ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ ทะลุคนทะลวงข่าว
และเสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติเพียงหนึ่งเดียวขึ้นเป็นผบ.ตร.ใหม่
โดยไม่เสนอชื่อตัวเต็งรายอื่นไม่ว่าจะเป็น พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รองผบ.ตร. หรือพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา สบ.10 ให้ที่ประชุมพิจารณา
กรรมการ ก.ต.ช.ที่เข้าครบทั้ง 11 จึงยกขึ้นมาถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง
นำทีมโดยนายนพดล อินนา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาองค์กร ที่ถามประเด็นเรื่องการบริหาร
ต่อด้วย พล.ต.อ.สุเทพ ธรรมรักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวางแผนหรือการบริหารจัดการ นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีตอัยการสูงสุดในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และนายวิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่จะเกษียณในเดือนก.ย.นี้
เสียงอภิปรายตั้งประเด็นว่า พล.ต.อ.ปทีปมีความชำนาญด้านการบริหารและงบประมาณ แต่สถานการณ์ของประเทศในตอนนี้ต้องแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงและอาชญากรรมเป็นหลัก ทำไมนายกฯจึงไม่เสนอชื่อนายตำรวจที่เชี่ยวชาญงานด้านสืบสวนปราบปราม
พร้อมทั้งเรียกร้องให้นายกฯเสนอชื่อพล.ต.อ.จุมพล หรือนายตำรวจคนอื่นด้วย
ก่อนเสนอให้ที่ประชุมโหวต เพราะนายกฯยืนยันว่ามีข้อมูลเฉพาะพล.ต.อ.ปทีปคนเดียว
จบลงด้วยมติ 5 ต่อ 4 ไม่เอาพล.ต.อ.ปทีป ตามที่นายกฯ เสนอ
5 เสียงที่ไม่สนับสนุนประกอบด้วย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาด ไทย นายวิชัย ศรีขวัญ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ.สุเทพ ธรรม รักษ์ และนายเรวัต ฉ่ำเฉลิม
ส่วนเสียงสนับสนุนพล.ต.อ.ปทีป ประกอบด้วยนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายถวิล เปลี่ยนศรี รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านงบประมาณ
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายนพดล งดออกเสียง
สิ้นการลงมติ นายกรัฐมนตรีสั่งปิดประชุมทันที
และกระหึ่มด้วยเสียงลือเสียงเล่าอ้าง
ว่ามีบางคนพูดถึงยุบสภา ปรับ ครม. หรือลาออก
เรวัต ฉ่ำเฉลิม เกิด 29 เมษายน 2487
นิติศาสตรบัณฑิต ธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย และนิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ.) รุ่นที่ 1
เริ่มรับราชการในตำแหน่งพนักงานยึดทรัพย์ กองบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม 2510
เป็นอัยการผู้ช่วยกองคดี กรมอัยการ, อัยการจังหวัดผู้ช่วยจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา
อัยการพิเศษฝ่ายพัฒนาข้าราช การฝ่ายอัยการ, อธิบดีอัยการฝ่ายพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ และอธิบดีอัยการฝ่ายวิชาการ
2543-46 รองอัยการสูงสุด ขึ้นเป็นอัยการสูงสุดในปี 2546 และเกษียณในปี 2547
เคยเป็นกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จ.นราธิวาส
และอดีตประธานบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ปลัดวิชัย ศรีขวัญ เกิดที่เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เมื่อ 5 มีนาคม 2492
รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาฯ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ธรรมศาสตร์
ลูกหม้อมหาดไทย เริ่มเป็นพนักงานประชาสงเคราะห์ เป็นผอ.กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์
ปลัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รองผู้ว่าฯอยุธยาและพังงา
ขึ้นเป็นผู้ว่าฯที่ชัยนาท ตามด้วยลพบุรีและเชียงใหม่
2550 เป็นอธิบดีกรมการปกครอง แต่ถูกลมการเมืองจากรัฐบาลพรรคพลังประชาชน เด้งไปนั่งรองปลัดกระทรวง โทษฐานสนิทสนมคณะปฏิวัติ
เมื่ออำนาจเข้ามือพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคนบ้านเดียวกับสุเทพ เทือกสุบรรณ จึงกลับมาใหญ่อีกครั้ง
นั่งปลัดมหาดไทยเมื่อม.ค.ที่ผ่านมา และจะเกษียณในเดือนก.ย.นี้
พล.ต.อ.สุเทพ ปัจจุบันอายุ 63 ปีจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 22 ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์(นิด้า)
จบวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 399
เป็นอดีตผู้บังคับการกองสารนิเทศ ก่อนขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง
รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รองผบ.ตร.)
เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ในยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เป็นก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการวาง แผนหรือการบริหารและจัดการ
พร้อมยืนยันสิ่งที่ทำ ไม่ใช่ไม่ให้เกียรตินายกฯ แต่เพื่อความรอบคอบ