ที่มา thaifreenews
โดย bozo
โดย ปราปต์ บุนปาน
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 8 กันยายน 2554)
เชื่อและเข้าใจกันว่า การโยกย้ายข้าราชการประจำขนานใหญ่
ตลอดจนการแต่งตั้งคนเสื้อแดงจำนวนมากมาเป็นข้าราชการการเมือง
จะนำพา "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ให้ลื่นถลำเข้าสู่วงจรความขัดแย้งเร็วขึ้นโดยไม่จำเป็น
แต่มุมมองเช่นนี้อาจเป็นการทำความเข้าใจกับการเมืองไทยแบบเดิมๆ
ซึ่งสุดท้าย ก็เห็นเพียงแค่การเมืองของชนชั้นนำที่ศูนย์กลางอำนาจ
เมื่อต้นเดือนกันยายน มีการจัดงานเสวนาหัวข้อ
"ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่" ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยนักวิชาการ-นักศึกษา มช. ได้ร่วมกันนำเสนองานวิชาการอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยใหญ่ชื่อ
"ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ทางการเมืองในชนบท"
ซึ่งเว็บไซต์ "ประชาไท-ประชาธรรม" ได้ทยอยนำเนื้อหามาเผยแพร่กันบ้างแล้ว
ในตอนหนึ่งของงานเสวนา อ.ไชยันต์ รัชชกูล
แห่งสถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
ซึ่งได้รับเชิญมาเป็นผู้วิจารณ์งานวิจัยชุดนี้
ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับร้านอาหาร "เสื้อแดง" 2 แห่งในภาคเหนือ
ร้านแรก ทำอาหารไป เสิร์ฟไป ก็เปิดโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง "แดง" ไปด้วย
ปรากฏว่า มีลูกค้า "เสื้อเหลือง" จาก กทม. เข้ามาใช้บริการ
พร้อมกับร้องขอให้ทางร้านช่วยเปลี่ยนช่องทีวี
เจ้าของร้านจึงตอบกลับว่า "ก็เปิดไว้อยากดูก็ดู ไม่อยากดูก็ไปกินร้านอื่น"
ตัดไปร้านที่สอง มีนักศึกษาเข้ามาสั่งอาหารแล้วนั่งพูดคุยในบางประเด็นอย่างเมามัน
บังเอิญว่าเรื่องที่ลูกค้าวัยรุ่นสนทนากันดันไปโดนใจแม่ค้าเจ้าของร้าน
นำมาสู่การแถมข้าว แถมกับ ยกใหญ่
จากเรื่องเล่าทั้ง 2 เรื่อง อ.ไชยันต์วิเคราะห์ว่า
ความขัดแย้งได้แทรกไปทั่วทุกหนแห่งในสังคมไทยแล้ว
ทั้งระดับมหภาคและจุลภาค
ด้าน อ.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี แห่งคณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
ได้นำเสนองานวิจัยชื่อ
"พัฒนาการจิตสำนึกและปฏิบัติการทางการเมืองของขบวนการเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่"
พร้อมข้อเสนอหลักว่า "กลุ่มคนเสื้อแดง"
มิได้เป็นการรวมตัวของคนชั้นกลางระดับล่างอย่างที่เข้าใจกัน
ทว่า พวกเขากอปรขึ้นมาจากคนหลายชนชั้นหลากสถานะในสังคม
ซึ่งมีโลกทรรศน์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
ภายหลังการเกิดขึ้นของรัฐบาลไทยรักไทย รวมทั้งเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองหลายระลอก
โดยเฉพาะเหตุความรุนแรงเดือนพฤษภาคม 2553
คนเสื้อแดงเหล่านี้มีจุดร่วมเดียวกัน คือ
การประกาศ "ตัวตนใหม่ของพลเมืองเสรีนิยม"
ที่รักความเป็นธรรม รักประชาธิปไตย และรักความจริง
มีงานวิจัยอีกหลายชิ้นซึ่งถูกนำเสนอในงานเสวนาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิ
การศึกษาเกี่ยวกับ "แม่ค้าเสื้อแดง" หรือ "วิทยุชุมชนกับคนเสื้อแดง"
ที่อาจช่วยให้เราเข้าใจพลวัตของการเมืองและประชาชนระดับ "รากหญ้า" มากขึ้น
เพราะต้องไม่ลืมว่า ผู้คนเหล่านี้ถือเป็น "พลังสำคัญ"
ซึ่งผลักเคลื่อนสังคมการเมืองไทยมาจนถึงจุดที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน
เพียงแต่พวกเขาอาจเป็นแรงสั่นสะเทือน "ใต้ภูเขาน้ำแข็ง"
ที่บ่อยครั้ง เรามักลืมเลือนจะคำนึงถึง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1315480377&grpid=&catid=02&subcatid=0207
Re:
โดย ลูกชาวนาไทย
ผมคิดว่า กรอบการวิเคราะห์เรื่องการโยกย้ายใหญ่ จะนำไปสู่ความขัดแย้ง แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็จะมีปัญหา นั้นเป็นการวิเคราะห์ ภายใต้กรอบการเมืองเดิมก่อนปี 2549
ตอนนี้ภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย มันเปลี่ยนไปหมดแล้ว การวิเคราะห์โดยใช้กรอบเดิมนั้น ไม่อาจได้คำตอบที่ถูกต้องแล้ว การใช้สื่อปั่นกระแส ก็ไม่มีพลังเหมือนก่อนปี 2549 แล้ว เพราะคนไทยแบ่งออกเป็นสองฝ่ายแล้ว ฝ่ายเสื้อแดงก็ไม่สนใจสื่อว่าจะปั่นกระแสอย่างไรหรอก
หากพวกเสื้อเหลืองออกมา พวกเสื้อแดงจะออกมาปกป้องรัฐบาลของตนมากกว่าเสื้อเหลือง
ดัง นั้น คำพุดที่ว่า "คนชนบทเรื่องรัฐบาล คนกรุงเทพฯ ล้มรัฐบาล" นั้นไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว เพราะใน กทม. อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งที่เป็นเสื้อแดง และเป็นพวกที่ออกมาเคลื่อนไหวตลอดในช่วงปี 2550-2554 นี้ คนเสื้อแดงใน กทม. นี้ จะกลายเป็นพลังปกป้องรัฐบาลของพวกเขา
การใช้สื่อปลุกกระแส คนชั้นกลางใน กทม. ก็คงไม่มีผลถึงกับล้มรัฐบาลได้เหมือนในอดีต หากมีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลของพวกเสื้อเหลืองตามกระแสสื่อ พวกเสื้อแดงก็จะออกมาเหมือนกัน
เกมนี้ ผลของเกมจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป