WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 8, 2011

SIU รายงาน รัฐประหาร-คอรัปชั่น-การเมืองไม่นิ่ง ส่งผลความสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจไทยตก 1 อันดับ

ที่มา ประชาไท

SIU ระบุ World Economic Forum (WEF) ตีพิมพ์รายงานขีดความสามารถการแข่งขันระดับโลกปี 2011 – 2012 พบขีดความสามารถการแข่งขันไทยร่วง 1 อันดับจากอันดับ 38 ในปีที่แล้ว มาเป็นอันดับที่ 39 ในปีนี้จากทั้งหมด 142 ประเทศ โดยคะแนนรวมอยู่ที่ 4.52 คะแนน

สำหรับประเทศเอเชียอื่น ๆ ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่าไทยมีดังต่อไปนี้

SIU รายงาน รัฐประหาร-คอรัปชั่น-การเมืองไม่นิ่ง ส่งผลความสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจไทยตก 1 อันดับ

อันดับ 37 บาห์เรน (อันดับคงที่) คะแนนรวม 4.54 คะแนน
อันดับ 34 คูเวต (อันดับเพิ่มขึ้น 1 อันดับ) คะแนนรวม 4.62 คะแนน
อันดับ 32 โอมาน (อันดับเพิ่มขึ้น 2 อันดับ) คะแนนรวม 4.64 คะแนน
อันดับ 28 บรูไน (อันดับคงที่) คะแนนรวม 4.78 คะแนน
อันดับ 31 สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ (อันดับร่วงลงมา 2 อันดับ) คะแนนรวม 4.89 คะแนน
อันดับ 30 จีน (อันดับเพิ่มขึ้น 1 อันดับ) คะแนนรวม 4.90 คะแนน
อันดับ 24 เกาหลีใต้ (อันดับร่วงลงมา 2 อันดับ) คะแนนรวม 5.02 คะแนน
อันดับ 21 มาเลเซีย (อันดับเพิ่มขึ้น 5 อันดับ) คะแนนรวม 5.08 คะแนน
อันดับ 14 กาตาร์ (อันดับเพิ่มขึ้น 3 อันดับ) คะแนนรวม 5.24 คะแนน
อันดับ 13 ไต้หวัน (อันดับคงที่) คะแนนรวม 5.26 คะแนน
อันดับ 11 ฮ่องกง (อันดับคงที่) คะแนนรวม 5.36 คะแนน
อันดับ 13 ญี่ปุ่น (อันดับร่วงลงมา 3 อันดับ) คะแนนรวม 5.40 คะแนน
อันดับ 3 สิงคโปร์ (อันดับเพิ่มขึ้น 1 อันดับ) คะแนนรวม 5.63 คะแนน

ส่วนประเทศที่มีขีดความสามารถการแข่งขันเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นอันดับเดียวกับปีก่อนนี้โดยทำคะแนนรวมได้ที่ 5.74 คะแนน ในขณะที่ประเทศที่ได้อันดับรองลงไปคือ สิงคโปร์ (5.63), สวีเดน (5.61), ฟินแลนด์ (5.47), สหรัฐอเมริกา (5.43), เยอรมนี (5.41), เนเธอร์แลนด์ (5.41), และ เดนมาร์ก (5.40) ตามลำดับ

หากเทียบพัฒนาการด้านรายได้ประชาชาติต่อหัว (GDP per capita) พบว่าในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 1986 ประเทศไทยทำได้อยู่เหนือเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเชีย

WEF ได้มีการแบ่งคะแนนขีดความสามารถการแข่งขันออกเป็น 3 ด้านใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ (1) ความต้องการพื้นฐาน (น้ำหนัก 40%) ไทยทำได้ 4.9 คะแนน ถือเป็นอันดับที่ 46 โดยหัวข้อย่อยในหมวดนี้จะประกอบไปด้วย ความเป็นสถาบัน, โครงสร้างพื้นฐาน, สภาพแวดล้องทางเศรษฐกิจมหภาค, การศึกษาขึ้นพื้นฐานและสาธารณสุข (2) ปัจจัยการขยายประสิทธิภาพ (น้ำหนัก 50%) ไทยทำคะแนนในหมวดนี้ได้ 4.4 คะแนนถือเป็นอันดับ 43 โดยหัวข้อย่อยในหมวดนี้จะประกอบไปด้วย การศึกษาและการฝึกอบรมขึ้นสูง, ประสิทธิภาพตลาดสินค้า, ประสิทธิภาพตลาดแรงงาน, การพัฒนาตลาดการเงิน, ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี และขนาดตลาด (3) ปัจจัยด้านนวัตกรรมและปัจจัยที่ซับซ้อนขึ้น (น้ำหนัก 10%) ไทยทำคะแนนในหมวดนี้ได้ 3.7 คะแนน ถือเป็นอันดับ 51 โดยหัวข้อย่อยในหมวดนี้ประกอบไปด้วย ความซับซ้อนด้านธุรกิจ และนวัตกรรม

สำหรับสาเหตุ 3 อันดับแรกที่สร้างปัญหาต่อการประกอบธุรกิจในไทยนั้น WEF พบว่าสาเหตุมาจาก ความไม่มั่นคงของรัฐบาลและการรัฐประหาร (15.2 %) ตามมาด้วย การคอรัปชั่น (14.5 %) และการเมืองไม่เสถียร (12.9%) ตามลำดับ

ทั้งนี้ WEF จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย ประสิทธิภาพ ซึ่งกำลังจะก้าวเป็นขั้นเปลี่ยนผ่านเพื่อไปสู่ประเทศที่ใช้เทคโนโลยีขับ เคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

เข้าดูและดาวน์โหลดรายงาน The Global Competitiveness Report 2011-2012 ได้ที่เว็บไซต์ของ WEF