WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, May 17, 2009

อยู่หรือไป วัดใจพรรคร่วม

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_6338

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ผ่าสถานการณ์รอบด้านรัฐบาล "อภิสิทธิ์" อัตราเสี่ยงสูง

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวโหมกระพือออกมาว่า

รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อยู่ในอาการร่อแร่กำลังจะไปไม่รอด ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องประกาศยุบสภา

ด้วยเหตุผลจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ รวมไปถึงการทำงานที่ล้มเหลวของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ขณะเดียวกัน หลายพรรคการเมืองก็ได้ส่งสัญญาณให้ลูกพรรคลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ในช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ เตรียม พร้อมลงสนามเลือกตั้ง

ในขณะที่แกนนำรัฐบาลต่างดาหน้าออกมาปฏิเสธ ยืนยันพรรคร่วมรัฐบาลมีความแน่นแฟ้น เสถียรภาพมั่นคง ความเคลื่อนไหวนอกสภาคุมสภาพได้ ไม่มีปัญหา




บรรหาร ศิลปอาชา


อย่างไรก็ตาม เรื่องการยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน จะเกิดขึ้นในช่วงเร็วๆนี้ อย่างที่มีการประโคมข่าวกันหรือไม่

"ทีมข่าวการเมืองไทยรัฐ" ขอใช้โอกาสนี้ทำหน้าที่ตรวจ สอบสภาวะความเคลื่อนไหวทางการเมืองว่าจะเดินไปสู่จุดนั้นหรือไม่

โดยเริ่มจากการตรวจสอบบรรยากาศความเคลื่อนไหวทางการเมืองจากภายนอกประเทศ

ในเรื่องการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา หลังจากการประชุมที่พัทยาเมื่อวันที่ 11 เมษายน ต้องล่มกลางคัน เพราะม็อบเสื้อแดงบุกป่วน

รัฐบาลได้วางแผนจะจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจารอบใหม่ ที่จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 13-15 มิถุนายนนี้

แต่ล่าสุด นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และนายกฯอภิสิทธิ์ ก็ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า




เนวิน ชิดชอบ

ต้องเลื่อนการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจาออกไปเป็นเดือนตุลาคม

เนื่องจากผู้นำหลายประเทศติดภารกิจในการเยือนประเทศต่างๆ ในขณะที่บางประเทศจะมีการเลือกตั้ง

ถือเป็นความไม่สะดวกในเรื่องเวลาของผู้นำประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศคู่เจรจา

นั่นคือ คำตอบตามมารยาททางการทูต

แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีกระแสข่าวแพลมออกมาว่า บางประเทศยังไม่มั่นใจสถานการณ์ในประเทศไทย บางประเทศไม่มั่นใจมาตรการรักษาความปลอดภัย เพราะเพิ่งเผชิญเหตุการณ์สดๆร้อนๆที่พัทยา

จากปมนี้ก็อาจทำให้มองได้ว่าผู้นำบางประเทศยังหวั่นผวากับเหตุการณ์ม็อบเสื้อแดงบุกเวทีประชุม



สุวัจน์ ลิปตพัลลภ

ทำให้ผู้นำประเทศเหล่านี้ยังไม่กล้าเข้ามาประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่จังหวัดภูเก็ต

งานนี้จะไปโทษว่าเขาปอดแหกก็คงไม่ได้

เพราะไม่มีเวทีประชุมสุดยอดผู้นำที่ไหนในโลก ที่ปล่อยให้ม็อบบุกไปถึงห้องประชุม


ที่สำคัญ สถานการณ์การเมืองภายในประเทศไทยเอง ก็ทำให้หลายประเทศยังไม่ค่อยเชื่อมั่น

เพราะไม่แน่ใจว่า เมื่อลงนามข้อตกลงกันไปแล้วจะเกิดผลมากน้อยเพียงใด และยังไม่รู้ว่ารัฐบาลในขณะนี้จะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน

สิ่งต่างๆเหล่านี้คือปัจจัยเหตุที่กลายเป็นผลกระทบ ส่งผลให้แผนจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในเดือนมิถุนายน ต้องเลื่อนออกไป



สุวิทย์ คุณกิตติ

นอกจากนี้ ยังมีความเคลื่อนไหวจากนอกประเทศ ที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนการทำงานของรัฐบาล นั่นก็คือ

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยังประกาศสู้

มีการเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลทั้งในทางเปิดเผยและทางลับ ทำตัวเสมือนเป็นผู้นำฝ่ายค้านตัวจริง

ในทางเปิดเผยก็อย่างที่เห็นๆกัน มีการให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ สลับกับการออกแถลงการณ์ผ่านคนใกล้ชิด ดิสเครดิตการทำงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

ส่วนในทางลับก็ยังมีการขับเคลื่อนแนวทางผ่านเครือข่ายพรรคเพื่อไทย และขับเคลื่อนแผนการเคลื่อนไหวด้านมวลชนผ่านเครือข่ายแกนนำม็อบเสื้อแดง

เขย่ารัฐบาลทั้งในสภาและนอกสภา ไม่หยุดหย่อน




สมศักดิ์ เทพสุทิน

แม้ทางรัฐบาลจะตอบโต้ด้วยการเพิกถอนพาสปอร์ตทางการทูตและพาสปอร์ตทั่วไป

แต่ "ทักษิณ" ก็ยังสำแดงศักยภาพ สามารถถือพาสปอร์ตประเทศต่างๆ เดินทางไปมาได้ในหลายประเทศ

ล่าสุด ถึงขั้นเข้าร่วมประมูลซื้อเกาะสเวตติ นิโคลา ของสาธารณรัฐมอนเตเนโกร ในแถบยุโรปตะวันออก

ที่แน่ๆ เมื่อ "ทักษิณ" ยังสำแดงเดชได้ รัฐบาลไม่มีทางอยู่เป็นสุข

ขณะเดียวกัน เมื่อหันมาตรวจสอบสภาวะความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศ

เริ่มจากการเคลื่อนไหวนอกสภา ชัดเจนว่า



พินิจ จารุสมบัติ

แกนนำกลุ่มม็อบเสื้อแดงยังคงเดินหน้าโจมตีรัฐบาลอย่างหนักหน่วง พยายามทำทุกอย่างเพื่อหักล้างความชอบธรรมของรัฐบาล


อย่างที่เห็นๆ มีการ หยิบเอาเหตุการณ์ที่ม็อบเสื้อแดงรุมทุบรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่กระทรวงมหาดไทย มาเป็นประเด็น

อ้างเป็นการจัดฉาก โบ้ยว่านายกฯอภิสิทธิ์ไม่ได้อยู่ในรถคันนั้น ทั้งๆที่สังคมก็เห็นกันอยู่ ใครคือผู้กระทำ และใครเป็นผู้ถูกกระทำ

หรือแม้แต่การนัดชุมนุมของม็อบเสื้อแดงที่มีพายุฝนกระหน่ำตามฤดูกาล กลับหยิบยกมาโจมตีกันหน้าตาเฉย รัฐบาลทำฝนเทียมกลั่นแกล้งคนเสื้อแดง

มุ่งให้สังคมเกิดความสับสน ปลุกเร้าให้เกิดความเกลียดชัง


ในขณะที่แกนนำกลุ่มเสื้อเหลืองก็เริ่มแสดงอาการไม่พอใจรัฐบาล คาใจกับกรณีที่มีการลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ

มีการขยับออกมาต่อต้านแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญและนิรโทษกรรม

ล่าสุด มีการเคลื่อนไหวจัดตั้งพรรคการเมือง ในชื่อ "พรรคพันธมิตร" ปูทางไปสู้ในสภาฯ

ยกระดับการเมืองภาคประชาชน มาสู่การจัดตั้งพรรคการเมือง เต็มรูปแบบ

ขณะเดียวกัน กลุ่มที่ไม่เลือกสีเลือกข้างในสังคม ก็เดินหน้าเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย ต้องการให้ บ้านเมืองกลับสู่ความสงบ

สำหรับการเคลื่อนไหวในสภา จากภาพรวมที่รัฐสภากำลังจะปิดสมัยประชุม แต่ผลงานก็ยังไม่มีอะไรเป็นเนื้อเป็นหนัง


บรรยากาศการทำงานของสภาฯยังเหมือนเดิม การตรวจสอบรัฐบาลของฝ่ายค้านยังเป็นไปในลักษณะจ้องโค่นล้มทำลายกัน ไม่มีบรรยากาศความร่วมไม้ร่วมมือ จ้องล้างแค้นเอาคืนกันทุกช็อต

แรงกันถึงขั้นควงหมัดวางมวยกันเลย

ในขณะที่การทำงานของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เป็นความหวังของสังคมในการคลี่ควายวิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง


ถึงแม้มีความคืบหน้าจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุด ขึ้นมาศึกษาแนวทางสร้างสมานฉันท์ แนวทางการปฏิรูปการเมือง และแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ

แต่เริ่มประชุมนัดแรกก็ตั้งแง่ใส่กันแล้ว บรรยากาศการประชุมตรงข้ามกับชื่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ

เพราะไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่ยอมกัน เอาแต่ได้ มองแต่ประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก

หันมาทางรัฐบาล ที่เป็นรัฐบาลผสม ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม


ถือเป็นธรรมชาติของพรรคร่วมรัฐบาล ถ้าผลประโยชน์เกลี่ยกันลงตัว ทุกอย่างก็ราบรื่น

แต่จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้ต้องมีการปรับลดงบฯปี 2553 กว่า 2 แสนล้านบาท

กระทบต่องบฯของกระทรวงในการดูแลของพรรคต่างๆ สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้น

ล่าสุด ยังเกิดปัญหาการขายข้าวโพดในโครงการประกันราคา ระหว่างนายกฯอภิสิทธิ์ กับนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จากพรรคภูมิใจไทย ขยายปมขัดแย้งให้กว้างขึ้นไปอีก


ยังไม่รวมอาการคุกรุ่นในเรื่องการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรค ตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคที่รู้เห็นกับการทุจริตเลือกตั้ง และการนิรโทษกรรมนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 และ 109

ที่แกนนำตัวจริงในพรรคร่วมรัฐบาล อย่างนายบรรหาร ศิลปอาชา นายเนวิน ชิดชอบ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายพินิจ จารุสมบัติ ต่างก็รอลุ้นกันอยู่

แต่พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะแกนนำรัฐบาล ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจน

ปมปัญหาขัดแย้งเหล่านี้ ล้วนแต่จะทำให้เกิดความปริแยกในรัฐบาลได้ทั้งสิ้น

ขณะเดียวกัน ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็รู้ดีถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

โดยเฉพาะในภาวะหน้าสิ่ว หน้าขวานที่รัฐบาลต้องเร่งผ่านกฎหมายสำคัญ คือ

ร่าง พ.ร.ก.และร่าง พ.ร.บ. กำหนดกรอบวงเงินกู้ 8 แสนล้านบาท เพื่อนำมากู้วิกฤติเศรษฐกิจที่จะเข้าสู่ที่ประ-ชุมรัฐสภาในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้

จึงต้องนัดกินข้าวเคลียร์ใจกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อขอให้ผนึกกำลังผ่านกฎหมายสำคัญ เพราะถ้าไม่ผ่าน รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้

ที่สำคัญ จุดนี้ก็จะเป็นข้อต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลด้วยเช่นกัน

ที่แน่ๆ การเมืองที่มีต้นทุนสูงตั้งแต่สนามเลือกตั้ง มีต้นทุนสูงในการดูแลเสียงข้างมากในสภา การต่อรองผลประโยชน์ก็ต้องสูงตามไปด้วย

ท่ามกลางกระแสข่าวลือว่าไม่เกิน 3 เดือนจะมีการยุบสภา เมื่อสำรวจจากปัญหาทั้งหมดอย่างรอบด้านแล้ว เราขอชี้ว่า

ลำพังแกนนำรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเดียว รับไม่ไหวอยู่แล้ว

ถึงแม้พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค มัดข้าวต้มกันแน่น ก็ยังรับมือลำบาก

แน่นอน ตามครรลองประชาธิปไตย เมื่อมีปัญหารุมเร้า ถึงที่สุดเมื่อหาทางออกไม่ได้ ก็ถือเป็นสิทธิของนายกฯที่จะประกาศยุบสภา

คืนอำนาจให้ประชาชน เลือกตั้งใหม่

แต่การยุบสภาท่ามกลางความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรงของผู้คนในสังคม ก็อาจนำไปสู่ความรุนแรงในสนามเลือกตั้ง

บางพรรคไปหาเสียงในภาคเหนือ ภาคอีสานไม่ได้ ในขณะที่บางพรรคก็ไปหาเสียงในภาคใต้ก็ไม่ได้

นอกจากไม่เป็นประชาธิปไตยแล้ว ยังส่งผลให้เกิดรอยปริแยกที่ชัดขึ้นจากผลเลือกตั้ง

เสี่ยงเป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมือง

ในสถานการณ์เช่นนี้ ก็คงต้องพิสูจน์จิตสำนึกความรับผิดชอบจากทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลว่า

มีความรับผิดชอบต่อชะตากรรมของประเทศแค่ไหน.


"ทีมการเมือง"