WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 15, 2011

พยาบาลชายแดนใต้’ เจอปัญหาเด็กโครงการรัฐแย่งตำแหน่ง

ที่มา ประชาไท

นาง สาวนัสรีซา มามะ พยาบาลเทคนิค โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า ตนเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไข ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือโครงการผลิตพยาบาล 3,000 คน ป้อนให้กับโรงพยาบาลใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากไม่มีตำแหน่งงานพยาบาลว่าง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รองรับ ทำให้พยาบาลจากนอกโครงการนี้ต้องไปสมัครเป็นพยาบาลนอกพื้นที่

‘พยาบาลชายแดนใต้’ เจอปัญหาเด็กโครงการรัฐแย่งตำแหน่ง
พยาบาล ในโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน ที่ได้รับการบรรจุเป็นพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ภาพจาก http://edunews.eduzones.com/ezine/42535)

นาง สาวนัสรีซา เปิดเผยต่อไปว่า ตนเพิ่งเรียนจบคณะพยาบาลศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ทางบ้านต้องการให้บรรจุเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ไม่มีตำแหน่งว่าง เพราะทางโรงพยาบาลฯ เพิ่งบรรจุพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาล 3,000 คน ลงแทนตำแหน่งที่ว่าง

นาง สาวนัสรีซา เปิดเผยอีกว่า เพื่อนร่วมรุ่นที่จบพร้อมกัน 106 คน กระจัดกระจายไปทำงานพยาบาลในโรงพยาบาลต่างๆ ที่จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตนรู้สึกไม่ได้รับความไม่เป็นธรรม เพราะรัฐให้สิทธิกับพยาบาลจากโครงการนี้ 3,000 คน ได้รับการบรรจุก่อน

นาง สาวนัสรีซา กล่าวว่า ตนต้องการให้เพิ่มอัตราตำแหน่งพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีก ถ้ามีการเพิ่มอัตรา ตนจะกลับไปสมัครเป็นพยาบาลที่บ้าน ก่อนหน้านี้ ตนสมัครเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ที่นั่นห้ามพยาบาลมุสลิมสวมฮิญาบตามหลักศาสนาอิสลาม จึงต้องเดินทางมาสมัครเป็นพยาบาลที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากที่นี่ไม่ห้ามสวมฮิญาบ

นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า หากการบรรจุพยาบาลทั้ง 3000 อัตรา ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ รัฐบาลอาจจะแก้ปัญหาด้วยการขยายอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยใช้งบประมาณแผ่นดินส่วนอื่นมาจัดจ้าง

นางแวคอตีเยาะ เปามะ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล (รพ.สต.) ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล ได้รับพยาบาลจากโครงการนี้ 3 คน ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงทดลองงาน 6 เดือน ยังไม่สามารถประเมินคุณภาพในการปฏิบัติงานของพยาบาลจากโครงการนี้ได้

นาง แวคอตีเยาะ เปิดเผยอีกว่า ก่อนหน้านี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล มีเจ้าหน้าที่ให้บริการประมาณ 10 คน คือ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 1 คน พยาบาล 4 คน นักวิชาการ 1 คน เจ้าพนักงานสาธารณสุข 3 คน และอื่นๆ อีก 2 คน ซึ่งไม่พอต่อการให้บริการประชาชนในตำบลรูสะมิแลที่มีประมาณ 17,000 คน จึงทำให้บริการประชนได้ไม่เต็มที่ เมื่อได้พยาบาลวิชาชีพจากโครงการดังกล่าวมาเพิ่ม จึงสามารถแบ่งเบาภาระต่างๆ ในโรงพยาบาลได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานธุรการหรืองานบริการ

นาง แวคอตีเยาะ กล่าวว่า โครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโครงการที่ดี แต่ให้สิทธิในการบรรจุมากเกินไป น่าจะค่อยๆ บรรจุปีละ 100–200 คน เพราะจะทำให้วิชาชีพสุขภาพอื่นๆ ได้รับผลกระทบไปด้วย เห็นใจพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลอยู่ก่อนแล้ว บางคนทำงาน 2–3 ปี เพื่อรอบรรจุ บางคนทำงานนานถึง 10 ปี ก็ยังไม่ได้บรรจุ แต่พยาบาลในโครงการนี้ได้รับการบรรจุเลย น่าจะให้สิทธิพยาบาลที่ทำงานอยู่แล้วได้บรรจุก่อน