ที่มา Thai E-News
เฟซบุ๊ค SunaiFanclub DemocratsFreedom Thailand รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ส.ส.สุนัย จุลพงศธร พร้อมด้วย ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์และคณะได้เดินทางไปศาลอาญาระหว่าประเทศ ซึ่งมีบัลลังก์ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในการณ์นี้ ส.ส.สุนัย ในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศได้นำคณะเข้าเยี่ยมศาลอาญาระหว่าง ประเทศ-International Criminal Court (ICC.) เพื่อเยี่ยมคารวะ นายฮันส์-พีเทอร์ โคล (Hans-Peter Kaul) รองประธานคนที่2 รักษาการในตำแหน่งประธานศาลอาญาระหว่าประเทศ
จากนั้นได้เข้าพบกับตัวแทนสำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้ปรึกษาหารือกันถึงข้อกฎหมายตามธรรมนูญกรุงโรมฯ ถึงกระบวนการของการนำคดีสู่ ICC ของแต่ละประเทศ โดยได้สอบถามถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงในการสังหารหมู่ ประชาชนในไทยเมื่อวันที่ 10 เมษายน ถึง 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งทาง ICC. ก็รับทราบมาก่อนแล้ว กำลังเป็นที่สนใจและอยู่ในกระบวนการการศึกษาของคดีนี้อย่างใกล้ชิดโดยสำนัก งานอัยการ ICC. พร้อม กันนี้ ส.ส.สุนัย ได้ยื่นหนังสือสรุปเหตุการณ์ความรุนแรงจนไปสู่การสังหารหมู่ประชาชนให้แก่ ท่านอัยการสูงสุด คือ นาย ลูอีส มอเรโน โอคัมโพ (Luis Moreno Ocampo) โดยลงหนังสือวันที่ 9 ธันวาคม 2554 โดยมอบผ่านตัวแทนสำนักงานอัยการ ICC.
มี การสนทนาถึงความเป็นมาของ ICC. และบทบาทในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศที่เป็นชาติสมาชิกกับรักษาการ ประธานICC มร.ฮันส์ ได้กว่าได้กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีหลายประเทศได้มีความตื่นตัวที่จะเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก ICC. แล้วกล่าวต่ออีกว่าท่านเคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยเมื่อเดือน มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่ท่านจะเดินทางมายังไทยนั้น ICC. มีสมาชิก 114 ประเทศ แต่เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของโลกปัจจุบันเพียง 10 เดือนจนถึงวันนี้ได้มีสมาชกเพิ่มขึ้นเป็น 120 ประเทศ และประเทศที่อยู่ใกล้ๆประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มชาติอาเซียนที่เป็นสมาชิก ICC. แล้วอย่างสมบูรณ์ คือ ประเทศฟิลิปปินส์ กับ กัมพูชา และขณะนี้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ กำลังดำเนินการที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกและลงนามในสัตยาบันเข้าร่วมเป็น สมาชิกโดยสมบูรณ์ต่อไป
ท่านยังกล่าวต่ออีกว่าเป็นความเข้าใจผิดในเรื่องของการที่ประเทศที่เป็น สมาชิก ICC. แล้วจะเป็นการลิดรอนอำนาจอธิปไตยทางศาลของแต่ละประเทศเพราะว่า ICC. นั้นจะต้องเคารพอธิปไตยของศาลในประเทศนั้นๆด้วย แล้วเรื่องทั้งหมดนั้นจะต้องเริ่มที่ศาลของประเทศนั้นๆก่อน เว้นเสียแต่ว่าประเทศนั้นๆมีภาวะสงครามหรือเหตุความจำเป็นต่างๆที่ทำให้ไม่ สามารถจะดำเนินการให้ความเป็นธรรมได้ เรื่องต่างๆเหล่านั้นจึงจะเข้าระบบงานของ ICC. และหากเข้ามาอยู่ในระบบของ ICC. แล้วก็จะให้ความช่วยเหลือทางด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวกับระบบความ ยุติธรรมของนานาชาติที่เป็นสมาชิกร่วมกัน
ขณะนี้ ICC. มีผู้พิพากษาที่เป็นตัวแทนจากชาติสมาชิกต่างๆ 15 ท่านโดยประมาณ แต่เป็นที่น่าสนใจก็คือใน 15 ท่านนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
ในวันเดียวกันนี้ ส.ส.สุนัย และคณะ ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีใหญ่สำคัญคดีหนึ่งที่โด่งดังและให้ความ สนใจไปทั่วโลกแบบสดๆ คือ คดีอาญากรรมต่อมนุษยชาติและอาญากรรมสงครามของ อดีตประธานาธิบดีประเทศไอวอรีโคสต์ นาย จีน-ปิแอร์ บิมบา กอมโบ (Jean-Pierre Bemba Gombo) ซึ่งเป็นคดีล่าสุดที่ถูกระบุว่ามีประชาชนอย่างน้อย3,000คนเสียชีวิตแต่ยัง ไม่นับบาดเจ็บ พิการ และสูนหาย ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2553 ที่มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่เนื่องจาก นายกอมโบ แพ้การเลือกตั้งดังกล่าวแต่กลับไม่ยอมลงจากอำนาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจ และมีการต่อต้านจากประชาชนทำให้เกิดความรุนแรงมีการสั่งปราบปรามประชาชน อย่างหนักโดยกองกำลังของ นายกอมโบ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการจับกุมนักโทษทางการเมืองที่เข้าร่วมในการณ์นี้มากกว่า500คน แต่ในภายหลังโดยการช่วยเหลือจากกองกำลังนานาชาตินำโดย ฝรั่งเศส และ ยูเอ็น ได้ใช้กำลังเข้าแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูและช่วยจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นในที่สุด นายกอมโบ ก็ถูกจับกุมตัวได้และถูกกักบริเวณไว้ที่บ้านของตนตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 แล้วในที่สุดก็ถูกนำตัวไปดำเนินคดีที่ ICC. เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับคดีเป็นกรณีศึกษาเป็นอย่ายิ่งคือ ประเทศไอวอรีโคสต์มิได้เป็นสมาชิกหรือภาคีแต่อย่างไดตามธรรมนูญกรุงโรมว่า ด้วยศาลอาญาระหว่าประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) แต่ยังสามารถนำตัว นายกอมโบ ขึ้นดำเนินคดีต่อ ICC. ได้โดยการที่รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีคนใหม่ได้ประกาศยอมรับเขต อำนาจของ ICC. ทั้งนี้เป็นไปตาม
“มาตรา 12 ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ระบุถึงเงื่อนไขเบื้องต้นในการใช้เขตอำนาจศาลดังนี้
…
ข้อ 3 ในกรณีที่รัฐใด ๆ ไม่ได้เป็นภาคีต่อธรรมนูญกรุงโรมตามข้อกำหนดในย่อหน้า 2 รัฐดังกล่าวก็อาจยอมรับการปฏิบัติตามเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศตาม ความผิดที่มีขึ้นได้ ทั้งนี้โดยการแจ้งความจำนงต่อนายทะเบียนของศาล...”
แต่เป็นการประกาศยอมรับเฉพาะคดีนี้เท่านั้นดังนั้น ICC. จึงมีอำนาจในการพิจารณาคดีดังกล่าว
สำหลับประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ในสมัยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย แต่ยังมิได้ลงนามในสัจยาบันจนถึงขณะนี้ เนื่องจากต้องพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่กำหนดไว้ก่อน โดยก่อนหน้าการลงนามคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 แต่งตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ” ทั้งหมด 16 ท่าน โดยมีตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ อาทิ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ,กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานอัยการสูงสุด, ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, องค์การระหว่าประเทศ, เจ้าหน้าที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศอีก 3 คน เป็นเลขานุการ ผู้ช่วยเลขาฯ
นอกนั้นทั้งหมดเป็นคณะกรรมการโดยมี อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ เป็นประธานฯ เมื่อพิจารณาแล้วเห็นควรเหมาะสมถูกต้องจึงมีมติเห็นชอบในสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัยจึงเข้าร่วมลงนามเข้าเป็นสมาชิกของ ICC. แต่ในทางปฏิบัติจำเป็นจะต้องดำเนินการปรับกระบวนการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับ กฎหมายระหว่าประเทศและจะต้องลงนามในสัตยาบันเข้าเป็นภาคีแต่เหตุการณ์ก็ปล่อยทิ้งมากว่า 10 ปีแล้วไม่ได้ดำเนินการให้เป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์จนถึงปัจจุบัน
สำหรับประธานศาลอาญาระหว่าประเทศคนปัจจุบันท่านนี้น่าสนใจมากเพราะเป็นชาว เอเชีย ชื่อ นาย ซอง ซาง-ฮยุน (Song Sang-Hyun) ซึ่งเป็นชาวเกาหลีใต้ ในการสนทนาในครั้งนี้ท่านประธานฯ ได้สื่อผ่านทาง มร.ฮันส์ รองประธานคนที่2 ซึ่งเป็นรักษาการประธานฯ ขอให้ ส.ส.สุนัย ในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศได้นำความเข้าใจอันดีและถูต้องนี้ไปเผย แพร่ต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐบาล, สภา, หน่วยงานทหาร, ศาล และประชาชน เพื่อเชิญชวนให้ประเทศไทยได้ลงนามในสัตยาบันเข้าเป็นภาคีโดยสมบูรณ์