WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 10, 2011

1 ทศวรรษ 9/11 ช็อกโลก ความปลอดภัยกับต้นทุนที่ต้องจ่าย

ที่มา มติชน


ภาพ:AP



ภาพ:รอยเตอร์









ภาพ:รอยเตอร์



ภาพ:รอยเตอร์



ภาพ:เอเอฟพี



วันที่ 11 กันยายน 10 ปีที่แล้วผู้ก่อการร้าย 19 คน จี้เครื่องบิน 4 ลำ เพื่อโจมตีมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก 2 ลำพุ่งเข้าเสียบอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในย่านธุรกิจของนครนิวยอร์ก ลำที่สามทะยานเข้าหาตึกเพนตากอน ที่ทำการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ส่วนลำสุดท้ายซึ่งคาดว่ามีเป้าหมายที่แคปพิทอล ฮิลล์ อาคารรัฐสภามะกัน ตกในรัฐเพนซิลเวเนีย จนคนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมดหลังผู้โดยสารลุกขึ้นต่อสู้กับสลัดอากาศ

การก่อการร้ายวันนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3 พันคน ซึ่งนอกจากชาวอเมริกันแล้วยังมีพลเมืองของอีก 115 ประเทศ

หนึ่ง ทศวรรษผ่านไป รอยเตอร์ส ระบุว่า นักท่องเที่ยวยังแห่กันมายังจัตุรัสไทม์สแควร์ใจกลางเมืองนิวยอร์กเพื่อชม แสงสีและละครบรอดเวย์ แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากก่อนเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมครั้งเลวร้ายคือ ตำรวจถือปืนกลที่คอยลาดตระเวนไปทั่วเพื่อตรวจหาวัตถุระเบิดและบุคคลต้อง สงสัย เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่แสดงว่าสหรัฐกำลังพยายามรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพ ของประชาชนกับความปลอดภัยซึ่งผลักประเทศเข้าสู่ยุค "จับตามองทุกฝีก้าว"

ระบบ รักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดดูจะให้ผลน่าพอใจเพราะอย่างน้อยแดนลุงแซมก็ไม่ ถูกโจมตีซ้ำอีกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่สูญเสียไปเพื่อแลกความมั่นคงนี้อาจไม่คุ้มค่า ไม่ว่าจะในรูปตัวเงินหรือสิทธิเสรีภาพ นักเคลื่อนไหวด้านเสรีภาพพลเมืองวิตกว่า ยุคแห่งการถูกเฝ้าจับตามองและการเฝ้าระวังภัยจะกลายเป็นเรื่องถาวร

โจ เซฟ สติกลิทซ์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ กล่าวกับอัลจาซีรา ว่า การบุกอัฟกานิสถานเพื่อล้างบางกลุ่มอัล-กออิดะ หลังเหตุการณ์ 9/11 เป็นสิ่งที่พอเข้าใจได้ แต่การรุกรานอิรักไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่าง สิ้นเชิง การตัดสินใจทำสงครามทั้ง 2 แห่ง กลายเป็นปฏิบัติการแพงหูฉี่ และผลาญเงินภาษีประชาชนเกิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เคยกล่าวอ้างไว้

เพราะเกือบครึ่งของทหารที่ไปรบใน 2 สมรภูมิดังกล่าวกลับมาในสภาพที่มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญทุพพลภาพ และมากกว่า 6 แสนคนยังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก สติกลิทซ์จึงคาดว่ารายจ่ายช่วยเหลือทหารพิการและค่าใช้จ่ายทางการแพทย์จะ พุ่งทะลุ 6-9 แสนล้านดอลลาร์ในอนาคต

ยังไม่นับรวมความสูญเสียด้าน สังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นในจำนวนทหารผ่านศึกที่ฆ่าตัวตายซึ่งตัวเลขเคยพุ่งไปที่ 18 คนต่อวันเมื่อไม่กี่ปีก่อน ตลอดจนครอบครัวที่แตกสลายซึ่งล้วนประเมินค่าไม่ได้

สงครามต่อต้าน การก่อการร้ายที่รัฐบาลบุชผู้ลูกจุดไฟขึ้นนั้นเป็นการสู้รบครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ที่งบประมาณมาจากเงินกู้ทั้งหมด ขณะที่ทหารอเมริกันกำลังเข้าสู่สนามรบยอดขาดดุลงบประมาณของมะกันกำลังไต่ ระดับส่วนหนึ่งเป็นผลจากแผนลดภาษีในปี 2544

ปัจจุบันรัฐบาลวอชิงตัน ต้องกระเสือกกระสนหาทางลดการว่างงานและการขาดดุล ปัญหาเศรษฐกิจทั้งสองอย่างซึ่งเป็นภัยคุกคามอนาคตสหรัฐสามารถย้อนหาสาเหตุไป ถึงสงครามที่อัฟกานิสถานและอิรัก รายจ่ายด้านการป้องกันประเทศที่พุ่งกระฉูดประกอบกับแพ็กเกจหั่นภาษีให้คนรวย คือต้นตอหลักที่ผลักดันให้ฐานะการคลังแดนลุงแซมเปลี่ยนจากเกินดุลงบประมาณ 2% ของจีดีพี เป็นเมื่อบุชได้รับเลือกตั้งไปเป็นขาดดุลจำนวนมหาศาลและภูเขา หนี้สินอย่างในทุกวันนี้

ประเมินกันว่ารายจ่ายโดยตรงของรัฐที่ละลาย ไปกับไฟสงครามสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 1.7 หมื่นดอลลาร์ต่อครัวเรือนอเมริกัน ยังไม่รวมรายจ่ายที่ ใบเรียกเก็บเงินยังไปถึง ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขดังกล่าวสูงขึ้นอีก 50%

ไม่ เพียงเท่านั้น ความวุ่นวายในตะวันออกกลางเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กดดันให้ราคาน้ำมันแพงจับจิต บังคับให้อเมริกันชนต้องใช้เงินจำนวนมากไปกับการนำเข้าเชื้อเพลิง แทนที่จะนำมาใช้ซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ

ตอนนั้นธนาคารกลาง สหรัฐพยายามปกปิดความอ่อนแอทางเศรษฐกิจด้วยการขับเคลื่อนฟองสบู่ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกระตุ้นให้การบริโภคพลอยบูมไปด้วย แต่เมื่อถึงคราวฟองสบู่แตก ทุกอย่างจึงล้มระเนระนาดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คาดว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปีที่กองหนี้และซากปรักหักพังในธุรกิจก่อสร้างจะ กลับสู่ภาวะสมดุล อีกครั้ง

นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว เสรีภาพการใช้ชีวิตของคนอเมริกันก็ผันแปรเช่นกัน ประธานาธิบดีและตำรวจมีอำนาจมากขึ้นในการยื่นจมูกเข้าไปสอดส่องชีวิตส่วนตัว ของพลเมืองโดยแทบไม่ต้องขออนุมัติจากศาล การโดยสารเครื่องบินต้องผ่านระบบรักษาความปลอดภัยที่ ซับซ้อนราวกับการเข้าพบบุคคลสำคัญ

รัฐบาลสหรัฐยังออกมาตรการป้องกัน ภัยคุกคามจากภายนอกด้วยการส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวต่างชาติที่จับได้นอกประเทศ ไปยังประเทศที่สามเพื่อกักขังและสอบสวน รวมทั้งคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่เป็นทหารมายังอ่าวกวนตานาโมในคิวบา ซึ่งมีเสียงเล่าลือเรื่องทรมานนักโทษและละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มะกันอ้างว่า เชิดชูและใช้เป็นประเด็นโจมตีประเทศอื่น

การละเมิดความเป็นส่วนตัว สร้างความเดือดร้อนให้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะมุสลิมหรือผู้มีเชื้อสายตะวันออกกลาง ซึ่งต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุ อันควร

ดา วุด วาลิด หัวหน้าสภาความสัมพันธ์อเมริกัน-อิสลาม สาขามิชิแกน ชี้ว่า "สถานการณ์ทุกวันนี้เลวร้ายกว่าช่วงหลังเกิด 9/11 ได้หนึ่งปีเสียอีกผมมองไม่เห็นเลยว่าอะไร ๆ จะเปลี่ยน แปลงไปมากนักในอีก 5-7 ปีข้างหน้า"

อย่างไรก็ตาม ปีเตอร์ คิง สมาชิกสภาคองเกรสจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยแห่งมาตุภูมิของสภาผู้แทนฯ มองว่า "สำหรับผมไม่สงสัยเลยว่าทุกอย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายรักชาติ (Patriot Act) การตรวจตราที่สนามบินหรือท่าเรือ ทั้งหมดนี้ดีกว่าการเห็นคนถูกไฟคลอก หรือต้องกระโดดหนีตายจากตึกสูง 106 ชั้นทั้งสิ้น"


(ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ12-14 กันยายน 2554)