WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 24, 2011

รัฐนาวา"ปู1" พิสูจน์"แม้วคิด"?

ที่มา ข่าวสด


บรรยากาศการเมืองผ่อนคลายทันที หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นส.ส.เต็มตัว

สอดรับกับอารมณ์คนส่วนใหญ่ที่สะท้อนความคิดเห็นผ่านเอแบคโพล กว่าร้อยละ 80 อยากให้โอกาสน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศไทย

และกว่าร้อยละ 71 ที่รู้สึกงง สงสัย ไม่ชอบ ไม่พอใจ หลังจากที่ กกต.กักชื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เอาไว้ในการประกาศรับรองส.ส.ล็อตแรก

ทั้งยังเกรงกลัวไปไกลว่าถ้าหาก กกต.ไม่รับรองทั้ง 2 คน อาจเกิดปัญหาความรุนแรงทางการเมืองในระดับมากถึงมากที่สุด

ดังนั้น จึงไม่แปลกเมื่อรู้ข่าวการพิจารณา "ขยักสอง" กกต.ยอมปล่อยทั้ง "ยิ่งลักษณ์-อภิสิทธิ์" เข้าสภาไปก่อน ส่วนจะมีประเด็นให้ต้องตามสอยกันทีหลังหรือไม่ ต้องติดตามตรวจสอบกันต่อไป แต่เท่านี้ก็ทำให้หลายคนถอนใจด้วยความโล่งอก

ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถึงจะพ้นบ่วง กกต.มาได้ แต่ไม่ได้แสดงอาการดีใจจนออกนอกหน้า เพราะยังต้องเกรงใจว่าที่ส.ส.ของพรรคอีกจำนวนมากที่ยังโดนกักอยู่ ยังไม่ทราบชะตากรรม

โดยเฉพาะในส่วนแกนนำคนเสื้อแดง ที่ในการพิจารณารับรอง "ขยักสาม" กกต.ยอมปล่อยออกมาก่อนแค่ 8 คน อาทิ น.พ.เหวง โตจิราการ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นายวิเชียร ขาวขำ เป็นต้น

ขณะที่ยังเหลืออีก 4 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นแกนนำคนสำคัญ คือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายพายัพ ปั้นเกตุ และนายการุณ โหสกุล ยังต้องลุ้นต่อ "ขยักสี่"

ในจังหวะเวลาที่เริ่มกระชั้นเข้ามา กกต.เหลือเวลาอีกแค่ 1 สัปดาห์ที่จะพิจารณารับรองส.ส.ให้ครบร้อยละ 95 หรือ 475 คน ให้สามารถเปิดประชุมสภาสมัยสามัญได้ทันตามกำหนด 30 วันหลังเลือกตั้ง

เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าตามระบบต่อไปได้



ตามหลักการนำพาประเทศเดินไปข้างหน้า

หลังจาก กกต.ดำเนินการรับรองส.ส.ครบตามจำนวนที่กำหนดแล้ว ก็จะมีการเปิดประชุมสภาเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อเลือกได้แล้วประธานจะเป็นผู้กำหนดวันประชุมสมาชิกนัดประวัติศาสตร์ เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ก่อนเข้าสู่กระบวนการที่ประธานสภาจะนำชื่อผู้ได้รับโหวตเป็นนายกฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นทางการ

จากนั้นจึงจะถึงขั้นตอนการฟอร์มคณะรัฐบาล จัดวางคนลงในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากการกำหนดโฉมหน้าบุคคลที่จะมาเป็นรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง

นอกจากจะเป็นเครื่องวัดกระแสศรัทธาประชาชนต่อรัฐบาลแล้ว พรรคแกนนำจะต้องจัดสรรผลประโยชน์อำนาจทั้งในส่วนของพรรคตนเองและพรรคร่วม รัฐบาลอย่างสมดุล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านเสถียรภาพในอนาคต

อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องปกติทางการเมืองภายใต้ความเป็น "รัฐบาลผสม" ประกอบไปด้วย 5-6 พรรคการเมือง ที่การจัดแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรีไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถจัดทำให้ลงตัวได้ด้วยสูตรคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว

อีกทั้งการที่พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ มีส.ส.มากกว่า 260 คน ยิ่งทำให้การจัดแบ่งผลประโยชน์ภายในมีความสลับซับซ้อนยุ่งยากมากกว่าพรรค เล็กที่มีส.ส.ไม่กี่เสียง

นอกจากนี้จุดที่ใครต่อใครหลายคนจับตามองไม่ว่าจะด้วยความเป็นห่วง หรือต้องจับผิดก็แล้วแต่ คือบทบาทครอบงำของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อการจัดทำโผ ครม."ยิ่งลักษณ์ 1"

เพราะถึงเจ้าตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์จะปฏิเสธหลายครั้งว่า การจัดโผ ครม.ทำกันในเมืองไทย โดยผ่านการพิจารณากลั่นกรองของคณะผู้บริหารพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับพ.ต.ท.ทักษิณ

แต่การปฏิเสธของว่าที่นายกฯ หญิง กลับสวนทางกับกระแสข่าวที่ออกมาตลอดเช่นกันว่า มีสมาชิกหลายคนในพรรคพยายามต่อสายตรงถึงพ.ต.ท.ทักษิณ และคนใกล้ชิดระดับเครือญาติ

เพื่อทวงบุญคุณวิ่งเต้นให้ได้รับตำแหน่งกันจนฝุ่นตลบทั้งพรรค



ข่าวคราวความคืบหน้าในการจัดตั้ง ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 ที่มีชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาพัวพัน

ทำให้ประชาชนเริ่มไม่แน่ใจว่าจะเป็นจริงในทางปฏิบัติหรือเป็นแค่ข่าวปล่อย ให้ฟังดูดีเท่านั้น ต่อกรณีที่มีข่าวออกมาก่อนหน้าว่าพ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้ภาพลักษณ์รัฐนาวา "ยิ่งลักษณ์ 1" วางน้ำหนักไปที่ประสิทธิภาพการทำงาน

เพื่อให้เข้ามาดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ หลักๆ คือการนำความสมานฉันท์ปรองดองเข้ามาแทนที่ความขัดแย้งแตกแยกภายในสังคมไทย แก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้านให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว

อีกทั้งโฉมหน้ารัฐมนตรีที่ออกมาสังคมต้องให้การยอมรับ อย่างน้อยเสียงร้อง "ฮ่อ" ต้องดังกว่าเสียงร้อง "ยี้" มากกว่าเน้นการจัดเก้าอี้รัฐมนตรีในลักษณะ "ต่างตอบแทน" ให้ใครคนใดคนหนึ่ง

ถึงประชาชนมากกว่าร้อยละ 80 จะยืนยันผ่านโพลว่าอยากเห็นน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี และไม่พอใจ กกต.ที่ไม่ยอมประกาศรับรองผลให้เป็นส.ส. แม้ในที่สุดจะประกาศรับรองไปแล้วก็ตาม

แต่สิ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในตัวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการเลือกตั้ง

เป็นความนิยมทั้งที่หลายคนยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำไปว่านโยบายต่างๆ ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทยเคยประกาศไว้ตอนหาเสียง

ไม่ว่าปรับขึ้นค่าแรงรายวัน 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท เลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แจกแท็บเล็ตให้เด็กนักเรียน บัตรเครดิตเกษตรกร ฯลฯ เหล่านี้จะทำได้จริงหรือไม่

กระแสสนับสนุนจากประชาชนท่วมท้นเช่นนี้ เป็นโอกาสทองที่นักการเมืองน้อยคนจะได้รับ

จากนี้ไปขึ้นอยู่กับว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะนำโอกาสทองที่ประชาชนมอบให้นี้ไปใช้อย่างไร