WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 20, 2009

วิทยุชุมชนยัง “วุ่น” ขอมีโฆษณา เตือนระวังนักต้มช่วยออกใบอนุญาต

ที่มา ประชาไท

ประชาพิจารณ์วิทยุชุมชนวุ่น ผู้ประกอบการวิทยุชุมชนหวงรายได้จากค่าโฆษณา เสนอคณะทำงานให้รับค่าโฆษณาได้ ด้าน พ.อ.ดร.นทียัน วิทยุชุมชนต้องไม่มีรายได้จากค่าโฆษณา เร่งมือออกประกาศคุมวิทยุชุมชน เผยต้นมิ.ย.นี้ได้ใช้ เตือนระวังผู้แอบอ้างหลอกเงินช่วยเรื่องใบอนุญาต

คณะทำงานด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน ในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) และร่างมาตรฐานทางเทคนิคกิจการบริการชุมชน (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ฉบับชั่วคราว

โดยเปิดให้แสดงความคิดเห็นทั้งหมด 9 ประเด็น ได้แก่ นิยาม คุณสมบัติ เอกสารที่ใช้ยื่นขอใบอนุญาต วิธีการพิจารณา หลักเกณฑ์การใช้เครื่องและความถี่ การบริหารสถานี บทเฉพาะกาล มาตรฐานทางเทคนิค และขอบเขตเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ถ.วิภาวดี-รังสิต ซึ่งมีผู้ประกอบการวิทยุชุมชนทั่วประเทศมาลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน ทำให้ผู้เข้าร่วมงานเกิดการกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ผู้จัดงานเล็กน้อย เพราะไม่ได้ลงทะเบียนแสดงความจำนงเข้าร่วมงานไว้ล่วงหน้า

พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะทำงานด้านกิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชน ในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวภายหลังร่วมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม ว่า ความคิดเห็นที่ได้จากการประชาพิจารณ์ในวันนี้คณะทำงานจะประชุม และนำไปปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ในวันที่ 13 พ.ค.นี้ และยื่นร่างหลักเกณฑ์ที่ได้ปรับปรุงให้คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์พิจารณาในวันที่ 15 พ.ค. หลังจากนั้นส่งเรื่องให้ กทช.พิจารณาในวันที่ 20 พ.ค.นี้ โดยกทช.จะใช้เวลาพิจารณาและปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมอีกประมาณ 7 วัน ก่อนนำข้อมูลแสดงบนเว็บไซต์เป็นเวลา 7 วัน คาดจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ได้ประมาณต้นเดือน มิ.ย.นี้

พ.อ.นที กล่าวต่อว่า ภายหลังประกาศบังคับใช้จะเปิดให้ผู้ประกอบการวิทยุชุมชนกว่า 5,000 สถานีทั่วประเทศ ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับมาลงทะเบียนภายใน 30 วัน ซึ่งผู้มาลงทะเบียนจะอยู่ในสถานะผู้ทดลองออกอากาศซึ่งอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ข้อบังคับของคณะทำงาน และต้องไม่ทำผิดตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เบื้องต้นคณะทำงานกำหนดให้สามารถยื่นขอใบอนุญาตนับจากวันที่เป็นผู้ทดลองออกอากาศได้ภายใน 90 วัน แต่จากการทำประชาพิจารณ์ พบว่า ผู้ประกอบการมีข้อเสนอให้ยืดระยะเวลาการขอใบอนุญาตออกไปเป็น 1 ปี ซึ่งทางคณะทำงานต้องนำเรื่องไปพิจารณาอีกครั้ง เนื่องจากช่วงที่อยู่ในระยะผู้ทดลองออกอากาศทางสถานีวิทยุชุมชนดังกล่าวสามารถมีรายได้จากการโฆษณาได้ แต่เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชนชั่วคราวซึ่งมีอายุ 1 ปี จะไม่สามารถมีโฆษณาหรือมีรายได้จากการโฆษณาได้

ประเด็นที่ผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชนเสนอแนะในการเปิดรับฟังความคิดเห็น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ขอให้มีการโฆษณาในรายการได้ รวมทั้งการยืดระยะเวลาการขอใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชนชั่วคราวในช่วงผู้ทดลองออกอากาศจาก 90 วัน เป็น 1 ปี ซึ่งตามกฎหมายวิทยุชุมชนไม่สามารถมีรายได้จากการโฆษณาได้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการรับทราบดี แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มระยะเวลาจากผู้ทดลองออกอากาศจาก 90 วัน ให้เป็น 1 ปีก่อนขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชนชั่วคราว อาจเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ประกอบการรู้ว่าสถานีวิทยุที่ดำเนินการ อยู่ในข่ายไหน เป็นวิทยุชุมชน หรือ เป็นวิทยุเพื่อธุรกิจพ.อ.ดร.นที กล่าว

พ.อ.ดร.นที กล่าวต่อว่า จากการสำรวจวิทยุชุมชนที่ไม่มีกฎหมายรองรับกว่า 5,000 สถานี พบว่า มีเพียง 100 กว่าสถานีที่เป็นวิทยุชุมชน และอีก 100 กว่าสถานีที่ชัดเจนว่าเป็นวิทยุเพื่อธุรกิจ แต่อีกกว่า 4,000 สถานียังมีการดำเนินงานทีก้ำกึ่งระหว่างวิทยุชุมชนและวิทยุเพื่อธุรกิจ จึงต้องให้เวลาผู้ประกอบการเหล่านี้ค้นหาตนเอง โดยขณะนี้แบ่งวิทยุชุมชนออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ วิทยุชุมชนเมืองใหญ่ วิทยุชุมชนเมือง วิทยุชุมชนนอกเขตเมือง และวิทยุชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น อยู่ในหุบเขา ซึ่งพบว่าวิทยุชุมชนเมืองใหญ่ เป็นวิทยุชุมชนที่มีปัญหาในการควบคุมดูแลมากที่สุด

ส่วนจำนวนวิทยุชุมชนในแต่ละพื้นที่ยังไม่มีการกำหนดว่าต้องมีกี่สถานี แต่ถ้าในตำบล หรือหมู่บ้านใดมีสถานีวิทยุชุมชนมากเกินไปจนทำให้คลื่นรบกวนกัน ก็ต้องให้ผู้ประกอบการวิทยุชุมชนไปคุยกันเพื่อหาข้อสรุปว่าใครจะทำต่อ หรือจะทำร่วมกัน แต่ถ้าหาข้อสรุปไม่ได้ให้คณะทำงานพิจารณาก็จะดูเรื่องของเนื้อหาและการดำเนินงาน ซึ่งอาจไม่ตรงกับใจของผู้ประกอบการพ.อ.ดร.นที กล่าว

พ.อ.ดร.นที กล่าวย้ำว่า การยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชนชั่วคราวมีค่าธรรมเนียมเพียงปีละ 500 บาทเท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีผู้แอบอ้างว่าสามารถช่วยให้สถานวิทยุชุมชนต่างๆได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุชุมชนได้ แต่ต้องใช้เงิน 6-7 แสนบาท ซึ่งขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง และสถานีวิทยุชุมชนต่างๆ จะไม่สามารถขอใบอนุญาตได้ ถ้าไม่มีคุณสมบัติและเนื้อหาตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตวิทยุชุมชนจะต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีรายการข่าวสาร หรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือท้องถิ่นในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 70%

ที่มา: www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=2016&Itemid=42