WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 27, 2011

ทูตทั้งโลก กกต. 5 คน จะเชื่อใคร? อย่ายื้อ!!จนคน30ล้านเบื่อหน่าย! "เก้าอี้กลาโหม”

ที่มา thaifreenews

โดย bozo






ปรองดอง... คำสั้นๆ แต่ยังคงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
บาดแผลทางการเมือง ที่เกิดจากการทำรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันนี้ยังคงกลัดหนอง
บทเรียนครั้งสำคัญที่สุดของกองทัพ ผ่านมาจากการกระทำของ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
ในฐานะหัวหน้าคณะ คมช. เมื่อวันนั้น ได้สะท้อนชัดเจนว่า
ในยุคที่ภาคประชาชนมีการแสดงออกและมีการตรวจสอบทางการเมืองมากยิ่งขึ้น
การใช้อำนาจกองทัพ การใช้กระบอกปืน และท๊อปบู้ท ไม่ได้สามารถที่จะตรึงทุกอย่างให้ยอมจำนน
และสงบเงียบเหมือนกับเมื่อ 40-50 ปีก่อนอีกต่อไปแล้ว
ความจริงพลังประชาชนได้เริ่มสะท้อนให้ฝ่ายกุมอำนาจกองทัพ
ฝ่ายที่กุมอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง มาให้เห็นตั้งแต่ครั้งเมื่อ พฤษภาทมิฬ 2535 แล้ว
ดังนั้นการทำรัฐประหารในปี 2549 จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นมาอีก
และไม่สามารถที่จะรับได้ โดยเฉพาะบรรดาประชาชนในสังคมโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ค
ซึ่งเชื่อมโยงกับโซเชี่ยล เน็ทเวิร์คทั่วโลกด้วยแล้ว ไม่สามารถที่จะยอมรับได้เลยกับการทำรัฐประหารที่เกิดขึ้น
รวมทั้งบรรดาพินัยกรรมทางการเมืองที่สืบทอดมาจากการทำรัฐประหาร
ไม่ว่าจะเป็นการตั้งองค์กรอย่าง คตส. ตั้งคณะบุคคลเข้ามาคุมองค์กรอิสระต่างๆ
ทุกวันนี้ปัญหาจึงยังคงมีสภาพเหมือนดั่งไฟสุมขอนทางการเมืองต่อเนื่องมายาวนานถึง 5 ปี
ปัญหาก็คือ บรรดาผู้ที่ต้องการมีอำนาจควบคุมกลไกการเมือง
และผลประโยชน์ทางการเมือง ได้ตระหนัก หรือเรียนรู้จากบทเรียนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาบ้างหรือไม่
เพราะจนวันนี้ นอกจากความปรองดองไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงแล้ว
การมองต่างเห็นต่างในลักษณะที่ไม่มีการยอมถอยกันคนละก้าวสองก้าว
ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ตลอดเวลา แม้แต่การเลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ที่หวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยเดินหน้าได้เสียที
หลังจากที่ติดปลักจากผลของการทำรัฐประหารมานานร่วม 5 ปี
แต่กลับเกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมาอีกว่า
ระหว่างการตัดสินใจของประชาชนคนไทยที่แสดงออกผ่านกระบวนการการเลือกตั้ง
ด้วยการเลือกพรรคเพื่อไทย กับ การตัดสินใจในการทำหน้าที่ของบุคคลจำนวน 5 คน
ที่เรียกว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นั้น เป็นเรื่องที่สอดคล้องกัน
หรือว่าจะกลายเป็นการแตกต่างทางความคิดจนกลายเป็นประเด็น
กลายเป็นการเผชิญหน้ากันขึ้นมาอีก ลึกๆ บางกอก ทูเดย์ เชื่อว่าทุกภาคส่วน ทุกคน
แม้แต่กระทั่ง 5 เสือ กกต. ก็น่าจะมีมุมมองที่ไม่ต่างกัน คือ
หวังว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้
แต่อาจเป็นเพราะประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ในการเลือกตั้ง
ขณะที่ 5 เสือ กกต.ก็มีสิทธิและหน้าที่ในการตรวจสอบ รับรอง หรือสอย บรรดาว่าที่ ส.ส. ทั้งหลาย
ซึ่งจริงๆแล้ว จะไม่เป็นเรื่องเป็นราวอะไรเลย
หากไม่มีข้อสงสัยว่า “เล่นอะไรกัน” อยู่หรือไม่???
ซึ่งจะโทษใครก็คงไม่ได้ แต่ต้องโทษความพยายามของการยึดกุมอำนาจทางการเมืองของคนบางกลุ่มบางขั้ว
ที่ก่อให้เกิดกระแสความไม่เชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับสังคม
ทั้งๆที่ หากมองถึงการยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมานั้น แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งเป็นเสมือนคู่แข่งโดยตรงของพรรคเพื่อไทย ก็ยังยอมรับผลการเลือกตั้ง ยอมรับความพ่ายแพ้
เพราะผลที่ออกมานั้น แตกต่างกันมาก เพื่อไทยได้ 265 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้ 159 ที่นั่ง
บรรดาพรรคการเมืองอื่นๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ขนาดพรรคภูมิใจไทย
ซึ่งคาดหวังจำนวนเก้าอี้ ส.ส. มาถึง 70-80 ที่นั่ง สุดท้ายได้มาเพียงแค่ 34 ที่นั่ง ก็ยังยอมรับชะตากรรม
พรรคการเมืองยอมรับผลการเลือกตั้งของประชาชนเหมือนกันหมดทุกพรรค
เพราะชนะกันขาด ทิ้งห่างเกินกว่าที่ใครจะมาดันทุรังงอแงได้อีก
ที่สำคัญที่หากว่ามีมือที่ทองไม่เห็น หรือกลุ่มอำนาจใดๆพยายามที่จะเล่นเกมยื้อ เล่นแง่กับพรรคเพื่อไทยจริงๆ
ก็น่าจะลองทบทวนดูใหม่ ว่าเหมาะสมหรือไม่ในความเป็นจริง เพราะไม่ใช่แค่ประชาชนเลือกมา
ไม่ใช่แค่บรรดาพรรคการเมืองทุกพรรคยอมรับมติของประชาชนคนไทยส่วนใหญ่แล้ว
แม้แต่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างก็ยอมรับด้วยเช่นกัน
ไม่เช่นนั้นคงไม่มีการพบกับของบรรดาทูตประเทศมหาอำนาจ อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา คือ
นางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ก็ได้มีการพบปะกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่บ้านพักถนนวิทยุ
ตั้งแต่ยังเป็นแค่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ยังไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
แต่เพราะกระแสตอบรับจากประชาชนมีสูงมาก
ซึ่งการข่าวของสหรัฐอเมริกาในเรื่องแบบนี้ไวเป็นพิเศษอยู่แล้ว
จึงได้มีการเชิญมาหารือ และให้ความมั่นใจว่าทางการสหรัฐจะไม่สนับสนุนการปฏิวัติรัฐประหาร
หรือวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
แถมยังเหมือนกับบอกใบ้กลายๆ ด้วยว่า เท่าที่ติดตามข่าวพบว่า
ประชาชนสนับสนุนน.ส.ยิ่งลักษณ์จำนวนมาก
จึงขอเป็นกำลังใจเพราะปัจจุบันมีสตรีก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำจำนวนมาก
และไม่ใช่แค่สหรัฐอเมริกาเพียงรายเดียวเมื่อไหร่ เพราะปรากฏว่า
นางคัทยา คริสทีนา โนร์ดการ์ด เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย
นางสาวคริสติน ชราเนอร์ เบอเกอเนอร์ เอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และ
นายอาซีฟ อาหมัด เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย
ก็ได้มีการเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยเช่นกัน
เท่ากับว่าเป็นการยอมรับของมิตรประเทศต่างๆมาตั้งแต่แรกเลยก็ว่าได้
ที่สำคัญเฉพาะนายอาซีฟ อาหมัด เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร
ได้มีการพบปะกับพรรคเพื่อไทยก่อนการเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง
ทั้งๆที่จะว่าไปแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งในช่วงเลือกตั้งก็ยังเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่
แถมยังเป็นผู้ที่เรียนจบจากประเทศอังกฤษด้วย แต่กลับไม่ได้มีการไปพบ แถมยังระบุชัดเจนด้วยว่า
เมื่อเสียงส่วนใหญ่ออกมาอย่างไร ก็ควรที่จะรับฟังเสียงส่วนใหญ่
เพราะอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย อยากให้ทุกฝ่ายเคารพเสียงส่วนใหญ่
นั่นคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้ง ที่สะท้อนท่าทีของมิตรประเทศได้อย่างชัดเจน
และภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งผลคะแนนออกมาแบบทิ้งขาด
ทุกประเทศก็แสดงท่าทีในการยอมรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อย่างเปิดเผยชัดเจน
โดยมีเอกอัครราชทูตประเทศต่าง ๆ เดินทางเข้าพบ เพื่อแสดงความยินดี
ไม่ว่าจะเป็น
Mr.Pinak Ranjan CHAKRAVARTY เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย
Mr.Umaru Azores SULAIMAN เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐไนจีเรีย
Mr. Richard Titus EKAI เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเคนย่า
Mr.Shamel Elsayed NASSER และ Mr.Ron Hoffmann เอกอัครราชทูตแคนาดา พร้อมคณะ
ก็ในเมื่อไม่เพียงประชาชนยอมรับ พรรคการเมืองคู่แข่งโดยตรงยอมรับความพ่ายแพ้
และบรรดาประเทศต่างๆก็พากันให้การยอมรับหมดแวเช่นนี้
ยังจะมีความพยายามเล่นเกมอะไรกันอีก!!!
ประเทศชาติยังบอบช้ำไม่เพียงพอกระนั้นหรือ???
ถึงเวลาหรือยังที่ทุกฝ่ายจะหันมาคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ
และการก้าวเดินไปข้างหน้าของประเทศชาติ แล้วบรรดาคนที่เล่นเกมอยู่ทั้งหลายในขณะนี้
พร้อมใจกันได้คิด และหยุดการเล่นเกมต่างๆเสียที
หากยังฝืนเล่นเกม จะใช้วิธีการใดก็ตาม
ที่แน่ๆ ความสงสัยจะกลายเป็นเพ่งเล็งไปที่ 5 เสือ กกต. กันหมดแล้ว จนกลายเป็นว่า
ตอนนี้ 5 เสือ กกต. เจอเผือกร้อนลวกมือเข้าให้เต็มๆ
ทั้งๆที่ในความเป็นจริงอาจจะไม่อยากจะเล่นเกมใดๆเลยก็ได้
เพราะถ้าลองมาเป็น 5 เสือ กกต. ในเวลานี้ ไม่เพียงประชาชนคนในประเทศไม่เชื่อถือ
แม้แต่เอกอัครราชทูตอินเดีย ยังถึงกับตั้งข้อสังเกตว่า
กกต.ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการสอบสวน???
เนื่องจาก กกต.ของประเทศอินเดีย ไม่มีอำนาจมากเท่ากับ กกต.ของประเทศไทย
เพราะถ้ามีเรื่องร้องเรียนหลังเลือกตั้ง ที่ประเทศอินเดียจะใช้กระบวนการไปฟ้องร้องที่ศาล
ขนาดต่างชาติยังมองแบบนี้ ถ้าจะบอกว่า 5 เสือ กกต.ของไทย ไม่คิดอะไร ไม่รับรู้
หรือไม่รู้สึกอะไรเลย ก็คงเป็นไปไม่ได้แน่
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมือง
ยังถึงกับออกปากว่ารู้สึกชินแล้วกับแรงกดดันที่มักจะมีตลอด
เพราะเป็นสิทธิของประชาชนที่จะแสดงออก แม้บางครั้งจะเป็นการกดดันการทำงานของกกต.
แต่กกต.ก็ถือว่าทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว
ชินหรือไม่คงไม่มีใครบอกได้ แต่การที่นายอภิชาตออกมาพูดเช่นนี้ สะท้อนชัดเจนว่า
รับรู้ถึงแรงกดดันที่มีอยู่ในสังคมไทยขณะนี้
สะท้อนชัดเจนว่า รับรู้อยู่เต็มอกว่า ประชาชนคิดอะไร และวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร
ไม่เช่นนั้นคงไม่พูดว่าชินแล้วอย่างแน่นอน
และคงไม่ยืนยันว่า กกต.ได้ทำตามกรอบกฎหมายและเหตุผลตามข้อเท็จจริงของสำนวนร้องคัดค้านต่างๆ
รวมทั้ง 5 เสือ กกต. คงไม่ออกมาในทำนองว่า
สุดท้ายแล้วเชื่อมั่นว่าจะรับรอง ส.ส.ได้ครบ 95% หรือ 475 คน
ตามกรอบเวลา 30 วันของทางกฎหมายอย่างแน่นอน
ในเมื่อกกต.เชื่อว่า การเปิดสภาตามกรอบของกฎหมายไม่น่าจะมีปัญหา
ก็จะเหลือเพียงเรื่องการเปิดโอกาสให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย ได้ทำงานในฐานะรัฐบาล
ซึ่งในส่วนนี้ ก็ได้แต่หวังว่า กลุ่มขั้วอำนาจต่างๆจะเลิกยื้อ เลิกเล่นเกมได้แล้วเช่นกัน
ถามว่าหากยังฝืนเล่นเกม ให้สถานการณ์มีสภาพยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก อยู่เช่นนี้ จะมีประโยชน์อะไร???
สู้ปล่อยให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าเสียที... จะไม่ดีกว่าหรือ
โดยเฉพาะกับประเด็นเรื่องเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ว่ากันว่ากลายเป็นโจทย์สำคัญ
กลายเป็นข้อต่อรองของกลุ่มขั้วอำนาจ ที่ทำให้พรรคเพื่อไทยต้องคิดหนัก ไม่ใช่หนัก
เพราะไม่ยอมตามที่ขั้วอำนาจกองทัพต้องการ แต่หนักเพราะลึกๆแล้วในกองทัพด้วยกันเองต่างหากที่มีปัญหา
เพราะชื่อที่ว่ากันว่ามีรายการ “คุณขอมา” คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นั้น
กลับก่อให้เกิดกระแสใต้น้ำขึ้นในกองทัพ
เนื่องจากมีคนในกองทัพไม่น้อยที่กังวลว่า
ยิ่ง พล.อ.ประวิตรเป็นนานเท่าไหร่ กลุ่มบูรพาพยัคฆ์ก็จะยิ่งเรืองอำนาจ
สายอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มวงศ์เทวัญ ก็จะยิ่งแผ่ว จะยิ่งหมดสิทธิในตำแหน่งสำคัญๆของกองทัพ
แน่นอนว่าย่อมรวมถึงเก้าอี้ ผบ.ทบ.ในอนาคตด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่สุดท้ายแล้วการเล่นเกมของขั้วอำนาจ
กลับทำให้เกิดปัญหาซ้อนปัญหาขึ้นมา
และทำให้อาการกระเพื่อมทางการเมือง ยังกระพือไหวไม่จบไม่สิ้นเสียที
ทั้งๆที่ทุกฝ่าย แม้แต่ระทั่งประเทศต่างๆ ก็ยอมรับกันหมดแล้วว่า
น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องเป็นนายกฯ และพรรคเพื่อไทยจะต้องเป็นรัฐบาล
เลิกเล่นเกมยื้อกันได้เสียทีหรือยัง???


http://www.bangkok-today.com/node/9854