WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 10, 2011

การเดินทางของแม่ค้าเสื้อแดง : จากตลาดสู่การเมืองบนท้องถนน

ที่มา มติชน



(ที่มา สำนักข่าวประชาธรรม)


เมื่อวันที่ 1 กันยายน ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดเวทีวิชาการ "ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่" โดยนายนพพล อาชามาส นักศึกษาปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง "การเดินทางของแม่ค้าเสื้อแดง: จากตลาดสู่การเมืองบนท้องถนน" ซึ่งมีเนื้อหาตามที่เว็บไซต์ประชาธรรมได้ถอดความมา ดังนี้


งานนี้เป็นงานย่อยของโครงการวิจัยใหญ่ ซึ่งศึกษาเรื่องกลุ่มแม่ค้าเสื้อแดงที่อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อยากจะเริ่มว่าผู้หญิงเสื้อแดงเป็นภาพต่อที่หายไปเพราะถึงแม้จะมีผู้นำหญิง แต่เรื่องของผู้หญิงก็ยังไม่มีคนพูดถึงมากนัก โดยเฉพาะ "กลุ่มผู้หญิงที่นำผู้นำหญิงขึ้นสู่ตำแหน่ง"


พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ (อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เคยอธิบายว่า ภาพรวมของขบวนการคนเสื้อแดงนั้น 60-70% ของคนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวหรือออกไปชุมนุมเป็นผู้หญิง


ภาพของผู้หญิงในขบวนการคนเสื้อแดง ถูกทำให้มองไม่เห็นในถึงสองระดับ ระดับแรก ภาพลักษณ์ของขบวนการคนเสื้อแดงจากภายนอก จะดูรุนแรง เป็นม็อบรับจ้าง-ม็อบล้มเจ้า การรวมตัวของคนชนบทที่ถูกหลอกถูกจ้าง โง่และจน จนเสพติดนโยบายประชานิยม


ระดับที่สอง การศึกษาขบวนการคนเสื้อแดงจากมุมมองภายในขบวนการ แต่ยังไม่ค่อยพูดถึงมิติความหลากหลายซับซ้อนภายในของผู้คนที่ตัดสินใจเข้า ร่วม ทั้งในมิติทางชนชั้น มิติทางชาติพันธุ์ หรือมิติทางเพศสภาพ ในเชียงใหม่เองก็จะมีกลุ่มชาติพันธ์เช่น ปะกากญอ ฯลฯ เข้าไปร่วมด้วย แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้มากนัก กลุ่มผู้หญิง หลายกลุ่มในขบวนการเสื้อแดงจึงถูก "มองไม่เห็น" และ "เหมารวม" ให้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่เหมือนกันไปหมด มองไม่เห็นกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง พัฒนาการทางความคิด ความเป็นอิสระบางส่วน และความหลากหลายของผู้เข้าร่วมขบวนการคนเสื้อแดง


กลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากและเข้าไปชุมนุมและเกี่ยว ข้องกับการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เช่น กลุ่มเสียงสตรี กลุ่มผู้หญิงเสื้อแดงที่จ.พะเยา เป็นต้น ถ้าเราลองดูในม็อบก็จะมีกลุ่มผู้หญิงเสื้อแดงที่ดูไฮโซ ผู้หญิงที่ดูเป็นชาวบ้าน สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงเหล่านี้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งมันเป็นพื้นที่สาธารณะและผู้ชายมักมีบทบาทสำคัญได้อย่างไร


มีงานจำนวนหนึ่งที่พูดถึงบทบาทของผู้หญิงไทย อย่างานของอ.วารุณี ภูริสินสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกตว่าบทบาทสองด้านสำคัญที่หายไปจากภาพลักษณ์ "ความเป็นผู้หญิงไทย" คือบทบาทในการเป็นแม่ค้าและบทบาททางการเมือง


งานวิชาการที่ได้รีวิว (ประมวล) มามี 4-5 ชิ้นที่พูดถึงเรื่องแม่ค้า ส่วนงานศึกษาบทบาทของผู้หญิงทางการเมืองยังมีไม่มากนัก บางส่วนศึกษากลุ่มผู้หญิงเดือนตุลาฯ


งานของอ.แคทเธอรีน บาววี่ (Katherine Bowie) มองบทบาททางการเมืองของผู้หญิงที่อยู่หลังฉากหรือในเงามืด คอยสร้างประนีประนอมและความสมานฉันท์ระหว่างเครือญาติ และเครือข่ายระหว่างหมู่บ้านหลังความขัดแย้งในการเลือกตั้ง


กรณีของแม่ค้าเสื้อแดงสะท้อนบทบาทผู้หญิงที่ต่างออกไปจากงานของบา ววี่ ผู้หญิงจำนวนมากร่วมเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยบนท้องถนน เดินทางออกจากบ้านหรือปริมณฑลส่วนตัวในท้องถิ่น ไปปะทะขัดแย้งในท้องถนน ซึ่งเป็นปริมณฑลสาธารณะบนโลกทางการเมืองในระดับชาติโดยตรง


ผู้หญิงจำนวนมากที่เข้าร่วมเสื้อแดง คือ กลุ่ม ผู้หญิงชายขอบในเมือง หรือผู้หญิงชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่หลุดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตลาดไปมากแล้ว แต่ก็ไม่ได้อยู่ในภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ เช่น กลุ่มแม่ค้า กลุ่มแรงงานในเมือง เป็นต้น ขบวนการเสื้อแดงสะท้อนการปรากฏตัวของผู้หญิงกลุ่มนี้ในการเคลื่อนไหวทางการ เมืองระดับชาติเป็นครั้งแรกๆ คำถามคือบริบทและเงื่อนไขแบบใดที่ทำให้คนกลุ่มที่ไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อน นี้เข้าร่วมขบวนการเสื้อแดง และการเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อให้เกิดผลในแง่ใดบ้างต่อพวกเธอ


จากการศึกษากลุ่มแม่ค้าในตลาดสันกำแพง ที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มสันกำแพงรักประชาธิปไตย" ซึ่งเริ่มตั้งขึ้นมาปลายปี พ.ศ. 2551 โดยมีคนร่วมก่อตั้ง 9 คน ใน 9 คนนี้ 7 คนเป็นแม่ค้า


มุมมองความเป็นแม่ค้ามีส่วนปลดปล่อยผู้หญิงออกจากพื้นที่ส่วนตัว ผู้หญิงคนหนึ่งพูดถึงความเป็นแม่ค้าของตนเองว่า "เหมือนเป็นแม่น้ำ มีอิสระ และขึ้นๆ ลงๆ คดเคี้ยวไปมา" ซึ่งตรงนี้อธิบายความเป็นแม่ค้าได้เป็นอย่างดี


ภาพรวมแม่ค้าในตลาดสันกำแพงอยู่ในวัย 50-60 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา และสืบทอดความเป็นแม่ค้ามาจากคนรุ่นพ่อแม่


ลักษณะสำคัญของอาชีพแม่ค้าที่หลายคนพูดตรงกันคือ "ความเป็นอิสระ" ของอาชีพตนเอง ที่ให้อิสระในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ดูแลเรื่องการเงิน โอกาสในการหารายได้ด้วยตนเอง และรับผิดชอบครัวเรือนด้วยตนเอง


ด้วยความอิสระในความหมายนี้ที่ปลดปล่อย ผู้หญิงในระดับหนึ่งให้ออกจากพื้นที่ส่วนตัวหรือครัวเรือน มายังพื้นที่สาธารณะทางเศรษฐกิจอย่างตลาด และให้อิสระในการตัดสินใจหลายเรื่องของชีวิตด้วยตนเอง โลกของกลุ่มแม่ค้าจึงไม่ใช่โลกของผู้หญิงที่อยู่แต่เพียงในครัวเรือน หากเป็นโลกที่ได้เห็นชีวิตผู้คนที่หลากหลายซึ่งมาปะทะสังสรรค์กันในพื้นที่ สาธารณะมานานแล้ว หลายคนเล่าประสบการณ์ชีวิต ที่เคยเดินทางไปค้าขายต่างจังหวัด บางคนเคยไปค้าขายถึงภาคใต้ บางคนอยู่กรุงเทพฯมาระยะใหญ่ๆ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นประสบการณ์ชีวิตที่มันอยู่ในหลายพื้นที่ คือไม่ได้อยู่ในบ้านอย่างเดียวอีกต่อไป


ความเป็นแม่ค้าหรือโลกทัศน์ของแม่ค้าถูกผูก เข้ากับเศรษฐกิจระบบตลาดหรือทุนนิยมมานานแล้ว ทำให้อยู่ภายใต้ระบบตลาดที่มีความไม่มั่นคง (unsecure) และความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ ที่ตัวแม่ค้าเองไม่สามารถควบคุมได้ แต่มองในภาพระยะยาว ชีวิตครอบครัวของแม่ค้าหลายคนขยับฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ลูกหลานของหลายคนถูกส่งเรียนจนจบปริญญาตรี และเข้าไปทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่หรือกรุงเทพฯ ส่งเงินกลับมาช่วยครอบครัว ทำให้ภาระหน้าที่รับผิดชอบของแม่ค้าหลายคนลดลง


แม่ค้าหลายคนพูดถึงฐานะของตัวเองว่า "พอมีพอกิน" ไม่ได้เดือนร้อน หรือถึงกับ "ตุก" อะไรมาก เปรียบเทียบคล้ายกลับแม่น้ำที่ "มันขึ้นๆ ลงๆ เหมือนน้ำ แม่ค้าบางปีก็ดูจะดีๆ หาเงินง่าย บางปีก็รันทดเหลือเกิน หาเงินยาก ฐานะเราไม่ดีมาก พอมีพอกิน แต่ก็ไม่รวย"


มีคำพูดหนึ่งที่สะท้อนมุมมองของแม่ค้าต่อภาพรวมด้านเศรษฐกิจได้เป็น อย่างดี "ปีที่ลงท้ายด้วย 0 จะหาเงินยาก คือปี 10 20 30 40 50 แปลกดีเหมือนกัน ตอนช่วง 30 มาดีหลังปี 31 ดีมาถึงปี 36 จนมาปี 40 กว่าๆ ตอนที่ทักษิณเป็นจึงเริ่มดีใหม่"


อ.ชาร์ลส์ คายส์ (Charles Keyes) ได้พูดถึงประสบการณ์ของชาวบ้านว่าเป็น "ชาวบ้านผู้รู้จักโลกกว้าง" (cosmopolitan villager) มีความสามารถเชื่อมโยงโลกในท้องถิ่นของตัวเองเข้ากับเรื่องระดับชาติ และความเป็นไปของโลกกว้างได้ ซึ่งก็คล้ายๆ กับแม่ค้ากลุ่มนี้ แม้แต่ในมิติการบริโภค กลุ่มแม่ค้ามีวิถีใกล้เคียงกับชนชั้นกลางในเมืองค่อนข้างมาก และความสามารถในการเข้าถึงสื่อประเภทต่างๆ ที่ง่ายมากขึ้น


ในภาคเหนือและอีสานนั้น ฐานของระบบครอบครัวดั้งเดิมคือการสืบสกุลทางฝ่ายมารดา (Matrilineal kinship) คือผู้ชายย้ายเข้ามาอยู่บ้านฝ่ายหญิง ซึ่งทำให้อำนาจของผู้หญิงในบ้านมีค่อนข้างมาก ด้วยระบบนี้ทำให้ผู้หญิงทางภาคเหนือและอีสานค่อนข้างเป็นอิสระมากในระดับ หนึ่ง และมีรูปแบบชีวิตครอบครัวที่หลากหลายและยืดหยุ่น สร้างโอกาสให้ผู้หญิงเป็นอิสระจากครอบครัวแบบจารีตได้มากขึ้น หลายคนออกมาตั้งครอบครัวเดี่ยวของตัวเองได้ แม่ค้าคนหนึ่งเป็นโสดจึงสามารถเข้าร่วมชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ต่างจากแม่ค้าที่มีครอบครัวที่เข้าร่วมชุมนุมได้บางครั้ง


บริบทของตลาดสันกำแพง คือเคยเป็นศูนย์กลางของตัวอำเภอ แต่ค่อยๆ หมดความสำคัญลงในปี 2540 เพราะมีตลาดย่อยๆ ตามหมู่บ้านหรือตำบลที่ทำให้คนไม่ต้องเข้ามาซื้อสินค้าในตัวอำเภออีกต่อไป พ่อค้าแม่ค้าราว 80% ในตลาดเป็นคนเสื้อแดง โดยมีกลุ่มที่กระตือรือร้นเข้าร่วมชุมนุมหรือติดตามสม่ำเสมอประมาณ 20%


จากการไปสังเกตและสอบถาม เขาจะแบ่งกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าสองกลุ่มหลัก คือกลุ่มที่อยู่ตลาดด้านทิศเหนือ ซึ่งจำนวนมากเป็นคนจากต่างถิ่น ขายเฉพาะช่วงเช้าตรู่ (ประมาณตี3 -7 โมงเช้า) แล้วก็จะกลับบ้าน ไม่ค่อยมีการรวมกลุ่มหรือผูกพันกันมากนัก


อีกกลุ่มอยู่ตลาดด้านทิศใต้ เป็นคนพื้นที่ในละแวกเดียวกัน หลายคนเป็นเครือญาติกัน และเติบโตมาในตลาดด้วยกัน ค้าขายในช่วงกลางวันซึ่งเป็นช่วงที่คนซื้อของไม่หนาแน่นนัก


ปัจจัยในเรื่องของการทำอาชีพเดียวกันได้สะท้อน"ความเป็นชุมชน" ที่กลายมาเป็นฐานการรวมกลุ่มของกลุ่มคนเสื้อแดงในตลาดปัจจุบัน


อีกประการหนึ่งตลาดนี้เป็นบ้านเกิดของอดีตนายกฯทักษิณ และตระกูลชินวัตร พ่อค้าแม่ค้าหลายคนมักจะเล่าว่าเคยรู้จักและสนิทสนมกับอดีตนายกฯ มาตั้งแต่เด็ก เพราะสมัยก่อนทักษิณจะมาขายกาแฟ ขายหวานเย็น และก็เล่าอีกด้วยว่าสมัยทักษิณเป็นนายกฯกลับมา เขายังจำชื่อพ่อค้า แม่ค้าบางคนได้ พวกเขาก็เลยค่อนข้างชื่นชมทักษิณ มันเริ่มต้นจากความรู้สึกต่อทักษิณของชาวบ้านที่มองว่าเป็น "คนบ้านเฮา" และเป็นวีรบุรุษทางการเมืองที่ได้รับความนิยมของคนในท้องถิ่นนี้ (Local Hero)


นอกจากนี้ ในอีกมิติหนึ่ง ตลาดยังถูกใช้เป็นพื้นที่หาเสียงสำคัญของนักการเมืองมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากมันเป็นพื้นที่สาธารณะ บริเวณใกล้ตลาดเคยเป็นที่ทำการของทั้งพรรคประชาธิปัตย์และไทยรักไทย


แม่ค้าส่วนใหญ่มีประสบการณ์ไปเลือกตั้งส.ส.มาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น แม่ค้าในตลาดจึงล้วนเคยเห็นและสัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองอย่างเป็น ทางการมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้าเข้าร่วมขบวนการเสื้อแดงแล้ว ฉะนั้นเรื่องประสบการณ์ทางการเมืองจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของกลุ่มแม่ค้า


ตลาดเลยกลายเป็นจุดประสานงานด้วยเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดต่อ การพบเจอ ปะทะประสานของทั้งผู้คน สินค้า และข่าวสาร ในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงจะมีใบปลิววางแจกอยู่ที่ตลาด และเป็นที่ตั้งของการรวบรวมเงินบริจาค


ตลาดแทนที่จะเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนสินค้าทาง เศรษฐกิจเท่านั้น ได้กลับกลายไปเป็นสถานที่สำหรับแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลทางการเมือง ในลักษณะของการเป็นศูนย์ (Node) ในการกระจายข่าวสาร ดังนั้นตลาดจึงเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ทางการเมือง ด้วย


สำหรับโลกทัศน์ของแม่ค้าก่อนสมัยรัฐบาลทักษิณจะเข้ามา เศรษฐกิจของตลาดยังไม่ค่อยถูกเชื่อมกับโลกทางการเมืองเท่าไรนัก แม่ค้าหลายคนไม่เคยสนใจการเมืองมาก่อน


แต่เมื่อ "นโยบายประชานิยม" ต่างๆ สมัยทักษิณได้ช่วยเอื้ออำนวยต่อสวัสดิการในชีวิตด้านต่างๆ เพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ จึงกลายเป็นปัจจัยที่ช่วยเชื่อมต่อโลกทัศน์ นโยบายของพรรคการเมือง การเลือกตั้ง เข้ากับ ปากท้อง ความกินดีอยู่ดีทางเศรษฐกิจ การเลือกตั้งจึงมีนัยสำคัญต่อชาวบ้านขึ้นมา


ภาวะเศรษฐกิจในสมัยรัฐบาลไทยรักไทยที่เฟื่องฟูขึ้นมาก ทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากขึ้น คนงานเข้ามาจับจ่าย ซื้อของมากขึ้น ส่งผลสำคัญให้อาชีพพ่อค้าแม่ค้าทำมาค้าคล่องยิ่งขึ้น ผู้คนมีเงินจับจ่ายมากขึ้น


หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในมุมมองแม่ค้า รายได้ลดลงไปประมาณ 1 ใน 3 เมื่อเทียบช่วงก่อนรัฐประหาร และเพราะวิถีชีวิตของแม่ค้าอยู่กับการขึ้นลงของราคาสินค้าตลอดเวลา จึงมีความรู้สึกอ่อนไหว (sensitive) ต่อภาวะเศรษฐกิจมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ


สภาวะเศรษฐกิจซึ่งแย่ลงได้ค่อยๆ ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสภาวะทางการเมืองหลังรัฐประหาร เช่นการชุมนุมเรียกร้องยุบสภาด้วยการปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตร การจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากอำนาจนอกระบบ เป็นต้น จนมาสู่ความไม่พอใจ และนำไปสู่การเคลื่อนไหวในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดนำมาสู่การตั้งกลุ่ม "กลุ่มสันกำแพงรักประชาธิปไตย" ขึ้นมา


อย่างที่ได้กล่าวไปว่า มีคนร่วมก่อตั้งกลุ่ม 9 คน ใน 9 คนนี้ บางคนเคยร่วมใน "ชมรมคนรักทักษิณ" ตั้งแต่ช่วงปี 2548 (ก่อนรัฐประหาร) ช่วงปี 2551 แม่ค้าหลายคนได้เดินทางเข้าไปในตัวเมืองเชียงใหม่เพื่อฟังปราศรัยของกลุ่ม รักเชียงใหม่ 51 จนเกิดความคิดที่จะตั้งกลุ่มขึ้นมา และเริ่มขยายสมาชิกไปยังคนกลุ่มอื่นๆ มากขึ้น เช่น นักธุรกิจท้องถิ่น สหายเก่า ข้าราชการเกษียณ เป็นต้น และได้เข้าร่วมกับ "ศูนย์ประสานงานกลางนปช.แดงเชียงใหม่" ที่ก่อตั้งในช่วงปลายปี 2552


ก่อนการชุมนุมใหญ่เมื่อปี 2553 มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งการขยายมวลชน การตั้งเวทีย่อย การจัดผ้าป่าระดมทุน จัดขายเสื้อ อุปกรณ์การชุมนุม การจัดเวทีตามหมู่บ้าน เข้าร่วมโรงเรียนนปช.

การชุมนุมในตัวเมืองเชียงใหม่และกรุงเทพฯ บทบาทของแม่ค้าในการชุมนุม ได้นำทักษะความชำนาญของตน ออกไปใช้ในพื้นที่สาธารณะทางการเมือง เช่น การทำอาหารในแต่ละมื้อระหว่างชุมนุม เป็นต้น บทบาทของแม่ค้าจึงคล้ายเป็นส่วนขยายจากบทบาทในบ้านและในตลาดของผู้หญิง ที่ออกไปทำหน้าที่ดูแลปากท้องและความเป็นอยู่ให้กับคนเสื้อแดง (care taker)


แม่ค้ามองว่าตนก็มีส่วนร่วมเท่าๆ กันกับกลุ่มผู้ชาย ที่หลายคนมีหน้าที่เข้าไปยกของหนักๆ ไปเดินตรวจตราโดยรอบ หรือไปสมัครเป็นการ์ดดูแลการชุมนุม


ในมวลชนระดับล่าง ความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ค่อนข้างเป็นไปในแนวราบ หรือเท่าเทียมกันมากกว่า แต่ถ้ามองในแนวดิ่งก็อาจจะเห็นความเหลื่อมล้ำอยู่ เช่น บทบาทการตัดสินใจจะอยู่ที่แกนนำมากกว่า


แม่ค้าหลายคนมักจะเล่าว่า การเข้าไปชุมนุมในกรุงเทพฯ ได้ช่วยเปิดมิติใหม่ๆ ในการรับรู้เกี่ยวกับการเมืองและตัวตนของแม่ค้าเอง ผ่านการฟังเวทีปราศรัย และการพูดคุยกับผู้ร่วมชุมนุมซึ่งมาจากที่อื่นๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะข่าวสารอื่นๆ ที่พูดบนเวทีไม่ได้ กลับไหลเวียนอยู่ด้านล่างในหมู่มวลชน


การเข้าไปมีประสบการณ์โดยตรงมีผลของการชุมนุม เป็น "การติดอาวุธทางความคิด" ให้กลุ่มผู้หญิงมากยิ่งขึ้น พร้อมกับค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาความคิดและการวิเคราะห์ทางการเมืองใหม่ๆ ที่ถึงรากมากขึ้น จนนำไปสู่อาการที่เรียกว่า "ตาสว่าง" ในภายหลัง


ประสบการณ์การเข้าร่วมต่อสู้โดยตรง คล้ายเป็นการเดินทางเปลี่ยนผ่านที่ช่วยขยายตัวตนในมิติอันแคบอย่างการเชียร์ ตัวบุคคล ไปสู่ความคิดและตัวตนของแม่ค้าในฐานะที่มองว่าตนเป็นพลเมืองที่เป็นสากลมาก ขึ้น (cosmopolitan citizen) ในเรื่องของประชาธิปไตยและความเท่าเทียม ดังเช่น การใช้ชุดภาษาทางการเมือง อย่าง "ประชาธิปไตย" หรือ "ความยุติธรรม" เป็นเหตุผลในการต่อสู้ ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ของคนกลุ่มนี้


การเดินทางเข้าร่วมชุมนุมยังช่วยให้กลุ่มแม่ค้าฝ่าข้ามปริมณฑลสองชั้น คือ ชั้นอำนาจที่กีดกันผู้หญิงออกจากการเมืองที่ถูกมองเป็นพื้นที่โดยตรงของผู้ชาย ซึ่งคำกล่าวแม่ค้าคนหนึ่งสะท้อนแนวคิดนี้ได้เป็นอย่างดี "แฟนใหม่ป้าเคยไป (ชุมนุม) ครั้งเดียว ร้อนอึดอัดก็กลับ ผู้หญิงอดทนกว่าผู้ชาย ผู้ดีไฮโซก็ยังมาชุมนุมกับเรา...ตอนนี้ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงเป็นอาจดีกว่า ผู้หญิงไปช่วยสื่อสารกัน ยิ้มใส่กันรู้จักกันแล้ว ผู้ชายไม่ค่อย อย่างอ.ธิดาเก่งไหม เขารู้งาน มันเท่าเทียมกันหมดเดี๋ยวนี้ ให้สิทธิเท่าเทียมกัน ผัวเมียไม่มีการเท้าหลังเท้าหน้า" และชั้นของอำนาจทางการเมืองต่างๆ ที่ไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางขนาดนี้มาก่อนในสังคมไทย


แต่การเข้าไปเคลื่อนไหวของกลุ่มแม่ค้าก็ยังมีข้อจำกัด พวกเขาไม่ได้กลายเป็นผู้ปฏิบัติการหรือว่าเป็นนักกิจกรรมอย่างเต็มตัวเพราะ อำนาจการตัดสินใจในการเคลื่อนไหวและชี้ขาดในเรื่องต่างๆ ยังคงต้องขึ้นอยู่กับแกนนำส่วนกลางหรือส่วนจังหวัด ว่าจะเคลื่อนไหวแบบไหนอย่างไร


นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการประกอบอาชีพ ที่แม่ค้ายังคงต้องทำมาค้าขาย หาเลี้ยงตนเองและครอบครัว หลายคนต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อเป็นค่าเดินทางเข้าไปชุมนุม กลายเป็นขีดจำกัดที่สำคัญที่ไม่ได้เปลี่ยนแม่ค้าให้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติการ ที่คิดและทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองทั้งหมด


กล่าวโดยสรุป แม้ว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้หญิงกลุ่มนี้จะไม่ได้ออกไปเรียกร้องประเด็น ปัญหาของผู้หญิงโดยตรง เช่น สิทธิสตรี สัดส่วนสส.ผ้หญิงในสภา แต่ การเคลื่อนไหวของผู้หญิงเสื้อแดงยังเกี่ยวพันอยู่กับการต่อสู้เพื่อความมั่น คงในครัวเรือน กลุ่มแม่ค้าเรียนรู้ว่าการทำให้ครอบครัวดีขึ้นกินดีอยู่ดี แยกไม่ออกจากนโยบายของรัฐที่ตอบสนองต่อพวกเธอ และภาพเศรษฐกิจของประเทศที่วางอยู่บนฐานของประชาธิปไตย โดยเฉพาะความเท่าเทียม หรือการนับสิทธิเสียงทางการเมืองของพวกเธอ


มุมมองสตรีนิยมที่แบ่งอย่างชัดเจนระหว่างปริมณฑลส่วนตัว/บ้าน และปริมณฑลสาธารณะ สร้างทัศนะในการมองปริมณฑลในบ้านที่ค่อนข้างเป็นลบและขาดพลวัต ละเลยการต่อสู้ของผู้หญิงหลายกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อปกป้องปริมณฑลบ้าน ที่ไม่ได้มีแต่เพียงด้านที่ล้าหลังและขาดนัยแห่งการปลดปล่อยเชิงเสรีภาพ หากขึ้นอยู่กับบริบทและประสบการณ์เฉพาะที่ทำให้การต่อสู้เพื่อพื้นที่ส่วน ตัวเป็นการปลดปล่อยผู้หญิง


ในกรณีกลุ่มผู้หญิงเสื้อแดงที่หลุด เข้าไปในระบบตลาดแล้ว การต่อสู้เพื่อปกป้องโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรในตลาดและปากท้อง เช่น เงินกู้ราคาถูก, ราคาสินค้าที่เป็นธรรม, สวัสดิการในชีวิตด้านต่างๆ, โอกาสในการเข้าถึงความกินดีอยู่ดี เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดวางอยู่บนฐานระบบการเมืองที่เป็น "ประชาธิปไตย" และการถูกนับรวมว่าตนก็เป็น "พลเมือง" มีสิทธิมีเสียงเท่ากับคนอื่นๆ จึงไม่อาจถูกละเลย และสามารถมีนัยยะของการปลดปล่อยผู้หญิงได้เช่นกัน