WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 22, 2009

ทูตเนเธอแลนด์โต้ บวรศักดิ์ : กฎหมายหมิ่นฯยุโรปไม่เหมือนของไทย -- Europe's lese majeste laws and the freedom of expression

ที่มา Thai E-News

โดย TJACO VAN DEN HOUT

ลงเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552
แปลโดย bbb ลงที่ประชาไทโดยคุณพาลีตรีเพชร http://www.prachataiwebboard.com/webboard/wbtopic2.php?id=804325
22 พฤษภาคม 2552

กฏหมายหมิ่นฯของยุโรปและเสรีภาพทางความคิดเห็น


สามบทความที่น่าสนใจลงในหนังสือพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ที่มีหัวข้อเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯซึ่งเขียนโดย ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (7, 8, 9 เมษายน 2552). ถึงแม้ว่าจะครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวางอย่างน่าชมเชย ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าผู้เขียนได้มองข้ามความจริงสองประการในการอธิบายสถานการณ์ในยุโรป


ประเด็นแรกคือการใช้กฎหมายหมิ่นฯและหลักการของการตัดสินของศาลบนพื้นฐานของกฏหมายนั้น
ประเด็นที่สองคือสถาบันกษัตริย์ของยุโรปที่ผู้เขียนอ้างอิงถึงในบทความล้วนอยู่ร่วมในอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms ("ECHR"). ผลกระทบจากกฎหมายที่มาจากคดี (case law) ECHR ต่อขบวนการยุติธรรมของคู่สนธิสัญญาไม่ควรถูกประเมินต่ำ
กฎหมายจากคดีท้องถิ่นในยุโรป (case law)
ในขณะที่ดร.บวรศักดิ๋ นำเสนอบทอธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของยุโรปบางสถาบันอย่างชาญฉลาดรวมถึงกฏหมายหมิ่นฯของประเทศนั้นๆ มันสำคัญเช่นกันที่จะต้องตระหนักว่าในประเทศที่เขากล่าวถึง กฎหมายดังกล่าวแทบจะไม่เคยนำมาใช้และถึงแม้ว่าจะใช้ บทลงโทษส่วนใหญ่จะเบามาก ยกตัวอย่างเช่นในการวิเคราะห์ case law ของ Dutch เผยว่ามีการตัดสินคดีว่าผิดและคดีดังกล่าวส่วนใหญ่จะมีการปรับเพียงเล็กน้อย
ในสหราชอาณาจักรกฎหมายตกอยู่ในสภาพเลิกใช้แล้วและระยะหลังๆก็ไม่มีตัวอย่างของคดีเช่นนี้ในประเทศเดนมาร์คและนอร์เวย์เช่นกัน เมื่อหนังสือแมกกาซีนล้อเลียนของเสปนถูกสั่งให้จ่ายเงินจำนวน 3,000 ยูโร จากการละเมิดกฏหมายหมิ่นฯเมื่อปี 2550 สมาชิกของรัฐสภายุโรปได้เรียกร้องให้การหมิ่นฯถูกกฏหมาย
หลักกฎหมายของ Strasbourg
ถึงแม้ว่าไม่มีคดีหมิ่นฯดังกล่าวในศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปในเมือง Strasbourg แต่มีสองกรณีที่ควรแก่การรับรู้เมื่อมีการถกกันเกี่ยวกับบทลงโทษของการหมิ่นฯที่เกี่ยวกับเสรีภาพทางการแสดงออกที่รับรองโดยมาตราที่ 10 ของอนุสัญญาแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ในคดีของ Colombani และคนอื่นๆ V France 2002 นักข่าวสองคนถูกตัดสินว่าผิดและต้องจ่ายค่าเสียหาย 5,000 ฟรังค์ และ 10,000 ฟรังค์ตามลำดับ จากการหมิ่นประมุขของรัฐ กษัตริย์ Hassan แห่งโมร็อคโค
ตอนแรกศาลชี้ว่าการปกป้องผู้นำของรัฐต่างชาติจากการถูกตำหนิเพราะเหตุผลเรื่องหน้าที่หรือตำแหน่งของเขาอย่างเดียวนั้น"ถือเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่พวกเขาอย่างที่ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติในยุคปัจจุบันและความคิดทางการเมือง"
นอกจากนั้น ศาลยังชี้แจงอย่างแจ่มแจ้งว่าการมีกฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดานั้น"เพียงพอต่อการปกป้องประมุขของรัฐและพลเมืองสามัญเช่นกันจากการกล่าวคำที่มีผลเสียหายต่อเกียรติยศหรือชื่อเสียงของพวกเขาหรือการหมิ่นประมาทพวกเขา" ถึงแม้ว่าการตัดสินคดีนี้เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศมันบ่งบอกว่าศาลพิจารณาว่าการลงโทษต่อการหมิ่นประมาทประมุขของรัฐนั้นมัน "ไม่จำเป็นในสังคมประชาธิปไตย" และมันขัดต่อสิทธิเสรีภาพทางการแสดงออกซึ่งรับรองโดยมาตรา 10 ของ ECHR มันสำคัญที่จะตั้งข้อสังเกตว่าโดยความเห็นของศาลนั้นแม้กระทั่งการที่ศาลแพ่งจะบังคับให้มีการจ่ายค่าเสียหายต่อการหมิ่นประมาทอาจละเมิดสิทธิของเสรีภาพการแสดงออกที่รับรองโดยมาตรา 10 ของ ECHR. โดยเฉพาะถ้าจำนวนเงินนั้นมากเกินไป ในคดีของ Pakdemirli V Turkey 2005 สมาชิกสภาได้ถูกสั่งโดยศาลแพ่งให้จ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวน 60,000 ยูโรจากการหมิ่นประมาทประธานาธิบดีของตุรกี
ประการแรกแรก ศาลพิจารณาว่ามันน่าตกใจที่การตัดสินของศาลแพ่งแสดงถึงความวิตกที่มากเกินไปต่อตำแหน่งประธานาธิบดี ประการที่สอง ในการอ้างอิงถึงการตัดสินของคดี Colombani ศาลชี้ว่าถึงแม้ว่าโดยหลักการแล้วการปกป้องโดยกฎหมายหมิ่นฯไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของอนุสัญญา แต่กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดาก็ "เพียงพอต่อการปกป้องประมุขของรัฐและพลเมืองสามัญเช่นกันจากการกล่าวคำที่มีผลเสียหายต่อเกียรติยศหรือชื่อเสียงของพวกเขาหรือการหมิ่นประมาทพวกเขา"
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ Mr. Van den Hout ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเอคอัครราชฑูตเนเธอร์แลนด์ประจำราชอาณาจักรไทย
Europe's lese majeste laws and the freedom of expression

By: TJACO VAN DEN HOUT
Published: 21/05/2009 at 12:00 AM
Newspaper section: News
Three interesting articles appeared recently in this newspaper on the topic of lese majeste, written by Dr Borwornsak Uwanno (April 7, 8 and 9, 2009). Although admirably comprehensive on many fronts, I note the author's omission of two important facts in describing the situation in Europe.

The first is the actual application of the lese majeste laws and the nature of the court decisions based on them. The second is that all European monarchies referred to in his series are party to the European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms ("ECHR"). The impact of ECHR case law on the legal systems of the contracting parties should not be underestimated.

European domestic case law
While Dr Borwornsak provides an insightful overview on a number of European monarchies and their laws on lese majeste, it is important to realise that in most of the countries mentioned, these laws are hardly ever applied and if they are, the punishment is usually mild.
An examination of Dutch case law, for instance, reveals that there are few convictions and that in most cases a simple fine is imposed. In the United Kingdom the law has fallen into disuse and there are no examples of recent cases in Denmark and Norway.
When a Spanish satirical magazine was convicted to pay a fine of 3,000 euros for violation of Spain's lese majeste laws in 2007, members of the European Parliament called for decriminalisation of lese majeste in Europe.
Strasbourg jurisprudence
Even though there have been no lese majeste cases as such at the European Court of Human Rights in Strasbourg, there are two cases that merit acknowledgement when discussing penalisation of lese majeste in relation to the freedom of expression as guaranteed by Article 10 of the European Convention on Human Rights.
In the case of Colombani and others v France 2002, two journalists were convicted and made to pay 5,000 francs and 10,000 francs, respectively, in damages for publicly insulting a foreign head of state, King Hassan II of Morocco.
The court first pointed out that shielding foreign heads of state from criticism solely on account of their function or status "amounts to conferring on [them] a special privilege that cannot be reconciled with modern practice and political conceptions".
Furthermore, the court made it very clear that the common offences of criminal defamation "suffice to protect heads of state and ordinary citizens alike from remarks that damage their honour or reputation or are insulting". Even though this judgement concerns defamation of foreign heads of state, it suggests that the court considers penalisation for defamation of a head of state not "necessary in a democratic society" and in conflict with the right of freedom of expression as guaranteed by Article 10 of the ECHR. It is important to note that according to the court, even a civil court order imposing an obligation to pay damages for defamation may violate the right of freedom of expression as guaranteed by Article 10 of the ECHR, in particular if the amount to be paid is excessive. In the case of Pakdemirli v Turkey 2005, a member of parliament was ordered by a civil court to pay damages of approximately 60,000 euros for insulting the Turkish president.
First of all the court considered it alarming that the judgement of the civil court expressed an over-anxiousness for the position of the president. Second, referring to its decision in the Colombani case the court pointed out that even though in principle the protection offered by a special defamation law is not contrary to the spirit of the Convention, common defamation laws "suffice to protect heads of state and ordinary citizens alike from remarks that damage their honour or reputation or are insulting".
This article reflects the personal views of Mr Van den Hout, who serves as Ambassador of the Kingdom of The Netherlands to the Kingdom of Thailand.