ที่มา ประชาไท
โพลล์ ไม่ได้ทำมาเล่นๆ แต่บางครั้งก็ผิดพลาดได้ ..วิเคราะห์บทเรียนความคลาดเคลื่อนของ “โพลล์” ก่อนการเลือกตั้ง 2550 สาเหตุ-ปัจจัย และสมมติฐานว่าด้วยการสร้างโพลล์ให้เป็นเครื่องชี้นำนั้นอาจจะเป็นผลร้ายต่อ “สำนักวิชาการ” ที่โพลล์เหล่านั้นสังกัดอยู่ และหากโพลล์ก่อนการเลือกตั้งปี 2554 นี้จะ “แม่นยำขึ้น” มีปัจจัยใดบ้าง
0 0 0
ประเด็น การโจมตีเรื่องการจัดทำและเผยแพร่ผลโพลล์ ถูกกล่าวขวัญถึงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผลโพลล์ก่อนการเลือกตั้งในครั้งนี้ไม่เป็นใจให้กับคนที่เชียร์พรรคประ ชาธิปัตย์และฝ่ายอนุรักษ์นิยม นั่นคือโพลล์หลายสำนักได้ประเมินว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้
ซึ่ง การออกมาโจมตีในครั้งนี้ก็มีน้ำหนักพอสมควร เมื่อย้อนไปดูการทำโพลล์ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปปี 2550 ที่โพลล์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ผิดอย่างล็อคถล่มว่า พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถเอาชนะพรรคพลังประชาชนได้ แต่ผลการเลือกตั้งกลับออกมาตรงกันข้าม
ในการเลือก ตั้งครั้งนี้เราจะได้เห็นสิ่งนอกเหนือจากการที่พรรคการเมือง ขับเคี่ยวอย่างดุเดือดเพื่อไปถึงเป้าหมายสูงสุดในวันเลือกตั้ง นั่นก็คือการแข่งขันกันของสำนักโพลล์ต่างๆ ที่พยายามขับเคี่ยวเพื่อ “รักษา” ความเป็นโพลล์คุณภาพ และ “แก้หน้า” จากการทำนายที่ผิดพลาดครั้งใหญ่เมื่อการเลือกตั้งในปี 2550
บทเรียนความคลาดเคลื่อนของ “โพลล์” ก่อนการเลือกตั้ง 2550
รามคำแหงโพลล์: ภาพลักษณ์นักการเมืองไทยในสายตาประชาชน (30 ส.ค. 2550)
กรุงเทพโพลล์: ทิศทางการเมืองไทย หลังกำหนดวันเลือกตั้ง (4 ก.ย. 2550)
กรุงเทพโพลล์: การเลือกตั้งครั้งใหม่ในสายตาเยาวชน (19 ก.ย. 2550)
สวนดุสิตโพลล์: ผู้สมัคร ส.ส.” แบบไหน “พรรคการเมือง” แบบใด ที่ “คนไทย” อยากเลือก (22 ต.ค. 2550)
รามคำแหงโพลล์: ความเชื่อเรื่องตัวเลขกับความรู้ด้านการเลือกตั้ง (12 พ.ย. 2550)
สวนดุสิตโพลล์: ความนิยมต่อพรรคการเมือง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (12 พ.ย. 2550)
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: คนกรุงเทพฯ กว่าครึ่งยกให้อภิสิทธิ์เป็นนายก และเกินครึ่งคิดว่านายกอาจจะไม่ใช่หัวหน้าพรรคก็ได้ (13 พ.ย. 2550)
กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม (สำรวจครั้งที่ 1) (22 พ.ย. 2550)
เอแบคโพลล์: สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนและบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 (6 ธ.ค. 2550)
เอ แบคโพลล์: ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 (11 ธ.ค. 2550)
กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม (สำรวจครั้งที่ 2) (13 ธ.ค. 2550)
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: การเมืองไทยอยากได้ใครเป็นนายก (13 ธ.ค. 2550)
โดย มี 9 โพลล์ชี้เป็นผลบวกว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่ง และอีก 2 โพลล์ชี้เป็นผลบวกว่าพรรคพลังประชาชนจะได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่ง ส่วนอีกหนึ่งโพลล์เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการ เมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 โดยโพลล์ที่คาดการณ์ได้ถูกต้อง 2 โพลล์นั้นมี
สวนดุสิตโพลล์ (เผยแพร่เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2550) ระหว่างวันที่ 1-10 พฤศจิกายน 2550 ทำการสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 4,410 คน (กทม. 1,217 คน 27.60% ตจว. 3,193 คน 72.40%)
เอแบคโพลล์ (เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2550) ทำการสำรวจ 20 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2550 ทำการสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้มี สิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ และแกนนำ อบต./อบจ. ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง ประชาชนจำนวน 7,589 ตัวอย่าง และแกนนำชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 2,109 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 9,698 ตัวอย่าง
ทั้งนี้สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของ “โพลล์” ก่อนการเลือกตั้ง 2550 ได้ดังนี้
จำนวนการสุ่มตัวอย่าง
เมื่อ นำสองโพลล์ที่คาดการณ์ได้ถูกต้องเทียบกับโพลล์อื่นๆ พบว่าปัจจัยที่ทำให้โพลล์นี้คาดการณ์แม่นยำมากกว่าก็คือการกระจายการสุ่ม ตัวอย่างมากกว่าโพลล์อื่นที่มีการกระจายการสุ่มตัวอย่างไม่ถึง 2, 000 ชุด (โพลล์ที่คาดการณ์ได้ถูกต้องมีการกระจายถึง 4,410 ชุด และ 9,698 ชุด)
ขาดการสำรวจอย่างต่อเนื่อง-สม่ำเสมอ
นอก จากนี้ยังพบว่าในขณะนั้นยังขาดการทำโพลล์อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งระยะเวลา 4 เดือน (30 สิงหาคม – 13 ธันวาคม 2550) มีโพลล์ที่ระบุชื่อหัวหน้าพรรคการเมืองหรือพรรคการเมืองที่เกี่ยวโยงกับการ คาดการณ์ผลการเลือกตั้งเพียง 12 โพลล์
สมมติฐานเรื่องการประเมินผิดพลาดเนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองในขณะนั้น
1. สมมติที่ว่าการกระจายตัวอย่างให้ผู้กรอกโพลล์ ผู้กรอกโพลล์นั้นอาจให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเนื่องจากสถานการณ์ ทางการเมืองที่พึ่งเกิดการรัฐประหาร มีความเกรงกลัวต่ออำนาจรัฐในการให้ข้อมูลแก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีการลงรายละเอียดสูง (เช่น โพลล์ หรือแบบสอบทางจากฝ่ายความมั่นคง เป็นต้น) แต่การลงคะแนนเลือกตั้งที่เป็นการลงคะแนนลับในคูหาอาจจะตัดสินใจอีกแบบ
2. สมมติฐานที่ว่าการกระจายตัวอย่างให้ผู้กรอกโพลล์ ผู้กรอกโพลล์นั้นอาจจะเล่นบทบาทผู้ประเมินความเป็นไปได้ทางการเมืองว่าจะมี แนวโน้มไปทางไหน (และโพลล์ของสำนัก ที่ผิดพลาดที่กระจายแบบสอบถามได้น้อย อาจจะเลือกผู้ทำโพลล์แบบนี้ ที่ภาษาชาวบ้านเรียก “คอการเมือง” หรือ “เซียนการเมือง” ) โดย “คอการเมือง” หรือ “เซียนการเมือง” ได้ประเมินภาพรวมจากผลการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญปี 2550 และอำนาจรัฐในมือ คมช. ในตอนนั้นที่ดูเหมือนว่าจะมีประโยชน์แก่ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรค พลังประชาชน
สมมติฐานเรื่องความพยายามชี้นำด้วยผลโพลล์
การ เผยแพร่โพลล์อาจจะเป็นเครื่องจูงใจให้ผู้รับรู้สารมีอารมณ์ร่วมไปใน ทางใดทางหนึ่งเช่นเดียวกับการเผยแพร่ข่าวสารโดยทั่วๆ ไปเกี่ยวกับพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้ง (เรียกคะแนนสงสารให้กับพรรคการเมืองที่ผลโพลล์ไม่ค่อยดี หรือสร้างความมั่นใจให้คนลงคะแนนพรรคที่น่าจะชนะการเลือกตั้ง – เป็นไปได้ทั้งสองทาง)
ส่วนการพยายามชี้นำอย่างเป็นระบบตามทฤษฏีสมคบคิดนั้น (เมคโพลล์เข้าข้างพรรคการเมืองที่ตนเองเชียร์และเผยแพร่ต่อสาธารณชน) เชื่อว่าพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง หน่วยงานความมั่นคงต่างๆ อาจจะทำไว้สองชุด คือผลโพลล์ที่เป็นจริงที่ใช้สำหรับประเมินและวางแผนกลยุทธ์ การเลือกตั้ง และผลโพลล์หลอกที่นำมาข่มคู่แข่งหรือชี้นำประชาชน
ทั้ง นี้ประเด็นนี้ถูกนำมาโจมตีการทำโพลล์เกือบทุกครั้งแม้แต่ในการ เลือกตั้งปี 2550 ซึ่งถึงแม้ในขณะนั้น สื่อ สำนักวิชาการต่างๆ มีทัศนคติที่ไม่สู้จะดีนักต่อพรรคพลังประชาชน (เอ แบคโพลล์หนึ่งในสองสำนักโพลล์ที่คาดการณ์ถูกว่าพรรคพลังประชาชนจะชนะเลือก ตั้ง ก็เคยถูกฝ่ายคนที่นิยมชมชอบพรรคพลังประชาชนโจมตีหลายครั้งเช่นกันก่อนการ เลือกตั้งปี 2550)
แต่ สมมติฐานนี้อาจจะไม่มีน้ำหนักเท่าไรนัก เพราะว่าอาจจะเป็นผลร้ายต่อ “สำนักวิชาการ” ที่โพลล์เหล่านั้นสังกัดอยู่ และไม่คุ้มค่าต่อการใช้โพลล์เป็นเครื่องมือของฝ่ายใดๆ “ในระยะยาว” ที่การทำโพลล์ยังจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในภาคธุรกิจ และภาคการเมือง สถาปนาเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอีกแขนงเช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยที่ พัฒนาแล้ว
Bottom Line
ปัจจัย ง่ายๆ ของโพลล์ที่จะทำนายผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 นี้ได้อย่างแม่นยำ จะต้องมีการกระจายการสุ่มตัวอย่างไปสู่กลุ่มประชาชนที่หลากหลาย (ระวังพวกเซียนการเมือง) และต้องทำการสำรวจอย่างต่อเนื่อง-สม่ำเสมอ เป็นระยะๆ และสำหรับคนอ่านโพลล์ นอกจากการดูผลโพลล์เพียงอย่างเดียวแล้ว ภาคผนวกที่แสดงถึงวิธีการระเบียบวิธีวิจัยก็สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการประเมิน ความน่าเชื่อถือของโพลล์นั้นๆ