WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 17, 2011

มองสถานการณ์ก่อน-หลังเลือกตั้งของสื่อเว็บไซต์-เคเบิล-วิทยุชุมชน (เสื้อแดง)

ที่มา ประชาไท

16 มิ.ย.54 เวทีอภิปรายสาธารณะ “ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง” จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนาย่อยในหัวข้อเรื่อง "ความท้าทายของสื่อทีวีดาวเทียม-เคเบิล-วิทยุชุมชน และวิทยุท้องถิ่น กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง"

สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการบริหารไทยพีบีเอส ให้สัมภาษณ์ผ่านคลิปวีดิโอเพราะไม่สามารถเข้าร่วมการอภิปรายได้ โดยระบุว่า ก่อนและหลังการยึดอำนาจเกิดสื่อใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนมากจากสภาพแวดล้อมและแรงกดดันทางการเมือง แต่พัฒนาของสื่อใหม่นั้นถึงขั้น “สร้างบรรยากาศแห่งความเกลียดชัง” ให้กระแสข่าวด้านเดียว และกระตุ้นให้ใช้ความรุนแรง จะเห็นได้จากการเกิดเหตุการณ์ที่เชียงใหม่ ถนนวิภาวดี อุดรธานี ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อต้องมีความรับผิดชอบในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้

“มัน ไม่รู้จะโทษใคร สื่อที่เกิดแตกออกมาเยอะ เพราะมีการควบคุมกดดันสื่อไม่ให้แสดงความเห็น จากนั้นก็มีกระแสโต้กลับ ความรุนแรงก็มากขึ้น ต่างคนต่างยึดค่ายและถมกันเข้าไปให้รุนแรงขึ้น” สมชัยกล่าว

เมื่อถามถึงที่มาของ “สื่อชนเผ่า” ซึ่งปรากฏในบทความของสมชัยชิ้นหนึ่ง เขาระบุว่า หมายถึงเผ่าพันธุ์ทางความคิด ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์ในรวันดาที่ใช้สื่อสร้างความเป็นใหญ่ในเผ่า พันธุ์ของตนเองและกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง เทียบได้กับเวทีปราศรัยที่มีถ่ายทอดสดกันในไทย

ส่วนเรื่องการแทรกแซง สื่อนั้น เขาระบุว่ามีมาทุกยุคสมัยและจึงเป็นเหตุให้ก่อเกิด TPBS ซึ่งอันที่จริงไม่ต้องออกฎหมายตั้งTPBS ก็ได้ แต่ต้องให้สื่อทุกชนิดตั้งมาตรฐานวิชาชีพ

“ถ้าเราตั้งความคิดเพียง อย่างเดียว เป็นเจ้าลัทธิใดลัทธิหนึ่งอย่างเดียว คนอื่นขัดแย้งไม่ได้ มันเป็นสื่อเฉพาะกิจ ไม่ใช่สื่อมืออาชีพ สื่อมืออาชีพต้องมีความเป็นธรรม มีความสมดุล ให้คนเห็นต่างใช้พื้นที่เดียวกันได้”

กรรมการไทยพีบี เอส กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเกิดสื่อใหม่ในอีกแง่หนึ่งก็ได้สร้างความหลากหลาย อาจช่วยให้มาตรฐานสื่อกระแสหลักดีขึ้นด้วยซ้ำ เพราะบางสื่อจะตรวจสอบสื่อกระแสหลัก แต่ถึงแม้จะทำสื่อแบบใดก็ควรมีมาตรฐานจริยธรรมสื่อแบบเดียวกันหมด ไม่ผูกขาดความถูกต้อง ส่วนเรื่องวิทยุชุมชนนั้นเห็นว่า ควรจะสื่อสารเรื่องราวในชุมชนมากกว่าจะพูดในเรื่องระดับชาติ

กล่าว สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน สมชัยเห็นว่านอกเหนือไปจากเรื่องอำนาจรัฐที่เข้ามาควบคุสื่อแล้วยังมีปัญหา วัฒนธรรม “พอจะทำอะไรที่เป็นมาตรฐานของสื่อก็จะประสบวัฒนธรรมแบบไทยๆ เราจะโต้แย้งหรือหาข้อยุติเรื่องนี้ได้อย่างไร ผมก็ยังไม่มีคำตอบ เพราะเราก็คนไทย อยู่ในสังคมไทยและครอบงำโดยวัฒนธรรมแบบไทยๆ”

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวอ้างอิงถึงงานวิจัยของคณะที่ศึกษาเกี่ยวกับขบวนการคนเสื้อแดงใน เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อวิจัยคือเรื่องวิทยุชุมชน ที่ผ่านมาวิทยุชุมชนเสื้อแดงโดนวางเป้าให้เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดกความขัด แย้งและชักนำมวลชนไปสู่ความรุนแรง สะท้อนจากความคิดเห็นของสมชัยในคลิปวีดิโอก็จะเห็นชัดเจนว่าเป็นทัศนคติของ คนกรุงเทพที่มองเข้าไป

ปิ่นแก้วขยายความถึงวิทยุชุมชนที่ขยายตัวใน ชนบทว่า ในประเทศไทยวิทยุชุมชนทำหน้าที่หลายอย่าง แต่หลายปีที่ผ่านมามีสถานีจำนวนหนึ่งที่ผันตัวเองมาทำเนื้อหาเกี่ยวกับ ประชาธิปไตย สิทธิและเสรีภาพ พวกนี้เป็นสิ่อที่ไร้อำนาจ เป็นสื่อที่มักจะตกเป็นเป้าในการควบคุมอย่างหนักจากรัฐ สื่อสารกับสมาชิกในกลุ่มที่ถูกกดขี่จากรัฐ ถ้าจะเทียบเคียงก็ใกล้เคียงกับโบลิเวีย มากกว่าจะใกล้เคียงกับรวันดาดังที่สมชัยเทียบเคียงไว้

ใน รวันดาสื่อแบ่งเป็นสื่อยึดโยงสถาบันทางอำนาจของสังคม กับส่วนไม่ได้ยึดโยง สื่อส่วนใหญ่ที่นั่นทั้งสื่อรัฐ สื่อเอกชน เป็นสื่อที่รัฐซึ่งเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ตั้งขึ้น สร้างทัศนคติลบกับชนกลุ่มน้อย ดังนั้นจึงไม่เคยถูกแทรกแซงจากรัฐแต่กลับได้รับการสนับสนุน ช่วงสถานการณ์ตึงเครียดก็ปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังจนเกิดการฆ่าล้างเผ่า พันธุ์ คล้ายวิทยุยานเกราะในยุคหนึ่ง และยังคล้ายกับทีวีบางช่องในบ้านเราที่ทำตอนนี้ แต่การก่อกำเนิดวิทยุชุมชนในชนบทไทยขณะนี้คล้ายโมเดลในโบลิเวีย ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเป็นสื่อของกรรมการเหมืองแร่ที่แข็งแรงมากในทศวรรษ 1990 สื่อหลักถูกปิดกั้นโดยรัฐ ภายใน 15 ปีวิทยุชุมชนปีกระจายตัวรวดเร็ว ในยามปกติก็เป็นสื่อทั่วไปในชุมชน แต่ภาวะที่มีความกดขี่ เขาทำหน้าที่รวมคนในการต่อสู้ทางชนชั้น

ปิ่นแก้วกล่าวอีกว่า การจะเข้าใจว่าทำไมเกิดวิทยุชุมชนเช่นนี้ก็ต้องเข้าใจภูมิทัศน์การเมืองไทย ของชาวชนบท รัฐประหารปี 2549 ทำให้เกิดการตื่นตัวกับชาวชนบทขนานใหญ่ คนเมืองอาจยินดี แต่ชาวชนบทตั้งคำถามกับกติกา หลักการประชาธิปไตย และมีการโต้ตอบกับสื่อหลักหลายอย่าง 1. ชาวบ้านลุกมาหาสื่อทางเลือก ติดจานดำเต็มไปหมดเพื่อดูเปรียบเทียบ 2.ปฏิเสธการผูกขาดการผลิตสื่อของสื่อกระแสหลัก ผันตัวเองเป็นผู้ผลิตสื่อด้วยตัวเอง มีการใช้สื่ออย่างหลากหลายเชื่อมโยงกัน เปิดศักราชของสื่อทางเลือก เพราะคนชนบทมองว่าเขามีความรู้ทางการเมืองทัดเทียมหรืออาจจะมากกว่าคน กรุงเทพฯ

“จุดสำคัญคือตัววิทยุยึดโยงกับชุมชน มันเกิดจากคนในชุมชน จึงต้องมี accountability กับชุมชน และการสื่อสารก็ไม่ใช่ทางเดียว” ปิ่นแก้วกล่าว

เรื่องความรุนแรงกับวิทยุชุมชน เธอให้ความเห็นว่าที่เชียงใหม่มีกรณีที่ดีเจบางคนระดมคนไปทำนู่นทำนี่ วิทยุชุมชนบางแห่งมีแนวโน้มการใช้ความรุนแรง เรียกว่า “ฮาร์ดคอร์” แต่ถึงที่สุดก็พิสูจน์แล้วว่าคนไม่เอาด้วย อยู่ได้ไม่นาน แต่ที่น่าเป็นห่วงกว่าคือสื่อที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน ไม่สามารถให้ประชาชนตรวจสอบได้ สื่อนั้นมีแนวโน้มก่อความรุนแรงได้มากกว่า

ปิ่นแก้ว ยังวิพากษ์แนวคิดเรื่องมืออาชีพว่าเป็นรูปแบบโบราณ เพราะประชาชนทั้งรับและใช้สื่อเองแล้ว ไม่พึ่งพาสื่ออาชีพ กระทั่งเรียกได้ว่าประชาชนเริ่มทำหน้าที่ civilize [ทำให้มีอารยะ] สื่ออาชีพแล้ว

เธอสรุปในตอนท้ายว่า ปัจจุบันวิทยุชุมชนเปรียบเหมือน “สถาบันชุมชนทางการเมือง” ประเภทใหม่ เหมือนวัด โรงเรียน อีกทั้งหัวข้อทางการเมืองกลายเป็นหัวข้อพูดคุยในชีวิตประจำวันซึ่งนักมานุษย วิทยาไม่เคยเห็นปรากฏการณ์นี้มาก่อน มีสาเหตุมาจากภาวะคับข้องใจของสภาวะชนบทไทย ขณะที่สื่อหลักไม่ทำหน้าที่ พูดในโทนเดียวกันทั้งหมด เขาจึงลุกขึ้นมาทำเองโดยมีบุคลิกของสถานีแตกต่างกันไป

“เรื่อง hate speech อยากมองต่างมุม มันไม่ใช่เป็นแหล่งที่มาหรือก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างเดียวเสมอไป ปัจจุบัน hate speech ชอบธรรมน้อยลงเรื่อยๆ คนเดี๋ยวนี้ไม่ได้โง่...สิ่งที่น่ากลัวมากกว่าคือ Loving but manipulative speech เป็น speech ที่เนียน วางอยู่บนความรัก ความสามัคคี สร้างวัฒนธรรมบางอย่างที่ปิดบังความขัดแย้งภายใน บ่อยครั้งใช้สิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมมาปิดกั้นการใช้เหตุผล เป็นก็อกขนาดใหญ่ที่ปิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นไว้ สังคมไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมามันจึงเหมือนระเบิดออก อันนี้น่าจะเป็นหัวข้อที่ต้องนำมาคิดด้วยว่ามันนำไปสู่ความรุนแรงอย่างไร” ปิ่นแก้วทิ้งท้าย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อภิปรายโดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นคือ 1.Media Landscape เป็นอย่างไร เราพบว่ามีการขยยตัวของสื่อใหม่อย่างกว้างขวาง เปลี่ยน “สื่อที่มีอยู่ในสังคมไทย” อย่างสำคัญ การเกิดของสื่อใหม่ทลายเส้นแบ่งนี้ ไม่สามารถแบ่งแยกด้วยความเป็นมืออาชีพ ไม่มืออาชีพเหมือนเส้นแบ่งโบราณได้อีก จากสถานการณ์เช่นนี้คนบางกลุ่มเห็นดวงดาว เห็นทางเลือก ส่วนอีกกลุ่มเห็น “โคลนตรม” ทำให้เกิดความวุ่นวาย

2.สื่อใหม่มีธรรมชาติและข้อจำกัดใน ตัวเอง คือปัญหาเรื่อง “พื้นที่สาธารณะที่เป็นส่วนตัว” ขณะเดียวกันก็เป็น “พื้นที่ส่วนตัวที่เป็นสาธารณะซึ่งเป็นความขัดแย้งพื้นฐานของสื่อใหม่

3.สื่อ ใหม่ในสังคมไทยเป็นอย่างไร เวลาพูดถึงมันเรามักจะคุมถ้อยคำที่ทำให้เกิดความเกลียดชังซึ่งมีในสื่อใหม่ ค่อนข้างมาก แต่นี่คือภาพสะท้อนของความขัดแย้งที่อยู่ในสังคม เราไม่สามารถแยกความขัดแย้งในสื่อใหม่ออกจากความขัดแย้งทางการเมืองได้ ทำไมต้อง hate speech ถ้ากติกาใหญ่ทางการเมืองเป็นที่ยอมรับได้ระดับหนึ่งข้อถกเถียงในสื่อใหม่ก็ จะไม่รุนแรงแบบนี้ กติกาใหญ่ไม่สู้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมันก็ไม่แปลกที่จะเกิดการโต้ อย่างดุเดือด นอกจากนี้เราจะเห็นว่าการแสดงความเห็นตามเว็บบอร์ดต่างๆ จะเป็นขยะราว 80% เน้นอารมณ์ ไม่ใช่เหตุผลข้อมูล

4.แล้วเราจะทำ อย่างไร ต้องคิดถึงสื่อใหม่ว่าไม่ใช่เครื่องมือการประกาศเจตนารมณ์เพียงอย่างเดียว ต้องทำให้เกิดการสื่อสารให้ได้ ต้องคิดถึงข้อมูลหรือความรู้ และเป็นไปได้ไหมที่เราจะร่วมกันสร้างหลักการพื้นฐานบางอย่างที่ไม่ควรถูก ละเมิดไม่ว่ามีจุดยืนแบบใด เส้นแบ่งต่ำที่สุดคือ การลดทอนความเป็นมนุษย์ของฝ่ายอื่นๆ ซึ่งหมายความว่า ต้องมีขันติธรรม การอดทนฟังคนอื่นที่คิดไม่เหมือนกัน ควบคู่ไปกับเสรีภาพ ขณะที่ถ้าใช้กฎหมาย กฎหมายที่เข้ามาควบคุมยิ่งจะเป็นตัวบีบที่คนรู้สึกว่าถูกละเมิดจะเพิ่มความ รุนแรงที่จะโต้กลับ

“สื่อไหนก้าวข้ามเส้นไปเยอะ ก็ทำให้สื่อนั้นเหมือนหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่วางบนแผงแล้วไม่มีใครบริโภค อยากทำทำไปเลย อ่านกันแค่ 7 คนนั่นแหละ ตายไปแบบที่สังคมไม่สนใจ” สมชายกลาว

สุเทพ วิไลเลิศ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ความท้าทายของสื่อทีวีดาวเทียมและวิทยุชุมชนคือการผูกโยงกับสาถนการณ์การ เมืองที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่าสื่อเปลี่ยนโฉมหน้าไปแล้ว และสื่ออย่างวิทยุชุมชนควรใช้โอกาสนี้พิสูจน์ตัวเองว่ามีวุฒิภาวะในการทำ หน้าที่ แม้ยังไม่มีกฎหมายรองรับชัดเจน และถูกมองว่าไม่ใช่สื่อมืออาชีพก็ตาม

สุเทพยังกล่าวถึงสถานการณ์ของ วิทยุชุมชนช่วงปีทีแล้วโดยอ้างอิงงานวิจัย สำรวจระดับพื้นที่ของคปส.ว่า เป็นบรรยากาศการควบคุมสื่อใหม่ การควบคุมถ้อยคำ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับสื่อเก่า เช่น การส่งสัญญาณโดยไม่ปรากฏหลักฐานอย่างการให้เปลี่ยนถ้อยคำจากการปิดล้อมผุ้ ชุมนุม เป็น การกระชับพื้นที่ ส่วนสื่อใหม่วิทยุชุมชน เคเบิลทีวีแม้มีกฎหมายแต่ไม่สามารถให้สิทธิเสรีภาพให้ และยังไม่สามารถให้ใบอนุญาตได้ วิทยุชุมชนกว่า 6 พันกว่าสถานี ขณะนี้เพิ่งได้ใบอนุญาต 1 สถานี นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน วิทยุชุมชนถูกสั่งปิดไป 49 แห่ง เป็นวิทยุเสื้อแดง 48 แห่ง และเป็นวิทยุเสื้อเหลือง 1 แห่ง ขณะที่ในปีนี้ตั้งแต่มกรา-เมษา ถูกปิดไป 24 แห่งเป็นวิทยุเสื้อแดงทั้งหมด แม้เจ้าหน้าที่จะอ้างว่าเกี่ยวพันกับการล่วงละเมิดสถาบันแต่กฎหมายที่ใช้จับ กุมคือ พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม 2498

สุเทพให้ความเห็นว่า ในระบอบประชาธิปไตย เป็นสิทธิที่สื่อใหม่สามารถแสดงความชอบนโยบายหรือพรรคใดก็ได้ แต่ควรเปิดพื้นที่ให้คนอื่นด้วย และเป็นหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอนโยบายของพรรคการเมือง โดยเฉพาะเรื่องการแก้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับความหวังในการการตรวจสอบการเลือกตั้ง การนำสถานการณ์ในพื้นที่มาเปิดเผยนั้นวิทยุขนาดเล็กที่ผ่านมาพูดได้น้อยลง เพราะถูกควบคุม มีการเรียกไปแสดงตัวกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น บางสถานีมีเจ้าหน้าที่รัฐมานั่งฟังการจัดรายการ

สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม กรรมการผู้อำนวยการสำนักข่าวทีนิวส์ เล่าว่า ที่ผ่านมาทำงานสื่อมาหลายรูปแบบและประสบความสำเร็จ อาทิ วิทยุร่วมด้วยช่วยกันที่ปัจจุบันได้เงินสนับสนุนทั้งหมดจากสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือบริการเอสเอ็มเอสข่าวที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ส่วนตัวมองว่าสื่อไม่มีคำจำกัดความ เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คำจำกัดความที่นักวิชาการตั้งไว้แต่ต้นถูกละลายหายไปหมดด้วยเทคโนโลยี สื่อคืออะไรก็ได้ที่เป็นการสื่อสารจากคนไปถึงคน

สนธิญาณ แนะว่าคนที่มีอาชีพสื่อควรทำมาหากินให้รอด สื่อที่ชาวบ้านทำ วันนี้ไม่มีใครปิดกั้นได้ แต่เมื่อทำแล้ว ผิดกฎหมายอย่าโวยวาย กล้าทำต้องกล้ารับ พร้อมยืนยันว่าส่วนตัวตั้งแต่ทำงานมา ไม่เคยบิดเบือน ไม่เคยใช้คำหยาบ โกหก เพ้อเจ้อ เมื่อพูดเรื่องล้มเจ้า เผาบ้านเผาเมือง คนชุดดำ ล้วนมีหลักฐานว่าใครทำอะไรที่ไหนทั้งสิ้น โดยสิ่งที่เสนอพร้อมยืดอกรับหากมีการฟ้องร้อง

กรรมการผู้อำนวยการ สำนักข่าวทีนิวส์ ระบุด้วยว่า หลังเลือกตั้ง หากพรรคเพื่อไทยชนะแล้วไม่มีการนิรโทษกรรมทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่มีปัญหา แต่หากมีการนิรโทษกรรม ทีนิวส์จะออกมาต่อต้าน และให้สังคมตัดสินใจ พร้อมย้ำว่า กฎแห่งกรรมจะตรวจสอบเอง

ฉัตรชัย ตะวันธวงค์ จากเคเบิลทีวีช่องสปริงนิวส์ กล่าวถึงพัฒนาการของสื่อทีวี 4 ยุค จากยุคทีวีขาว-ดำ ซึ่งเสนอข่าวปกติ ยุคแปซิฟิกของสมเกียรติ อ่อนวิมล ที่การเสนอข่าวมีลูกเล่นขึ้น ยุคไอทีวีที่โทรทัศน์ทำข่าวสืบสวนสอบสวน และต่อมาเป็นยุคเล่าข่าว หรือยุคสรยุทธ สุทัศนะจินดา ว่า ไม่ว่าอย่างไร อิสรภาพของผู้ทำสื่อยังจำกัดอยู่ภายใต้คลื่น การกำกับดูแล กฎหมายที่กำหนดโดยรัฐอยู่

สำหรับการเกิดของสปริงนิวส์นั้น เพราะคิดว่าควรมีหลักตรงกลาง เพราะเชื่อว่าคนดูจะตัดสินเอง หลังการเลือกตั้ง สปริงนิวส์จะไม่เติมความรุนแรง โดยจะไม่เลือกข้อมูลข่าวที่รุนแรงหรือบิดเบือนใส่จอ จะรายงานตรงไปตรงมา ให้สังคมได้ใส่ข้อมูลข่าวสารเพื่อตัดสินใจ

วริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ กล่าวว่า การจะนิยามว่าอันไหนสื่อแท้สื่อเทียม เส้นแบ่งพวกนี้หายไปหมดแล้วในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หากจะนิยามถามว่าใช้ตรงไหนวัด มีคนเคยถามว่า เว็บผู้จัดการเป็นสื่อแท้หรือสื่อเทียม ถามว่าใช้อะไรวัด เว็บผู้จัดการนั้นมีผู้เข้าชม 3 ล้านไอพีต่อวัน ยูนีกไอพี 3 แสน คนรับสารจะตัดสินเองว่าควรจะเสพหรือไม่เสพสื่อไหน กรณี พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ออกมาพูดว่าสื่อนั้นมีทั้ง "สื่อมวลชน" และ "สื่อไม่มีมวลชน" เขามองว่า สื่อเดี๋ยวนี้กว้างขวางกว่ามาก คนมีทางเลือกเยอะขึ้น ส่วนตัวไม่ได้ดูข่าวทีวีภาคค่ำแล้ว เพราะมองว่าเก่าเกินไป เนื่องจากทำงานกับเว็บไซต์ และรับข่าวแบบเรียลไทม์จากแหล่งต่างๆ แล้ว นี่จึงเป็นจุดว่าทำไมวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี มีบทบาทสำคัญ

เขามองว่า คนเข้ามามีส่วนร่วมกับสื่อพลเมืองมากขึ้น ทั้งจากเหตุการณ์ 19 ก.ย.49 ปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี เข้ามาลดความสำคัญของสื่อหลักลงเรื่อยๆ ให้คนมีพื้นที่เผยแพร่ข่าวสารของตัวเอง เช่น กลุ่มรณรงค์ต่างๆ ในเฟซบุ๊ก ต่อไป วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี เอสเอ็มเอสข่าว จะต้องยึดโยงกับอินเทอร์เน็ตและเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ซึ่งมีความพยายามแก้กฎหมายทั้งจากเอ็นจีโอให้อ่อนลง และจากรัฐให้แข็งขึ้น ซึ่งจะกระทบเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยผู้มีอำนาจใช้เข้ามาควบคุมได้ง่ายขึ้น

ต่อคำถามว่า สื่อจะมีบทบาทลดความรุนแรงหลังการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นอย่างไร วริษฐ์ ตอบว่า คงไม่มีใครอยากก่อให้เกิดความรุนแรง เพราะฉะนั้นคนก็ต้องทราบว่า สื่อเองบางทีก็อยู่ในภาวะเลือกไม่ได้ บางทีคนเขียนความเห็นมา เราลบไม่ทัน เหมือนอย่างกรณีประชาไท สื่อเป็นแค่ปัจจัย แต่ทุกอย่าง mobilize ด้วยนายทุน อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ในฐานะสื่อก็ต้องรายงาน

กฤษณพงษ์ พรมบึงรำ หรือ "อ.กฤษณะ51" ดีเจสถานีวิทยุชุมชนคลื่นคนรักเชียงใหม่ 51 กล่าวถึงบทบาทในฐานะสื่อว่า ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ได้วิจารณ์การทำงานของ กกต. ซึ่งไม่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ประชาชนเลยราว กับไม่ต้องการให้คนใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งที่มีงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งถึง 3,800 ล้านบาท โดยส่วนตัวต้องไปหาข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ แล้วนำมาเผยแพร่อีกต่อ รวมถึงได้รณรงค์ให้ประชาชนไปเลือกตั้ง เพราะเชื่อว่าหากมีคนไปเลือกตั้งน้อยกว่า 70% อาจเกิดการโกงได้

กฤษณพงษ์ กล่าวเสริมว่า หลังเลือกตั้ง หากพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยซึ่งเคียงบ่าเคียงไหล่คนเสื้อแดงมาตลอดได้ รับเลือกตั้งแล้วเกิดปรากฎการณ์ที่อำนาจพิเศษเข้ามาแทรกแซง มั่นใจว่า บทบาทของสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ จะทำเหมือนก่อน 10 มี.ค.53 แน่นอน

กฤษณพงษ์ กล่าวว่า ก่อนการเลือกตั้ง กกต.ระบุว่าห้ามด่าพรรคการเมือง แต่พบว่า เอ็นบีทีกลับมีการด่ายิ่งลักษณ์ ขณะที่วิทยุชุมชน ถูกปิดมาแล้วหลายรอบ ทั้งอ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง ตราบใดที่ยังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ก็จะเกิดแบบนี้