ที่มา ประชาไท
(ที่มาของภาพ http://www.globalresearch.ca/index.php?context=va&aid=22278)
การจับกุม และตามมาด้วยการพระราชทานอภัยโทษให้แก่ชาวสวิสคนหนึ่งที่ถูกข้อหากระทำการดู หมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นั้น เป็นบทเรียนของการพระราชทานอภัยโทษอย่างรวดเร็วในคดีหมิ่นฯ ที่ทำโดยชาวต่างชาติ รายละเอียดตามที่เคเบิ้ลทางการทูตของสหรัฐฯที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขียนโดยทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2550 ราล์ฟ บอยส์ มีข้อความว่า ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นอาจเรียกได้ว่าถูกใช้เป็น “เครื่องมือทางการเมือง” เช่นนั้นแล้ว ในกรณีที่ประชาชนชาวอเมริกันเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีนี้ รัฐบาลสหรัฐฯจึงควรจะ “เงียบเอาไว้”
ในเคเบิ้ลที่ให้ชื่อว่า “คู่มือของการรอดพ้นจากคดีหมิ่นพระบรมฯ จากกรณีของชาวสวิสฯ” นั้น สะท้อนให้เห็นถึงเคเบิ้ลทางการทูตเมื่อปี 2550 เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของ โอลิเวอร์ จูเฟอร์ (Oliver Jufer) ชาวสวิสฯ คนหนึ่งที่ถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและต้องโทษจำคุกมากถึง 75 ปี จากการยอมรับสารภาพว่า จะไม่แสดงความเห็นในทางที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ และจะได้รับการลดโทษลงเหลือจำคุกเพียง 10 ปี เขาถูกปล่อยตัวจากการพระราชทานอภัยโทษหลังจากที่ถูกจำคุกอยู่เพียงแค่ 13 วัน
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิ่งเต้นเพื่อแก้ปัญหาในคดีที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนี้ เป็นที่ “ตื่นตกใจแก่ชาวสวิสฯ” ตามที่ทูตบอยส์เขียน “ประสบการณ์ของชาวสวิสฯ กับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น บอกถึงของการตอบสนองอันเป็นไปได้ของ (รัฐบาลสหรัฐฯ) ในกรณีที่ (ชาวอเมริกัน) ถูกกล่าวหาว่า ทำผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ท่านทูตได้เขียนไว้ว่า:
ในกรณีฉุกเฉินนั้นให้เงียบเอาไว้:
รัฐมนตรีลอเออร์ (Lauer) (ของสวิสเซอร์แลนด์) ให้เครดิตเกี่ยวกับคดีที่จูเฟอร์ (Jufer) ได้รับพระราชทานอภัยโทษอย่างรวดเร็วว่า มาจากการที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไม่ได้แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าหน้าที่ ของไทยโดยการออกมาให้ความเห็นแก่สาธารณะ เพราะว่ากระทำเช่นนั้นอาจจะนำไปสู่การยั่วยุให้สาธารณชนเกิดความโกรธเนื่อง จากพระมหากษัตริย์นั้นเป็นที่เทิดทูนมาก
ลอเออร์ (Lauer) อ้างว่า การให้ความสนใจมากเป็นพิเศษของสื่อ และการร้องแรกแหกกระเชอของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ต่อการปล่อยตัวของจูเฟอร์ (Jufer) จะทำให้มีความยากลำบากต่อการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับตัวแทนการเจรจาของทาง การไทย ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นต่อสายตาของสาธารชนชาวสวิสฯ ว่าทางการได้ทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหานี้
ที่ผ่านมาชาวต่างชาติที่ถูกข้อหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีค่อนข้างน้อย ลอเออร์ (Lauer) ได้เตือนว่า หากมี (ชาวอเมริกัน) ที่ถูกจองจำด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การวิพากษ์วิจารณ์ในที่สาธารณะ หรือความพยายามอุทธรณ์ของเจ้าหน้าที่ (รัฐบาล) สหรัฐฯ จะเท่ากับเป็นการ “ราดน้ำมันใส่ในกองไฟ”
เห็นได้ชัดว่ามันเป็นจริงตามที่กล่าวไว้ ในคดีที่มีการเอาเรื่องนี้ออกสู่สาธารณะของนายโจ กอร์ดอน ชาวอเมริกัน อายุ 54 ปีที่ถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเดือนพฤษภาคม กรณีที่ให้ลิ้งค์เพื่อดาวน์โหลดบทแปลของ “The King Never Smiles” ซึ่งเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทย เขาอาจจะถูกจองจำโดยที่ยังไม่มีการส่งฟ้องต่อศาลเป็นระยะเวลา 84 วัน ขณะนี้นายกอร์ดอนยังอยู่ในช่วงการจำคุกเพื่อรอวันไต่สวน
ในคดีของนายกอร์ดอน เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ได้ทำการกดดันผ่านสาธารณะ เพื่อให้มีการปล่อยตัว และให้มีการดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนอย่างรวดเร็ว ในขณะนี้ตัวแทนของสถานทูตสหรัฐฯ นั้นไม่ใช่ทูตบอยส์แล้ว แต่คือทูตคริสตี้ เคนนี่ย์ ซึ่งได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับคดีนี้ โดยเรียกร้องให้ “เจ้าหน้าที่รัฐไทยเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก”
เล่นเกมการเมือง
ตามที่ระบุในเคเบิ้ล ประสบการณ์ของชาวสวิสฯ ต่อคดีหมิ่นพระบรมเดชนุภาพฯ ยังได้ชี้ให้เห็นถึง “ปฏิกิริยาของสำนักพระราชวัง อันเป็นที่เห็นได้ยากต่อกรณีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”
“พระราชวังนั้นอ่อนไหวต่อความเป็นไปได้ของการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ไปในทางที่ผิดเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง” ทูตบอยส์กล่าว “การกล่าวหาผู้อื่นโดยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เห็นได้ชัดว่าเป็นอาวุธที่น่าเกรงขามอันหนึ่งในทางการเมือง (...) พระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า จะพระราชทานอภัยโทษแก่ทุกคนที่ทำผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในกรณีการปล่อยตัวของจูเฟอร์ (Jufer) ที่รวดเร็วกว่าที่คาดไว้ ดูเหมือนจะชี้ให้เห็นท่าทีของพระราชวังที่มีความอึดอัดต่อเข้มงวดของกฎหมาย ตัวนี้”
เคเบิ้ลยังกล่าวถึง “การยกเลิกข้อหาที่คล้ายกันต่ออดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร” โดยบอกว่า “ผู้นำประเทศของไทยที่ถูกชิงอำนาจโดยการทำรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายนในปี 2549 ด้วยเหตุผลที่ว่า...ทักษิณ ชินวัตรนั้นดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์”
“อัยการได้ยกฟ้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อทักษิณเพียงแค่หนึ่งวัน ก่อนที่จะมีการพระราชทานอภัยโทษให้แก่จูเฟอร์ (Jufer) ถึงแม้ว่ายังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ทั้งสองเหตุการณ์นี้มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ แต่เป็นไปได้มากทีเดียวที่ทางพระราชวังไม่ต้องการให้การกล่าวหากันโดยใช้ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือขัดต่อความสัมพันธ์กับประเทศอื่น
เคเบิ้ลทั้งหลายที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ได้ถูกจัดให้เป็นข้อมูลลับ แต่ถูกจัดให้เป็น ‘สำหรับใช้ในทางการเท่านั้น’ และเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่เป็นที่ถกเถียงกันมาก ด้วยเหตุที่วิกิลีกส์ได้ปล่อยข้อมูลโดยไม่เซ็นเซอร์ชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องออก มาจำนวน 251,287 เคเบิ้ล
วิกิลีกส์ยังคงมีผลกระทบต่อความอ่อนไหวในประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของไทยได้ “ใช้อำนาจฉุกเฉินในการปิดกั้นการเข้าถึงของเว็บไซต์วิกิลีกส์ ด้วยเหตุผลที่ขัดต่อความมั่นคง”
ในเดือนมิถุนายน มีการปิดกั้นการเข้าถึงงานวิเคราะห์ประวัติศาสตร์อันยาวเหยียดที่ใช้ข้อมูล ส่วนใหญ่จากวิกิลีกส์ ‘Thai Story: A Secret History of 21st Century Siam’ เขียนโดยอดีตนักข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ แอนดรูว์ แม็คเกรเกอร์ มาร์แชล เป็นที่กล่าวกันว่า เนื้อหานั้นถูกเขียนขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากวิกิลีกส์เคเบิ้ล และงานทางวิชาการที่มีเนื้อหาออกไปทางหมิ่นเหม่สถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นผลให้นายมาร์แชลไม่สามารถกลับเข้าไปในประเทศไทย ด้วยเหตุที่เขาอาจจะถูกหลายข้อหาเกี่ยวกับกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
“เนื้อหาในเคเบิ้ลบอกว่า ชาวต่างชาติที่ถูกตัดสินให้โทษในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ทางสถานทูตของแต่ละประเทศ ควรจะทำงานอย่างเงียบเชียบอยู่เบื้องหลัง, หลีกเลี่ยงการร้องแรกแหกกระเชอในสื่อต่างๆ, เคารพในกฎหมาย, และคาดหวังสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งก็คือการพระราชทานอภัยโทษ” มาร์แชลกล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
“ในขณะที่ยุทธวิธีนี้อาจจะได้ผลบ้างในบางกรณี แต่มันก็ไม่ถือว่าเป็นประโยชน์ในระยะยาว ด้วยเหตุที่ว่ามันยังเป็นการยอมให้กฎหมายที่ล้าหลังและกดขี่นี้ยังมีอยู่ต่อ ไปโดยไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ หรือตั้งคำถามในระดับนานาชาติในยุคศตวรรษที่ 21 นี้
ถึงเวลาแล้วที่นานาชาติจะมองภาพใหญ่ที่ชี้ว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ‘ผิด’ ชาวไทยและต่างชาติทุกคนจะต้องไม่เจอกับโทษจำคุก เพียงเพราะว่าพวกเขาแค่แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ประเทศไทยควรจะมีการ ปกครองอย่างไร ประเทศไทยควรถูกประณามเรื่องการใช้กฎหมายนี้จนกว่ามันจะถูกยกเลิกไป”
.............................
หมายเหตุ: ลิซ่า การ์ดเนอร์เป็นนักข่าวอิสระ และนักเขียนประจำอยู่ในกรุงเทพฯ, ประเทศไทย ติดตามเธอบนทวิตเตอร์ได้ที่ @leesebkk