ที่มา มติชน
ไม่ว่านโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่ว่านโยบายรับจำนำข้าวโดยมีราคาเริ่มต้นที่ 15,000 บาทต่อเกวียน
ล้วนดำเนินไปด้วยความยากลำบาก
กล่าว สำหรับนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่เพียงแต่จะถูกต่อต้าน จากสถาบันอันเป็นตัวแทนของทุนใหญ่ อย่างเช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย
หากแม้กระทั่งองค์กรอันเป็น "ตัวแทน" ของผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานทั่วไปและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็มองด้วยความคลางแคลง ไม่แน่ใจ
ยิ่งนโยบายรับจำนำข้าว ยิ่งถูกประสานเสียงต่อต้านทั้งจากผู้ส่งออกและนักวิชาการ
เหตุผลที่ยกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะมาจากนักวิชาการ ไม่ว่าจะมาจากผู้ประกอบการ แน่นหนาด้วยข้อมูลและสถิติ
แสดงให้เห็นหายนะมากกว่าจะวัฒนะ
หาก รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยืนหยัดในแนวคิดปรับฐานค่าแรง ไม่ยืนหยัดในแนวคิดยกระดับรายได้ให้แก่ชาวนา ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่นโยบายเหล่านี้จะเดินหน้าต่อไปได้
การช่วยเหลือชาวนา การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ลำบากยากยิ่งในสังคมแห่งนี้
คล้ายกับว่า การนำเสนอนโยบายปรับฐานค่าแรงขั้นต่ำมาอยู่ที่ 300 บาทต่อวัน เป็นการนำเสนอในแนวทางอย่างที่เรียกว่า
"ประชานิยม"
คล้ายกับว่า การนำเสนอนโยบายตามโครงการจำนำราคาข้าวโดยเริ่มต้นที่เกวียนละ 15,000 บาท จะเป็นการนำเสนอในแนวทางอย่างที่เรียกว่า
"ประชานิยม"
ทั้งๆ ที่หากกล่าวสำหรับการนำเสนอค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ที่ 300 บาทต่อวัน เป้าหมาย 1 เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของ ผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกัน เป้าหมาย 1 เพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างค่าแรงให้สอดรับและใกล้เคียงกับสภาพความเป็น จริง
ประการหลังนี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างสูงต่อโครงสร้างการผลิตภายในประเทศ
หากพิจารณาโครงการนี้อย่างสอดรับกับการปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรีไปอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน
ทั้งหมดนี้คือการยกระดับครั้งใหญ่ภายในโครงสร้างเงินเดือนของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
ประชา นิยมอย่างนี้มิได้เป็นประชานิยมที่หวังสร้างและสะสมคะแนนเสียงเพียงด้าน เดียว ตรงกันข้าม คำนึงถึงโครงสร้างการผลิตของประเทศโดยองค์รวมไปด้วยในขณะเดียวกัน
นี่ก็สอดรับไปกับการยกระดับชีวิตชาวนาด้วยการปรับราคาข้าวให้สูงขึ้น
หากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามารถดำเนินนโยบายตามที่ประกาศระหว่างหาเสียงได้อย่างครบถ้วน ทั้งนโยบายเฉพาะหน้าและนโยบายระยะยาว
ก็เป็นเรื่องน่ากลัว
เป็น ความน่ากลัวสำหรับพรรคการเมืองอันเป็นคู่แข่ง เพราะทั้งหมดนี้เท่ากับเป็นการต่อยอดความสำเร็จ อันพรรคไทยรักไทยได้เคยทำไว้จากการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2544 จนถึงรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
รูปธรรมแห่งความสำเร็จของพรรค ไทยรักไทย คือ การได้รับเลือกตั้ง 377 จากจำนวน ส.ส.ทั้งสภา 500 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548
นี่คือชนวนอย่างแท้จริงอันนำไปสู่การโค่นล้ม ทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
การหวนกลับมาของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 การหวนกลับมาของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554
1 เพื่อตอกย้ำและยืนยันความล้มเหลวของรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
ขณะเดียวกัน 1 เพื่อเดินหน้าความสำเร็จในยุคพรรคไทยรักไทยได้ปฏิบัติเอาไว้
กระแส คัดค้าน กระแสต่อต้าน ไม่ว่าต่อนโยบายอันนำเสนอเข้ามา ไม่ว่าต่อแต่ละจังหวะก้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป้าหมายก็เพื่อเตะสกัดขาในทาง การเมือง
พื้นฐานมาจากความระแวง พื้นฐานมาจากความหวาดกลัว
กระนั้น จุดแข็งเป็นอย่างมากในเชิงนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ทรงความหมาย
ความ หมาย 1 เป็นนโยบายเพื่อคนยากคนจนทั้งที่เป็นคนจนเมือง คนจนในชนบท ความหมาย 1 เป็นนโยบายเพื่อปรับโครง สร้างของคนส่วนใหญ่ทั้งในชนบทและในเมือง
ความหมายนี้มีผลต่อพัฒนาการของประเทศ มีผลต่อคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทย