WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 3, 2009

ที่มา Thai E-News

ที่มา The Economist:
http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=13415804

แปลโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
3 เมษายน 2552

ยังไม่มีสัญญาณไฟเขียว



กลับไปสู่อุปสรรค










สัญญาณไฟจราจรจะเปลี่ยนจากแดงเป็นเหลือง แต่สำหรับการเมืองไทยมันตรงกันข้าม ปีที่แล้วเป็น "เสื้อเหลือง" ของฝ่ายขวาจัดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บุกรุกเข้าไปในบริเวณสำนักงานของนายกรัฐมนตรี ทำให้ประเทศตกสู่สภาพง่อยเปลี้ย และทำให้รัฐบาลต้องถูกกำจัดออกไป และตอนนี้หลังจากที่มีความสงบอยู่ไม่กี่เดือน ผู้ประท้วงเสื้อแดงหลายหมื่นคนก็ได้โอบล้อมทำเนียบ และเรียกร้องให้นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะลาออก และชูภาพของพตท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกที่ชนะการเลือกตั้งสองสมัยซึ่งถูกโค่นล้มโดยทหารเมื่อปี 2549



พตท.ทักษิณผู้ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีหลบหนีคดีในศาลไทยและโฉบไปมาระหว่างที่หลบซ่อนเสนอตนเองเป็นผู้นำในรูปแบบ CEO ที่จะกลับมากู้วิกฤตเศรษฐกิจของชาติ "ผมจะทำสิ่งมหัศจรรย์สำหรับทุกคน" เขากล่าว แต่นั่นเป็นข้อเสนอที่น่าสงสัยอย่างไม่น่าสงสัยโดยเฉพาะสำหรับประเทศที่ได้เสียเวลาไปสามปีกับความวุ่นวายทางการเมืองและการปกครองที่ผิดหลักโดยกองทัพ แต่เป็นเพราะความไม่พอใจทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเพราะภาวะถดถอยทั่วโลก และความโกรธ ความขยะแขยงนายอภิสิทธิ์และทหารที่สนับสนุนเขา ที่ทำให้วลีนี้เป็นที่ชื่นชอบอย่างกว้างขวาง



นายอภิสิทธิ์ได้ระมัดระวังตัวโดยไม่ออกหน้าออกตาและเข้าร่วมประชุมสุดยอด G20 ที่กรุงลอนดอนในฐานะตัวแทนของกลุ่มประเทศอาเซียน ระหว่างที่เขาไม่อยู่ รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณเสนอให้มีการเจรากับพตท.ทักษิณ แต่ข้อเรียกร้องที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ไม่อยู่ในการพิจารณา เขาเสริม



การเมืองไทยเริ่มเป็นการแลกหมัดความคับแค้นใจ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พตท.ทักษิณได้กล่าวหาประธานองคมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ ว่าได้มีส่วนร่วมยุยงให้เกิดการรัฐประหารปี 2549 รวมไปถึงสุรยทธ จุลานนท์ ซึ่งเป็นองคมนตรีอีกบุคคลหนึ่งผู้ซึ่งภายหลังได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี บุคคลทั้งสองได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยรวมแล้วพตท.ทักษิณกล่าวหาชนชั้นสูงของไทยที่ได้ทำลายประชาธิปไตย และเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่างให้ลุกขึ้นมาทวงสิทธิของพวกเขา ในการใช้โวหารเกี่ยวกับสงครามแห่งชนชั้นนั้น พตท.ทักษิณกำลังเล่นอยู่กับไฟ และในการพุ่งเป้าไปที่พล.อ.เปรมซึ่งเป็นประธานองคมนตรี เขาได้ละเมิดสิ่งที่ต้องห้ามเกี่ยวกับราชวงศ์ในประเทศไทย ไม่เว้นแต่คำปฎิญาณความจงรักภักดีของเขาต่อราชบัลลังค์



องคมนตรีมีหน้าที่ในการรับใช้กษัตริย์และการเรียกร้องให้พวกเขาลาออกอย่างน่าละอายใจถูกมองว่าเป็นเขาก้าวเข้าไปครึ่งหนึ่งแล้วต่อการท้าทายสถาบันกษัตริย์โดยตรง นักวิเคราะห์การเมืองนายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์กล่าว การชุมนุมประท้วงบนถนนครั้งล่าสุดอาจยกระดับความขัดแย้งทางการเมืองของไทยไปสู่ขั้นใหม่และอันตรายยิ่งกว่า

No green light

Apr 2nd 2009 BANGKOK From The Economist print edition

Back to the barricades


Thaksin sounds the red alert



TRAFFIC lights go from red to yellow. Thai politics goes the other way. Last year it was the "yellow shirts" of the royalist People’s Alliance for Democracy (PAD) who stormed the prime minister’s compound, bringing the country to its knees and forcing the government out. Now, after a few months’ calm, tens of thousands of redshirted protesters are surrounding the compound, demanding the resignation of the prime minister, Abhisit Vejjajiva, and holding up portraits of Thaksin Shinawatra, the twice-elected prime minister deposed by the army in 2006.

A wealthy fugitive from Thai courts, Mr Thaksin flits between bolt holes, offering himself as a CEO-style leader who will return to save the nation from economic calamity. "I will do magic for you," he coos. A dubious offer, no doubt, for a country that has already lost three years to political turmoil and military misrule. But it is a measure of the economic discontent fuelled by worldwide recession, and the anger and disgust at Mr Abhisit and his military backers, that such rhetoric is wildly popular.

Mr Abhisit has prudently kept out of sight, attending the G20 summit in London on behalf of the Association of South-East Asian Nations (ASEAN). In his absence, the deputy prime minister, Suthep Thaugsuban, offered to hold talks with Mr Thaksin. But any demands for snap elections would not be on the table, he added.

Thai politics is becoming a grudge match. On March 27th Mr Thaksin accused Prem Tinsulanonda, the chief adviser to King Bhumibol, of helping to instigate the 2006 coup, together with Surayud Chulanont, another adviser who became prime minister. Both men deny the charges. More broadly, Mr Thaksin accuses the Thai aristocracy of suppressing democracy and urges his followers, who are largely lower middle-class, to rise up and reclaim their rights. In using such class-war rhetoric, Mr Thaksin is playing with fire. And by sniping at Mr Prem, the chairman of the Privy Council, he is breaking Thailand’s royal taboo, Mr Thaksin’s pledges of loyalty to the crown notwithstanding.

Privy Councillors serve at the king’s discretion so urging them to quit in shame is widely seen as a "half step" from directly challenging the monarch, says Thitinan Pongsudhirak, a political analyst. The latest round of street demonstrations could take the endless feuding of Thai politics to a new, more dangerous level