WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 15, 2011

ประจักษ์ ก้องกีรติ: ความรุนแรงก่อนเลือกตั้ง ไม่น่ากลัวเท่าการใช้อำนาจทำลายเจตนารมณ์ประชาชน [วิดีโอคลิป]

ที่มา ประชาไท

** ดูวิดีโอคลิปด้านท้ายบทความ **

14 มิ.ย.54 ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิปรายในการเสวนาหัวข้อ “ยิ่งกว่าจำนวน: รัฐศาสตร์การเลือกตั้งไทยในสภาวะไม่แน่นอน” โดยเขาเสนอประเด็นเรื่องความรุนแรงในการเลือกตั้งของไทย โดยใช้ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของตนเอง เรื่องความรุนแรงในการเลือกตั้ง โดยย้อนไปตั้งแต่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบเป็นต้นมา รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการมอนิเตอร์หรือเฝ้าระวังการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า รูปแบบของความรุนแรงและระดับความรุนแรงเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร โดยจะมอนิเตอร์ไปจนถึงสองสัปดาห์หลังการเลือกตั้ง โดยมุ่งศึกษาความรุนแรงเชิงกายภาพ

ความรุนแรงในการเลือกตั้ง: มือปืน รถถังและการประท้วง
ประจักษ์ กล่าวว่า มือปืน รถถัง และการประท้วง ทั้งสามคำมีความหมายสะท้อนรูปแบบความรุนแรงแตกต่างกัน การมีการเลือกตั้งและมีความรุนแรงเกิดขึ้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ในประเทศไทยเท่า นั้น แต่เป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก การเลือกตั้งปกติที่เป็นสถาบันการเมืองที่เอาไว้ใช้สืบทอดอำนาจทางการเมือง โดยสันติ หลายครั้งกลับเกิดความรุนแรงและเป็นชนวนความรุนแรงเสียเอง เป็นความรุนแรงที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และนักสังเกตการณ์ทั่วโลกรวมถึงยู เอ็นจับตาเรื่องนี้เป็นพิเศษ และจัดประเภทให้เป็นความรุนแรงที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะถ้าอยากให้ประชาธิปไตยมีเสถียรภาพและยั่งยืน ต้องทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมและปราศจากความรุนแรงให้ได้เสียก่อน

การเลือกตั้งไม่ได้มีแค่การซื้อเสียง แต่ความรุนแรงเป็นปัญหาใหญ่ ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความรุนแรง คือ

1.ประเทศ ที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านขนานใหญ่ และสังคมไทยก็เปลี่ยนผ่านขนานใหญ่เช่นกัน จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงในการเลือกตั้ง
2.ประเทศที่มีประชาธิปไตยอ่อนแอหรือเปราะบาง เช่นศรีลังกา ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย
3. ประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสงครามกลางเมือง คนในสังคมยังบาดหมาง ต่อสู้กันจนบาดเจ็บล้มตาย มีความเป็นปฏิปักษ์

สังคม ไทยมีความเสี่ยงมากเพราะเข้าข่ายทั้งสามประเภท อาจจะไม่ถึงขั้นสงครามกลางเมืองอย่างที่เห็นในอิรัก อัฟกานิสถาน เคนยา แต่เราก็มีการปะทะกันจนเสียเลือดเสียเนื้อ เป็นความรุนแรงที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ การเลือกตั้งหนึ่งปีหลังผ่านความขัดแย้ง ปัญหาของเราจึงเป็นยิ่งกว่าหลายประเทศ เพราะความขัดแย้งยังไม่จบด้วย ไม่มีการลงนามสันติภาพสงบศึก ทั้งสองฝ่ายยังเผชิญหน้า ไม่คลี่คลายความจริง ไม่มีการจัดการความยุติธรรมประเทศกลุ่มเสี่ยงทั้งหลาย เกือบทั้งหมดเป็นประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น เลบานอน กัมพูชา โคลัมเบีย อิหร่าน ไอวอรี่โคสต์ อัฟกานิสถาน เราจะไม่พบสถานกาณณ์แบบนี้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่มีปัญหาที่ต้องมาประท้วงหรือมีรูปแบบนอกกติกา ไม่ว่าในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือกลุ่มยุโรป ประเทศไทยอยู่ในลิสต์กลุ่มเสี่ยง ที่มีปัญหาความรุนแรงในการเลือกตั้ง

ความรุนแรงคืออะไร
ประจักษ์ กล่าวต่อถึงความหมายของความรุนแรงว่าการข่มขู่ คุกคาม ใช้กำลังหรืออำนาจบังคับก็ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง เช่นกรณีซิมบับเว ไม่สามารถเลือกตั้งได้โดยอิสระ เพราะทหารแทรกแซงและบังคับให้เลือกให้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดี ทหารไม่ต้องมาสังหาร หรือใช้ความรุนแรง ส่วนฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งแต่ละครั้งผู้เสียชีวิตประมาณ 140-150 คน การเลือกตั้งที่ผ่านมามีเหตุการณ์สังหารหมู่ด้วยซ้ำ มีนักข่าวตายไปยี่สิบกว่าคน

ในกรณีของไทยดีกว่าประเทศอื่นๆ จำนวนมาก เพราะผู้เลือกตั้งไม่เคยตกเป็นเป้าหมายความรุนแรง นักข่าวก็ไม่ใช่เป้าหมายของความรุนแรง ที่อิหร่าน ในปี 2009 เกิดความรุนแรงเพราะผู้สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายค้านเขาเชื่อว่ามีการโกงการ เลือกตั้งแน่ๆ จึงออกมาชุมนุมประท้วงอย่างสงบในตอนแรก จนกระทั่งรัฐบาลส่งกองทัพและเจ้าหน้าที่รัฐมาปราบปราม เกิดการปะทะขึ้นจึงบานปลายไปเป็นการจลาจลและความรุนแรง แต่ความรุนแรงไม่ได้เริ่มจากผู้ชุมนุม เป็นความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง กรณีปากีสถานมีความรุนแรงปี 2007 เบนาซีร์ บุตโต เป็นนักการเมืองหญิงที่ได้รับความนิยม ถูกวางระเบิดรถหาเสียง และความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้การจัดการเลือกตั้งเลื่อนออกไปหลายเดือน และเมื่อถึงวันเลือกตั้ง มีคนออกมาใช้สิทธิน้อยมาก

เหล่านี้เป็นบทเรียนที่ชี้ใหเห็นว่าความรุนแรงก่อนการเลือกตั้งมีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง

นิยามความรุนแรงในการเลือกตั้ง
ประจักษ์ อ้างคำนิยามความรุนแรงในการเลือกตั้งว่าหมายถึง“การใช้หรือขู่ว่าใช้กำลัง บังคับ การข่มขู่หรือการใช้ความรุนแรงทางกายภาพเพื่อมุ่งหมายที่จะส่งผลกระทบต่อ กระบวนการเลือกตั้ง หรือการกระทำใดๆ ข้างต้นที่เกิดขึ้นในบริบทของการแข่งขัยชิงชัยในการเลือกตั้งเมื่อความ รุนแรงถูกใช้เพื่อส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง อาจจะเป็นการใช้ความรุนแรงเพื่อมีอิทธิพลต่อ กระบวนการเลือกตั้ง เช่น ความพยายามทำให้ผลการเลือกตั้งล่าช้าออกไป และความรุนแรงส่งผลต่อผลการเลือกตั้ง ซึ่งหมาวถึงกรณีที่ใช้ความรุนแรงเพื่อเอาชนะการแข่งขันการเลือกตั้งเพื่อตำ แหนงทางการเมืองที่มีความเข้มข้นสูสีกัน หรือเพื่อเอาชนะในการลงประชามติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง”(Sick 2008, 5-6, Fisher 2002)

สำหรับควารุนแรงมีตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งและหลังการ เลือกตั้ง ระหว่างนับคะแนน ก็อาจจะมีการประท้วง และการประกาศผลแล้ว ก็อาจจะมีการประท้วงอีกเช่นกัน “ที่ผ่านมาของไทย ยังไม่เคยต้องประสบปัญหาความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง มีบ้างในการให้ใบเหลืองใบแดง ที่ผ่านมาไม่มีปัญหาเพราะทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง แม้จะมีการประท้วงค่อนข้างสงบ เกิดขึ้นวันสองวันแล้วกสลายตัวไป ยังไม่เคยมีปัญหา ปัญหาคือก่อนการเลือกตั้ง แต่มาครั้งนี้หลายคน ทั้ง กกต., สื่อมวลชน ทหาร บอกว่าเราต้องเฝ้าระวังจับตาดูหลังการเลือกตั้ง เพราะมีการเมืองที่คุกรุ่น และมีมวลชนที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นฝักเป็นฝ่าย มีกลุ่มการเมืองชัดเจนของแต่ละพรรค หลายฝ่ายจึงเป็นห่วงว่าหลังการเลือกตังจะไม่สงบ ผมก็เห็นด้วย และเห็นว่าต้องเฝ้าระวัง และประมาทไม่ได้ แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด”

ประเภทของความรุนแรงของการเลือกตั้ง
ประจักษ์ กล่าวว่า เรื่องความรุนแรงของการเลือกตั้งนั้นส่วนใหญ่เข้าใจแบบแคบๆ คือ ยิงกัน ซึ่งเป็นความรุนแรงประเภทเดียว แต่จริงๆ แล้วอาจแบ่งความรุนแรงได้ 3 ประเภท

1. ความรุนแรงเพื่อเอาชนะการแข่งขันในการเลือกตั้ง (ระหว่างคู่แข่ง นักการเมือง หัวคะแนน โดยลอบสังหาร) ความรุนแรงของไทยเกิดขึ้นเยอะที่สุดระหว่างรณรงค์หาเสียง

2. ความรุนแรงเพื่อล้มผลการเลือกตั้ง หรือแทรกแซงการเลือกตั้ง (กองทัพ อำนาจรัฐ รัฐประหาร ตุลาการภิวัตน์)

กระทำ โดยผู้มีอำนาจรัฐโดยเฉพาะกองทัพ รูปแบบคือ การรัฐประหาร หรือใช้อำนาจอื่นๆ เช่น อำนาจตุลาการมาแทรกแซงผลการเลือกตั้งให้เบี่ยงเบน บิดเบี้ยวใปจากเจตนารมณ์ของประชาชน เช่น ปี 2549 เป็นความรุนแรงในการเลือกตั้งด้วย คือเป็นการรัฐประหารก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งไม่นาน หรือในหลายประเทศ เลือกตั้งเสร็จแล้ว ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่าฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐไม่พอใจก็มีการรัฐประหารล้ทผล การเลือกตั้งนั้น เพราะเป็นการใช้อำนาจไปบิดเบือนไปล้มการแสดงเจตนารมณ์ของประชาชน

3. ความรุนแรงเพื่อประท้วงผลการเลือกตั้ง เช่นกรณี อิหร่าน

“ผม สรุปว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในไทยยังป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งเป็นหลัก คือยิงกันระหว่างนักการเมืองที่แข่งขันกัน แต่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และมาถึงวันนี้รุนแรงน้อยกว่าที่คิด เพราะตอนแรกคนบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เดิมพันสูงจะมีการฆ่ากันแหกกราน มีมือปืนออกมาเพ่นพ่าน แต่ปรากฏว่ารุนแรงน้อยกว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมายุคประชาธิปไตยครึ่งใบ มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยรวมแล้วตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา จนถึงปี 2548 มีความรุนแรงเกิดขึ้นรวมแล้วประมาณ 400 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตที่ราว 180 คน จากการเลือกตั้งทั้งหมด 13 ครั้ง แต่ละครั้งมีผู้เสียชีวิตประมาณ 10-20 คน ซึ่งถือว่าเป็นความรุนแรงที่จำกัด”

ประจักษ์กล่าวว่า จนถึงวันนี้ความรุนแรงประเภทแรกเกิดขึ้นน้อยมาก ต้องขอบคุณ กกต. ตำรวจและสื่อมวลชน สามองค์กรนี้มีบทบาทป้องปรามความรุนแรงได้มาก ต้องนับถือว่าเอาจริงเอาจังมากและเตรียมการก่อนการยุบสภา มีมาตรการหลายอย่างที่เป็นมารตรการเชิงรุก ประกบกดดันมือปืนไม่ให้มีการทำงาน มีการเผยแพร่รายชื่อและภาพให้สื่อมวลชน และยังร่วมมือกับ กกต. ผ่านโครงการที่เรียกว่าการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ เรียกหัวคะแนนมาตกลงกันตำรวจแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่สีขาว คือไม่มีเหตุรุนแรง ไม่เสี่ยงต่อความรุนแรง พื้นที่สีเหลือง มีจุดต้องระวัง พื้นที่สีส้ม และพื้นที่สีแดง คือแข่งขันกันดุเดือดแล้วอาจจะมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สมุทรปราการ แต่ถึงวันนี้พื้นที่สีแดงมี 6-7 เขต และจากการทำงานของตำรวจหลายพื้นที่ที่เคยแดง ก็เปลี่ยนมาเป็นส้มหรือเหลือง

นอก จากนี้สื่อมวลชนยังให้ความสำคัญมาก เกาะติดตลอด รายงานแบบปัจจุบันทันด่วน และติดตามความคืบหน้าด้วย บางกรณีทำให้คนตกอกตกใจด้วยซ้ำ

“ในความ รุนแรงประเภทแรกผมจัดเป็นโซนสีเหลือง คือไม่รุนแรงถึงขั้นที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เราไม่ได้ประสบปัญหาที่ร้าบแรงขนาดนั้น แต่เป็นความรุนแรงระดับที่ควบคุมได้”

“ประเภทที่สอง ผมคิดว่าน่ากลัวกว่า คือความรุนแรงที่ล้มผลการเลือกตั้ง โดยกองทัพหรืออำนาจพิเศษ หรืออำนาจที่เข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งครั้งนี้ และหากมีการใช้ก็จะนำปสู่คงวามรุนแรง”

“ประเภทที่สาม คือการประท้วงผลการเลือกตั้ง อยู่ดีๆ คนจะมาประท้วงผลการเลือกตั้ง โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ จะขาดความชอบธรรม เพราะสังคมไทยหมดความอดทนกับบรรยากาศที่มีการชุมนุมประท้วงวุ่นวาย แต่การชุมนุมประท้วงมันจะเกิดต่อเมื่อมีเงื่อนไข คือ เมื่อมีการใช้อำนาจบางอย่างเข้ามาแทรกแซงผลการเลือกตั้งทำให้มันไม่เป็นไป ตามเจตนารมณ์ของประชาช นความรุนแรงประเภทที่สามจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความรุนแรงประเภทที่สอง จุดที่เราจะต้องช่วยกันป้องกันทั้งสังคมโดยทั่วไปและสื่อมวลชน คือต้องเฝ้าระวสังไม่ให้มีความรุนแรงประเภทที่สองเกิดขึ้น”

“อย่าไปตกใจเกินเหตุกับการประท้วงหลังการเลือกตั้ง ถ้าไม่มีอะไรก็เป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบ”

ประจักษ์ กล่าวสรุปว่า ความรุนแรงก่อนการเลือกตั้งของไทยไม่น่ากลัวอย่างที่คิดตราบเท่าที่ไม่มีการ ใช้อำนาจรัฐมาบิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนในการเลือกตั้ง เขากล่าวด้วยว่า การเลือกตั้งของไทยครั้งล่าสุดมีประชาชนไปใช้สิทธิถึง 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ แม้แต่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนว่า ประชาชนไทยไม่ได้ปฏิเสธการเลือกตั้ง

สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อความ รุนแรงคือ พื้นที่ที่ไม่ใครผูกขาด มีการแข่งขันและขัดแย้งสูง จังหวัดที่มีซุ้มมือปืนเยอะอาจจะไม่มีความรุนแรงเสมอไป เพราะเขาส่งออกไปทำงานนอกพื้นที่ จังหวัดที่มีความรุนแรงคือจังหวัดที่มีความขัดแย้งเยอะๆ สำหรับสามจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ได้รุนแรงมากกว่าจังหวัดอื่นๆ

ภูมิภาคที่รุนแรงที่สุดคือ กลาง ใต้ และตะวันออก โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงและความเสี่ยงต่อความรุนแรงมีดังนี้

เหนือ: แพร่ เชียงราย (เชียงใหม่)
ตะวันตก: กาญจนบุรี ราชบุรี
อีสาน: โคราช บุรีรัมย์
กลาง: ลพบุรี พิจิตร นครปฐม นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สระบุรี กรุงเทพฯ
ตะวันออก: ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา
ใต้: นครศรีธรรมราช นราธิวาส ยะลา พัทลุง สงขลา

“ผม ไม่นับการทำลายป้าย มีทุกจังหวัด เอาเฉพาะจังหวัดที่ถึงขั้นลงไม้ลงมือในการยิงหรือปาระเบิด หรือชกต่อยกันทะเลาะวิวาท จนถึงวันนี้มีเหตุการณ์ 24 เหตุการณ์ เสียชีวิต 8 ราย เจ็บ 9 ราย ซึ่งบางกรณีก็อาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว” ประจักษ์ให้ข้อมูลความรุนแรงจากการเลือกตั้งครั้งนี้

“ความรุนแรงจาก การเลือกตั้งครั้งนี้ น่ากลัวน้อยกว่าความรุนแรงจากการล้มผลการเลือกตั้ง ถ้าไม่มีอำนาจพิเศษเข้ามาแทรกแซง ผมเชื่อว่าจะไม่มีการประท้วง และอยากเชิญชวนสังคมไทยว่าอย่าปฏิเสธการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งจะเป็นประตูไปสู่การแก้ไขปัญหาโดยสันติ ถ้าใครไปปิดประตูบานนี้ ผมคิดว่าคนนั้นจต้องรับผิดชอบในการทำให้เกิดความรุนแรงในสังคมไทย ก่อนที่จะเกิด Failed State มันจะเกิด Failed Election ก่อน”ประจักษ์กล่าว