WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 18, 2011

เจรจา–ยุติธรรม–กระจายอำนาจ นโยบายที่อยากเห็นของผู้นำสายปอเนาะ

ที่มา ประชาไท

สัมภาษณ์ 3 ผู้นำศาสนาอิสลามสายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อความเห็นต่อนโยบายพรรคการเมืองต่างๆ ที่กำลังหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

อับดุลเลาะ หะยียามา

นายอับดุลเลาะ หะยียามา ผู้จัดการโรงเรียนนะห์ฎอตุลซูบาน หรือปอเนาะปือดอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในฐานะนายกสมาคมปัญญาชนมุสลิมชายแดนใต้ เปิดเผยว่า สิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องทำอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือการผลักดันการพูดคุยเจรจาเป็นลำดับแรกกับฝ่ายก่อความไม่สงบ เพราะที่ผ่านมาจะได้เห็นว่า รัฐได้ทุ่มทั้งกองกำลังและงบประมาณมาอย่างมโหฬารเพื่อแก้ปัญหา แต่กลับไม่มีอะไรดีขึ้น จะเรียกว่าพูดคุยหรือเจรจาก็แล้วแต่ แต่รัฐต้องถามฝ่ายต่อต้านต้องการอะไร

“การเจรจาเป็นสิ่งที่รัฐบาล ใหม่ต้องทำเป็นสิ่งแรก เพราะกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐก็เปรียบเสมือนคนที่ไม่ชอบอาหารที่รัฐเคยทำให้กิน รัฐจึงต้องถามเขาว่า เขาอยากกินอะไร ไม่ใช่ไปทำอาหารมาให้ แล้วเขาก็ไม่ยอมกินอีก ปัญหามันก็เกิดขึ้นไม่จบ” นายอับดุลเลาะ กล่าว

นาย อับดุลเลาะ กล่าวว่า ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจตามที่พรรคการเมืองต่างๆ นำเสนอเป็นนโยบายนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่จะมาช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบได้ อย่างเช่น “นครปัตตานี” ของพรรคเพื่อไทย ที่จะให้อำนาจคนในพื้นที่ปกครองเอง

“ส่วนทบวงกิจการจังหวัดชายแดนภาค ใต้ของพรรคมาตุภูมิ ก็ไม่มีอะไรใหม่ เพียงแต่เป็นการตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพิ่ม ส่วนการสานต่อศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีการเกณฑ์คนมาเป็นสภาที่ปรึกษาก็ไม่มีอะไรมากกว่าเดิม”

นายอับ ดุลเลาะ กล่าวต่อไปว่า ส่วนประเด็นความยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จำเป็นต้องมีการยกเครื่องกระบวนการยุติธรรมใหม่ทั้งหมด คือ ต้องให้มีการปฏิบัติให้เท่าเทียมกันทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ การลงโทษคนทำผิดต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ฮัสซัน ดาตู

นายฮัสซัน ดาตู โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ หรือปอเนาะมลายูบางกอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในฐานะรองนายกสมาคมศิษย์เก่าต่างประเทศจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็นจากรัฐบาลชุดใหม่ คือการให้คนในพื้นที่เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ และถ้าเป็นไปได้อยากเห็นพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของคนในพื้นที่ อย่างเช่น พรรคประชาธรรม เข้ามาเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา

นายฮัสซัน กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายการปกครองในรูปแบบพิเศษ นครปัตตานี ของพรรคเพื่อไทย ส่วนตัวเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะจะให้คนในพื้นที่ได้บริหารกันเองก็เหมือนกรุงเทพมหานครหรือเมืองพัทยา โดยการเลือกตั้ง

“การตั้งนครปัตตานีของพรรคเพื่อไทย เป็นนโยบายที่ดีในตอนนี้ แต่ยังไม่ดีที่สุด บางครั้งมันอาจดูเหมือนความเพ้อฝัน แต่ถ้าทำได้ก็จะดีที่สุด” นายฮัสซัน กล่าว

นายฮัสซัน กล่าวว่า ส่วนการสานต่อ ศอ.บต.ของพรรคประชาธิปัตย์ และการตั้งทบวงกิจการจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคมาตุภูมิ ต่างก็เป็นนโยบายดีทั้งคู่ แต่สิ่งสำคัญที่สุด อยู่ที่ความจริงใจในการแก้ปัญหา

นายฮัสซัน กล่าวต่ออีกว่า เรื่องที่ดีของ ศอ.บต.คือการให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา คือ การตั้งสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาจากตัวแทนภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ จำนวน 49 คน ถือเป็นสิ่งที่ดี ถ้าความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษานี้ถูกนำมาใช้จริง

นายฮัส ซัน กล่าวด้วยว่า ส่วนบางพรรคที่จะให้มีการยุบ ศอ.บต.หลังจากได้รับเลือกตั้งแล้วนั้น กังวลว่า ยุบแล้วจะไม่มีหน่วยงานใดมารองรับ ซึ่งจะทำให้ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนา ดังนั้นจึงต้องคิดถึงหน่วยงานที่จะมาแทนที่ด้วย

นายฮัสซัน กล่าวต่อไปว่า ในประเด็นความยุติธรรมในพื้นที่ที่มีอยู่ในตอนนี้ ถือว่าดีกว่าปีที่ผ่านๆ มา แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจมากนัก ดังนั้นรัฐบาลใหม่ยังต้องปรับปรุงและพัฒนาในเรื่องกระบวนการยุติธรรมอีกมาก

นาย ฮัสซัน กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ เพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนมาก เพราะความสูญเสียที่เกิดขึ้นมาตลอดระยะ 7 ปี มันเกินพอแล้ว โดยอาจจะใช้คำว่าพูดคุยหรือเจรจาก็แล้วแต่ แต่ต้องมีการพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหา

“การใช้อาวุธในการต่อสู้ ไม่ใช่ความสำเร็จของทุกฝ่าย สุดท้ายต้องจบด้วยการนั่งโต๊ะมาพูดคุยเจรจากัน เหมือนกับพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่มีปัญหาความขัดแย้งกัน ดังนั้นทุกฝ่ายทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายต่อต้านรัฐ ก็ต้องลดความแข็งกร้าวลง แล้วหันหน้ามาคุยกัน” นายฮัสซัน กล่าว

นายฮัสซัน กล่าวด้วยว่า อีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อ คือ สานต่อนโยบายเรียนฟรี 15 ปี เพราะช่วยแบ่งเบาภาระแก่ผู้ปกครองนักเรียนได้มาก

นายอาดุลวาฮับ ดาตู โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดอัลอามีน บ้านพงยือไร ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และอุสตาซ(ครูสอนศาสนาอิสลาม)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งผลักดันเรื่องการแก้ปัญหาความยุติธรรมในพื้นที่ เป็นสิ่งแรก โดยเฉพาะหลายคดีในอดีตที่ยังเป็นที่ค้างคาใจของคนในพื้นที่ เช่น คดีกรณีตากใบ

“สิ่งเหล่านี้ต้องเคลียร์ให้ได้ ต้องให้ประชาชนเกิดความสบายใจ เพราะก่อนที่จะพูดถึงเรื่องอื่น ต้องทำเรื่องที่ผ่านมาให้เรียบร้อยก่อน” นายอาดุลวาฮับ กล่าว

นายอา ดุลวาฮับ กล่าวอีกว่า อยากให้ ส.ส.เข้าไปดูแลให้กำลังใจผู้ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตัวในคดีความมั่นคงด้วย เพื่อให้เขารู้สึกว่า ผู้แทนของเขาไม่ได้ทอดทิ้ง ส่วนเรื่องการกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับความไม่สงบ ให้ยึดตามหลักฐานไม่ใช่ยึดจากความรู้สึกหวาดระแวง

นายอาดุลวาฮับ กล่าวด้วยว่า ในเรื่องเขตปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษที่มีบางพรรคเสนอเป็นนโยบายในการหา เสียงนั้น ต้องให้มีความชัดเจนในหลายเรื่องว่ามีความพิเศษอย่างไร เช่น ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร เพราะวันนี้ประชาชนไม่รู้จะเชื่อใคร เพราะที่ผ่านมา นักการเมืองส่วนใหญ่ มักพูดอย่างเดียวแต่ทำไม่ได้

“นโยบายของแต่ละพรรคไม่ควรเป็นแค่ เครื่องมือหาเสียง แต่ควรพูดจริงทำจริง เพราะถ้าทำไม่ได้ตามที่พูด ก็เท่ากับเป็นการหลอกลวงประชาชน เรื่องเขตปกครองพิเศษมีการพูดกันมานานแล้ว แต่ก็ทำไม่ได้สักที ถ้าทำได้จริงก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่คนในพื้นที่จะมีสิทธิบริหารจัดการ พื้นที่ด้วยตัวเอง” นายอาดุลวาฮับ กล่าว

นายอาดุลวาฮับ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการพูดคุยเจรจากับฝ่ายขบวนการนั้น เห็นด้วยอยู่แล้ว เพราะทุกที่ทั่วโลกที่มีความขัดแย้ง ปัญหาก็จบลงด้วยการเจรจา ไม่มีที่ไหนในโลกที่ต้องต่อสู้ด้วยอาวุธไปตลอด

“ประชาชนก็สนับสนุน การเจรจาอยู่แล้ว เพราะทุกคนก็ต้องการสันติภาพ อยากได้ความสงบสุขกลับคืนมา แต่โจทย์ก็คือใครที่จะมาเป็นตัวแทนในการเจรจา คนที่จะมามานั่งโต๊ะเจรจากันนั้น เป็นตัวแทนของทั้งฝ่ายรัฐหรือฝ่ายขบวนการจริงหรือไม่ มีอำนาจในการสั่งการหรือไม่” นายอาดุลวาฮับ กล่าว