ที่มา มติชน
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
(ที่มา คอลัมน์สยามประเทศไทย หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 9 กันยายน 2554)
แล้วเติบโตอยู่ใน "วัฒนธรรมหลวง" ของพวกผู้ดีก่อน ถึงลงไปสู่ไพร่สมัยหลังๆ
ละครมีเครื่องแต่งตัวที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 แบบ คือ ตัวนาง, ตัวพระ และตัวประกอบ
ตัวนาง, ตัวพระ เมื่อแต่งตัวละครเรียก "รัดเครื่อง" เพราะต้องมีด้าย, เชือก คอยผูกมัดรัดต่างๆ ให้กระชับตัว
ตัวประกอบ เช่น จำอวด ฯลฯ แต่งตามสะดวกให้เข้ากับเรื่องที่แสดง
เครื่อง แต่งตัวของพระ, นาง โรงหนึ่งมีชุดเดียว จะเล่นละครต่างเรื่องแต่เครื่องแต่งตัวชุดเดียวกัน เพราะเสื้อผ้าเครื่องละครไม่ได้ทำง่ายๆ เหมือนปัจจุบัน
ตัวนางเล่นเป็นนางสีดา, นางมโนห์รา, นางเมรี, นางรจนา ฯลฯ ก็รัดเครื่องชุดเดิมเหมือนกันหมด คนดูไม่รู้ว่ากำลังเล่นเป็นตัวอะไร
เมื่อ คนดูแยกไม่ได้ แล้วจำไม่ได้ว่าตัวอะไรกำลังเล่นอยู่ข้างหน้า ทางแก้คือคนเล่นต้องบอกคนดูว่าตัวละครที่กำลังเล่นชื่ออะไร? บทร้องก็บอก บทเจรจาก็บอก
บทละครนอก พระราชนิพนธ์ ร.2 เรื่องสังข์ทอง ตอนรจนาเลือกคู่ แอบดูเจ้าเงาะครั้งแรก มีกลอนขึ้นต้นต้องบอกเลยว่าที่กำลังเล่นคือนางรจนาว่า
เมื่อนั้น รจนานารีศรีใส
เทวดาเดินหนดลฤทัย อยากจะใคร่ดูเงาะเจาะจง
ครั้นเจ้าเงาะพาไปอยู่กระท่อมปลายนา รจนาหุงข้าวไม่เป็น ก็มีกลอนว่า
เมื่อนั้น รจนาโศกศัลย์รำพันว่า
น้องนี้แต่กำเนิดเกิดมา จะหุงข้าวหุงปลาก็ไม่เคย
บทเจรจาของคนเล่นเป็นรจนา ก็ต้องจีบปากจีบคออย่างเสรี เรียกตัวเองทุกครั้งว่า "รจนา" อย่างโน้นอย่างนี้ เช่น
"รจนา หุงข้าวไม่เป็น ตั้งแต่เกิดมารจนาไม่เคยหุงข้าวกินเอง มีแต่พวกวิเสทในวังทำให้กิน โธ่เอ๋ย-น่าสงสารรจนาจริงๆ ใครจะช่วยรจนาหุงข้าวได้ล่ะ"
ลิเกได้แบบอย่างจากละครนอก ก็ยิ่งจีบปากจีบคออย่างเสรีมากขึ้นไปอีก จนเป็นที่รู้กัน บางทีในวงสนทนาจึงล้อเลียนลิเก
ขอ ให้สังเกตด้วยว่าการเรียกตัวเองด้วยชื่อตัวเอง มักใช้กับนางเอกเพื่อแสดงความเป็นกันเองกับคนดูละคร, ลิเก ตัวละครอื่นๆ ไม่ใช้ หรือถ้าใช้ก็ไม่มาก
แต่มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าเจ้านายมีศักดิ์ เป็นหม่อมเจ้า, หม่อมราชวงศ์ มีคำสรรพนามว่า ท่านชาย, ท่านหญิง และคุณชาย, คุณหญิง มักได้ยินเรียกแทนตัวเองว่า "ชาย", "หญิง" ซึ่งไม่รู้ว่ามีที่มายังไงแน่? จะเกี่ยวข้องกับละคร, ลิเก หรือไม่? ไม่รู้
ถึงกระนั้นก็มีลักษณะลด "ราชาศัพท์" ลงสู่สามัญให้เป็นกันเองกับคนอื่นๆ
ไม่ พบหลักฐานหรือร่องรอยใดๆ ที่จะบอกได้ว่าประเพณีเรียกตัวเองด้วยชื่อตัวเองมีมาแต่ครั้งไหนแน่ๆ? แล้วเริ่มที่คนกลุ่มไหน? ไพร่ หรือ ผู้ดี?
แต่อย่างน้อยราว 50 กว่าปีมาแล้ว คนบ้านนอกแถวบ้านผมทางลุ่มน้ำบางปะกง ยังไม่เรียกตัวเองด้วยชื่อตัวเอง ผมไม่เคยได้ยิน
เมื่อเข้ามาเรียนต่อชั้นมัธยม จึงเริ่มได้ยินคนกรุงเทพฯเรียกตัวเองด้วยชื่อเล่นของตัวเอง คนกรุงเทพฯพวกนี้มีพ่อแม่ฐานะดีถึงดีมาก
แต่พวกรากหญ้าในกรุงเทพฯยังไม่เรียกอย่างนั้น ต้องรออีกนานหลายสิบปีถึงใช้กันแพร่หลายทั่วไปทุกระดับ