาฆาตมาดร้ายหรือไม่ ด้านนักวิชาการสื่อตั้งประเด็นชวนคิดจะนับ hate speech เป็น free speech หรือไม่ ส่วนนักกฎหมาย จากเอแบค ยันสิทธิแสดงความเห็นพัฒนาประชาธิปไตย รัฐต้องคุ้มครอง

(16 มิ.ย.54) เวทีอภิปรายสาธารณะ “ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง” จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ห้อง 201 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ช่วงเช้า เป็นการอภิปรายใน หัวข้อ "พรมแดนของ free speech และ hate speech ในการแสดงความเห็นทางการเมือง" โดยโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว ว่า free speech หรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย ถ้าไม่มีเสรีภาพนี้ จะเหมือนเราบังคับทุกคนให้คิด-เชื่อแบบเดียวกัน ทั้งนี้ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่จำกัดเฉพาะการพูดแต่รวมถึงการแสดงออกด้าน อื่นๆ ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้แนวคิดต่างๆ เกิดขึ้นและไหลเวียนได้อย่างเสรี ขณะที่ Hate speech เป็นคำพูดมุ่งอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่น เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามลักษณะของบุคคล เช่น ชาติพันธุ์ สีผิว ศาสนา ความชอบทางเพศ จัดคนเป็นพวกๆ เพียงเพราะเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ อาทิ การเหยียดผู้หญิงเอเชียในตะวันตก หรือการบอกว่าทุกคนที่เลือกพรรค ก. เป็นคนโง่ ไม่จงรักภักดี ในไทย

อาจารย์ ภาควิชาปรัชญาระบุว่า ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อมีคนใช้ free speech สร้าง hate speech ขึ้น โดยมาตรวัดสำคัญว่าเป็น hate speech หรือไม่ คือ ดูว่ามีการขู่อาฆาตมาดร้ายหรือไม่ โดยหากเป็น hate speech สามารถจัดการได้ตามกฎหมาย

โสรัจจ์ยกตัวอย่างภาพจากกลุ่มต่างๆ เช่น ป้ายรณรงค์โหวตโนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมองว่า ยังไม่เข้าข่าย hate speech เพราะไม่มีเนื้อหาอาฆาตมาดร้ายขู่ฆ่า แม้จะมีภาพเสือ ควายบนจอแต่เราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร รู้แต่ว่าเป็นนักการเมือง หรือภาพจากกลุ่มรณรงค์โหวตโน ที่ตัดต่อหน้าของทักษิณ ชินวัตรมาซ้อนกับใบหน้าของยิ่งลักษณ์ พร้อมคำบรรยายว่า การกลับมาของระบอบทักษิณ หรือภาพอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พร้อมข้อความ อยากบอกโลกว่าจ้าพเจ้าคือทรราช ซึ่งทั้งหมดนี้ โสรัจจ์มองว่า ยังไม่เข้าข่าย hate speech เช่นกัน เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเห็นทางการเมืองเกี่ยวกับบุคคลสาธารณะ ซึ่งยังไม่มีการแสดงความอาฆาตมาดร้าย

โสรัจจ์ กล่าวว่า หากถามว่าควรออกกฎบังคับเรื่อง hate speech หรือไม่ อาจต้องตอบให้ได้ก่อนว่า hate speech คืออะไร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งนี้ ทิ้งท้ายด้วยว่า ความเห็นอะไรที่ต่างจากกระแสของคนส่วนใหญ่มากๆ จะตายไปเองโดยธรรมชาติ การไปควบคุมโดยเฉพาะการมีกฎหมายลงโทษคนทำแบบนี้มากเกินไป อาจทำให้เกิดกระแสโต้กลับ มีคนท้าทาย ทำให้วัตถุประสงค์ของการเกิดกฎหมายนั้นๆ เป็นไปในทางตรงข้าม

ชวนคิด hate speech ถือเป็น free speech หรือไม่
พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว ว่า ปัจจุบัน มีกฎหมายสากลหลายฉบับให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก อาทิ มาตรา 19 ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญอเมริกัน ทั้งนี้ ในอเมริกา มีข้อยกเว้น 3 เรื่องคือ เรื่องภาพโป๊เปลือยเด็ก การหมิ่นประมาทหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และคำพูดยั่วยุที่ทำให้เกิดการต่อสู้และการใช้ความรุนแรง (fighting words)

พิร งรอง ระบุด้วยว่า มีนักวิจัยอ้างว่า hate speech กับ hate crime มีความสัมพันธ์กันโดยตรง โดยยกตัวอย่างการโฆษณาชวนเชื่อของนาซีในเยอรมนีซึ่งนำมาซึ่งการฆ่าล้างเผ่า พันธุ์ชาวยิว หรือกลุ่ม KKK ที่พุ่งเป้าไปที่คนผิวสี

พิรงรอง กล่าวว่า ด้วยลักษณะของอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะข้ามชาติข้ามพรมแดนและความนิรนาม ทำให้กลุ่มที่ต้องการเสนอ hate speech ใช้เป็นพื้นที่ได้ง่าย โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อการเสนอ โดยทำผ่านเว็บไซต์ อีเมล เว็บบอร์ด คลิปวิดีโอ

สำหรับการกำกับดูแล hate speech ในแต่ละประเทศแตกต่างกันไปตามปรัชญาความคิดและวัฒนธรรม ในอเมริกา hate speech ได้รับการปกป้องภายใต้ free speech นอกจากพิสูจน์ได้ว่าเป็น fighting speech จึงจะผิด ขณะที่ในแคนาดา hate speech เป็นความผิด

พิร งรองตั้งคำถามทิ้งท้ายสำหรับสังคมไทยว่า hate speech ถือเป็น free speech หรือไม่ หรือต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างจึงจะเป็น hate speech สิทธิของเหยื่อ hate speech จะต่ำกว่าเสรีภาพในการแสดงออกไหม และหากจะมีนโยบาย anti-hate speech ในไทยจะมีลักษณะอย่างไรที่จะไม่เลือกข้าง

เตือนรัฐ ระวังละเมิดสิทธิประชาชน
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กล่าว ว่า เสรีภาพในการพูด รับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศคือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยพลเมืองและ สิทธิพลเมือง ดังนั้น จะเห็นว่า ทั้งในระดับประเทศ-ระหว่างประเทศ รับรองสิทธิในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน นั่นหมายถึงสิ่งเดียวจะพรากสิทธินี้ได้คือ ความตาย

พรสันต์ แสดงความเห็นต่อกรณี กกต. สั่งปลดป้ายโหวตโนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยตั้งคำถามว่า เป็นการที่ผู้ใช้อำนาจรัฐพยายามปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่ พร้อมชี้ให้เห็นว่า การพยายามปิดกั้นเสรีภาพในการพูด เท่ากับการปิดกั้นเสรีภาพทั้งกระบวน ไล่ตั้งแต่การแสดงความเห็น การแสดงออก และต่อต้านการคิดของบุคคลด้วย

ตามหลักนิติรัฐและกลักกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ รัฐต้องรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จะจำกัดมิได้ ยกเว้นว่า จำกัดได้โดยสิทธิเสรีภาพแบบสัมพัทธ์ คือ มีเงื่อนไขโดยรัฐต้องอธิบายให้ได้ว่าทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้ต้องบังคับใช้เป็นการทั่วไป ไม่เลือกปฏิบัติ และที่สำคัญ ต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และทำได้โดยกฎหมายที่ผ่านสภาเท่านั้น

พร สันต์ มองว่า เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องใหม่มากสำหรับเมืองไทย แม้จะมีระบุในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับที่ 2 แต่ไม่เคยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเลยว่าคืออะไรกันแน่ พรสันต์ยกตัวอย่างโดยแบ่งคำพูดออกเป็น คำพูดที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ และคำพูดที่ไม่ได้รับรองตามรัฐธรรมนูญ อาทิ คำพูดที่กระทบกับความมั่นคงของรัฐ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล ปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อให้เกิดการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ก่อให้เกิดการต่อสู้ทำร้าย เสียชื่อเสียง โดยผลของการแสดงความเห็นที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญ ทำให้สิ่งที่พูดถูกจำกัด หากมีคนฟ้องร้องต้องรับโทษตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตว่า แม้โดยสภาพคำพูดมีลักษณะ hate speech แต่การรับผิดเป็นคนละเรื่อง โดยต้องดูเจตนา-พฤติกรรม-ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงออกกับผลที่เกิดขึ้น ซึ่งมาตรฐานตรงนี้ไทยยังไม่มี หรือต่ำกว่านี้

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยว ข้องกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในช่วงเวลาปกติ คือ กฎหมายอาญา และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. การได้มาซึ่ง ส.ว. ซึ่งพรสันต์ตั้งข้อสังเกตว่า สังคมไทยไม่มีการบาลานซ์กันระหว่างการหมิ่นประมาทกับเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็น โดยไม่เคยเห็นศาลพูดถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญเลย ซึ่งเขามองว่า ถ้าศาลกล่าวถึงเรื่องเสรีภาพในการพูด-แสดงความเห็นจะกลายเป็นบรรทัดฐานและทำ ให้ประชาชนเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่นเดียวกับผู้ที่สู้คดีที่ควรกล่าวถึงประเด็นนี้ด้วย ทั้งนี้ เพราะหากประชาชนไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น จะเป็นการบั่นทอนประชาธิปไตยในระยะยาว

พรสันต์ ตั้งข้อสังเกตถึงกรณี เลขา กกต.กล่าวกับสื่อเร็วๆ นี้ที่ว่า ห้ามแสดงการคัดค้านการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคต่างๆ ว่า อาจเข้าข่ายละเมิดมาตรา 27, 29 และ 45 ของรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าเหตุ ตราบใดที่สิทธิเสรีภาพนั้นยังไม่สร้างความรุนแรง จะห้ามไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ประชาชนก็ห้ามทำลายป้ายสมัครด้วย เพราะแสดงว่าไม่ยอมให้พรรคการเมืองใช้เสรีภาพในการแสดงออกเช่นกัน

พร สันต์ กล่าวต่อว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในช่วงเวลาไม่ปกติอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศได้โดยฝ่ายบริหาร เสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉินปลอม ขณะที่ในต่างประเทศมีการถ่วงดุลการประกาศสภาวะฉุกเฉิน โดยเขาเสนอว่าควรมีองค์กรตรวจสอบ เช่น ในฝรั่งเศส ศาลปกครองจะตรวจสอบว่าฉุกเฉินจริงหรือไม่ และมีคำสั่งยกเลิกการประกาศได้ ทั้งนี้ หากเกรงว่าจะเกิดตุลาการภิวัฒน์ ก็เสนอให้มีการควบคุมการต่อระยะเวลาการประกาศใช้กฎหมายนี้ โดยนำเรื่องเข้าสภา เพื่อให้ ส.ส.โหวต

โดยสรุป พรสันต์ ระบุว่า ตามหลักแล้ว หากเป็นการแสดงความเห็นที่เป็นไปโดยสุจริต สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้หมด ขณะที่รัฐก็ให้คำนึงถึงมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญ ว่ารัฐจะต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ หากมีการละเมิดสิทธิในการแสดงความเห็นนั้น เขามองว่าเป็นการไม่มีความอดทนอดกลั้น ไม่รับฟังเสียงข้างน้อย และบั่นทอนการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลด้วย

ช่วงท้าย พรสันต์ ยกคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ในปี 2004 ซึ่งเป็นการวินิจฉัยในคดีเกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมืองที่เขียนไว้ว่า "It is the duty of citizens to criticize the government" (เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล) พร้อมระบุว่า นี่คือระบบของประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐอย่างแท้จริง