WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 19, 2009

‘อภิสิทธิ์’ วอนสื่อช่วยยุติความรุนแรง ไม่ห่วงเสื้อแดงเปิดตัว “เดอะเรดนิวส์” ถ้าอยู่ในกรอบกฎหมาย

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 52 ที่วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์พัทยา) จ.ชลบุรี เมื่อเวลา 09.30 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา อมันตกุล และสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้จัดประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดับชาติ หัวข้อ บทเรียนสื่อ อำนาจรัฐ อำนาจทุน อำนาจประชาชนโดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ปาฐกถาในหัวข้อ ร่วมกันคิดทิศทางสื่อ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลักที่ตนใช้มาแต่ต้น และเชื่อตลอดมา คืออยากเห็นสื่อมีอิสระ ซึ่งตนไม่ค่อยพูดเรื่องความเป็นกลางเพราะมองว่า ทุกคนก็ย่อมมีความเห็น จึงขอเพียงมีอิสระ และทำงานบนความรับผิดชอบ รัฐบาลจะอำนวยให้สื่อทำงานบรรลุเป้าหมายได้ และจะส่งเสริมวิชาชีพ จำกัดอิทธิพลจากอำนาจรัฐ อำนาจทุน ทั้งนี้สถานการณ์ปัจจุบัน มีความขัดแย้งค่อนข้างสูง สื่อก็ต้องมีบทบาทยุติความ รุนแรงต่าง ๆ และช่วยคิดว่า การสร้างความสงบเรียบร้อยโดยดำรงความเป็นอิสระมีความพอดีอยู่ตรงไหน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลอยากสอบถาม เพื่อส่งเสริมการทำงานของสื่อคือ 1.การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสื่อ มีปัญหาอุปสรรคหรือ ไม่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสามารถใช้ได้หรือไม่ 2.รัฐบาลจะตรวจสอบความเป็นไปได้ในการผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองวิชาชีพสื่อ ซึ่งพบว่า ยังไม่มีความคืบหน้า ก็จะดูว่า มีจุดติดขัดอะไร 3.การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ว่าจะดำเนินการในส่วนของวิทยุชุมชน เคเบิลทีวีอย่างไร และ4.อยากแลกเปลี่ยนกับสื่อเรื่องการทำงาน ในภาวะความขัดแย้งในสังคม

จากนั้นได้มีการเปิดให้ผู้ร่วมสัมมนาแสดงความเห็น โดยมีการตั้งประเด็นที่สำคัญเรื่องกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อ เมื่อถูกฟ้องร้องคดีอาญา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในเรื่องการฟ้องหมิ่นประมาทนั้น ขอแลกเปลี่ยน กับสื่อในฐานะผู้เสียหายบ้างว่าเราต้องดูว่าการวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อนั้นทำโดยพื้นฐานของความสุจริตหรือไม่ มีหลักฐานเชื่อถือได้หรือไม่ ถ้าเป็นการเสนอข่าวโดยไม่สุจริตมีการสมรู้ร่วมคิดกับอีกฝ่ายให้เกิดความเสียหาย หรือไม่พิจารณาให้ดีก่อนนำเสนอ ก็จะกลายเป็นความไม่เป็นธรรมของผู้ถูกวิจารณ์

เช่นที่ตอนนี้มีคนกล่าวหาว่า ผมเป็นนักลวงโลก ไม่อยู่ในรถวันที่เกิดเหตุทุบรถที่กระทรวงมหาดไทยก็เอามาพูด ๆ จนผมชักจะงงๆ ว่าวันนั้นอยู่ในรถหรือเปล่า มีคนบอกให้ผมฟ้องเหมือนกัน ซึ่งผมคิดว่าถ้าสื่อมองว่าใครพูดก็ต้องรายงาน พูดบ่อยกว่าก็รายงานบ่อยกว่าก็ลำบากในการให้ความเป็นธรรม มันแปลกว่ามีคนตั้งใจทำร้ายผม แต่ตอนหลังเปลี่ยนให้ผมเป็นเชลยแล้วแบบนี้จะรู้สึกอย่างไร ผมได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ คนพูดไม่เคยรับผิดชอบเลยในการสร้างความเท็จ ส่วนที่มีการเสนอให้ต่อไปการฟ้องร้องเปลี่ยนเป็นการฟ้องแพ่งเพียงอย่างเดียวนั้น

นายกฯ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาผมเป็นนักการเมือง เวลาฟ้องใครไม่เคยฟ้องแพ่งเพราะไม่สนใจเรื่องเงิน สนใจแต่เรื่องชื่อเสียง แต่ผมกลับโดนฟ้องแพ่งด้วยถ้าแพ้ก็จ่ายหลายพันล้าน แต่โจทก์ไม่อยู่การฟ้องนั้นทำความลำบากใจให้บรรณาธิการ เพราะส่วนใหญ่ทนายจะแนะให้ฟ้องสื่อพ่วงด้วยเพื่อให้สื่อยืนยันว่า คนพูดนั้นพูดจริง ในอดีตพอมีปัญหาให้สื่อเป็นพยาน สื่อก็บอกไม่อยากยุ่ง ให้การว่าไม่รู้พูดจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจำเลย สุดท้ายส่วนใหญ่ก็ถอนฟ้องเฉพาะสื่อ ซึ่งเรื่องนี้ ผมรับฟังความเห็นเรื่องการแก้กติกา แต่ให้คิดในมุมของผู้เสียหายด้วย คนไม่ชอบ ขึ้นศาล ก็มีการพูดว่าถ้าไม่ฟ้องก็เท่ากับยอมรับว่าพูดจริงก็หงุดหงิดอย่างเวลาชี้แจงพื้นที่ที่ได้รับไม่เท่าพื้นที่ที่ถูกกล่าวหา

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเสนอข่าวสถานการณ์ความขัดแย้ง หรือเหตุ การณ์สลายการชุมนุมว่า เรื่องการวางแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับสื่อมวลชน แต่ต้องขอให้พิจารณาเป็นกรณี อย่างช่วงปฏิบัติการสงกรานต์ ตนยืนยันให้มีสื่ออยู่ในพื้นที่ แต่กรณีที่ฉุกเฉินเร่งด่วนก็เป็นปัญหาไม่สามารถประสานงานกับสื่อได้ทัน เช่น กรณีที่พัทยา คาดไม่ถึงว่าจะมีการบุกเข้าไปโรงแรมที่ประชุม อย่างไรก็ตาม อยากรับฟังความเห็นว่าจะลดความขัดแย้งในบ้านเมืองได้อย่างไร ปฏิบัติต่อสื่อวิทยุชุมชน สื่อโทรทัศน์ดาวเทียมอย่างไร หลักการคือเราต้องให้สิทธิเสรีภาพสื่อ แต่สิทธิเสรีภาพต้องไม่ถึงขนาดใช้สื่อประกาศให้คนทำผิดกฎหมาย เช่น ไปจับตัวคนนั้นคนนี้

เมื่อถามถึงกรณีการรณรงค์ให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะพฤติกรรมการบริโภคและเทคโนโลยีเปลี่ยนไป มีสื่อจำนวนมาก แต่ละคนมีเสรีภาพเลือกรับสื่ออย่างน้อยก็สื่ออินเทอร์เน็ต ที่จะอยู่ในกลุ่มที่เขาสนใจเรื่องเดียวกัน ยิ่งเป็นสื่อโทรทัศน์เคเบิล เดี๋ยวนี้มีคนชอบดูประท้วง 24 ชั่วโมง ดังนั้นต้องคิดว่าการใช้สื่อนั้นต้องมีความรับผิดชอบแค่ไหน และตั้งประเด็นเรื่องสื่อแท้สื่อเทียม หาความพอดีอย่างไรให้เห็นว่าสื่อไหนเสนอข่าว สื่อไหนเป็นเครื่องมือฝ่ายการเมืองก็หามาตรฐานตรวจสอบ

สำหรับกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะเปิดตัวหนังสือพิมพ์ เดอะเรดนิวส์ฉบับแรกในวันที่ 29 พ.ค.นี้ นายอภิสิทธิ์ ให้ความเห็นว่า อยู่ที่การทำงานของเขา ตนขอให้การเป็นสื่อนั้น เสนอข่าวสารตามปกติอย่าไปทำอะไรที่ผิดกฎหมาย ที่จริงแล้วใครจะเริ่มต้นใช้สื่ออะไรในการเผยแพร่ข่าวสารก็เป็นสิทธิและมีเสรีภาพที่จะทำอยู่ แต่ขอให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย มิฉะนั้นจะเกิดการกระทบกระทั่งกันตามกฎหมายอีก

ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ในงานดังกล่าว แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงยังมีการออกมาพูดเน้นประเด็นที่ว่าทหารฆ่าประชาชน เป็นห่วงหรือไม่ว่าหนังสือพิมพ์ที่จะออกมานั้นจะยิ่งเน้นการออกข่าวสารที่บิดเบือน นายกฯ กล่าวว่า ถ้ามีการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้วทำให้เกิดความเสียหายก็เป็นเรื่องผิดกฎหมายขออย่าไปทำ เพราะในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุม รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ยื่นข้อมูลเบาะแสต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการที่รัฐสภาตั้งขึ้นและรัฐบาลก็มีคณะกรรมการประมวลเหตุการณ์ แต่ถ้าไม่เชื่อรัฐบาลก็ให้ไปใช้เวทีของรัฐสภา ซึ่งจะเป็นการเหมาะสมที่สุดเพราะรัฐบาลก็ต้องการให้ความจริงทั้งหมดปรากฏ อย่าไปใช้ประเด็นเพื่อสร้างความขัดแย้ง

ส่วนการที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองจะเชิญตนไปให้ข้อมูลที่รัฐสภานั้น นายกฯกล่าวว่า จะเดินทางไปในวันที่ 18 พ.ค.นี้ ยืนยันว่าพร้อมให้ความร่วมมือทุกอย่างกับทางคณะกรรมการฯ เมื่อถามต่อว่าอยากให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงไปให้ข้อมูลด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าคณะกรรมการฯอยากได้ข้อมูลจากเขาหรือเขาคิดว่าอยากให้ข้อมูลอะไรที่สมควรเสนอต่อคณะกรรมการฯควรทำ

ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง กล่าวถึงการเชิญนายอภิสิทธิ์ นายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯมาให้ข้อมูลในวันที่ 18 พ.ค.ว่า การจะเชิญใครมาเป็นอำนาจของนายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานคณะกรรมการ เบื้องต้นวางกรอบการให้ข้อมูลแบบคร่าว ๆ ว่าจะให้ผู้เกี่ยวข้องมาเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 8-15 เม.ย. เนื่องจากกลุ่มคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยได้ตั้งข้อกังขาหลายประเด็น ส่วนการจะเชิญนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย มาให้ข้อมูลด้วยหรือไม่นั้น ถ้ากรรมการชุดใหญ่เห็นว่าจะมีประโยชน์ ก็สมควรเปิดโอกาสให้นายเนวินได้ชี้แจง โดยกำหนดวันชี้แจงข้อเท็จจริงเบื้องต้นไว้ 3 วัน ตั้งแต่ 18-20 พ.ค.นี้

ที่มา: http://www.dailynews.co.th