ที่มา มติชน ผู้สื่อข่าว "มติชนออนไลน์" รายงานกรณี นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ประธานคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ได้ทำหนังสือ "ลับมาก" ถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องอ้างคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ให้ความเห็นชอบในการขายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลจำนวน 1 ล้านตันว่า เรื่องดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในแวดวงผู้ประกอบการค้าข้าว และกระทรวงพาณิชย์เนื่องจากส่อไปไม่โปร่งใส พร้อมๆกับกระแสข่าวว่ามีเงิน สะพัดในการซื้อขายถึง 1,500 ล้านบาท หรือ ตันละ 1,500 บาท ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ตัวเลขการขายข้าวสารจำนวน 1 ล้านตันนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ได้ขายผ่านคลังเก็บข้าวขององค์การคลัง สินค้า จำนวน 8 แสนตันซึ่งทำสัญญาซื้อขายกับเอกชนไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 2 แสนตันเป็นการขายผ่านคลังขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) ในส่วนนี้ยังไม่มีการทำสัญญากับเอกชนแต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า เงื่อนงำในการขายข้าวนอกจากไม่มีการเปิดประมูลตามขั้นตอนปกติ และเป็นการนำข้าวใหม่ปี 2552 ออกมาขาย ทั้งๆที่ควรนำข้าวเก่าค้างสต้อกเมื่อปีก่อนๆออกมาขายก่อน เป็นการระบายข้าวออกสู่ตลาดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาข้าวเสื่อมคุณภาพ อีก ประเด็นคือคำสั่งของอธิบดีกรมการค้าต่าง ประเทศ อ้างว่าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยื่นเสนอราคา ตามหนังสือฉบับที่ พณ 0307/ว.598 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ทั้งๆที่เอกสารเชิญชวนเอกชนยื่นเสนอราคาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ดังกล่าวเป็นเอกสารเมื่อหลายเดือนมาแล้ว และสถานการณ์ราคาข้าวก็ต่างกัน เพราะฉะนั้นการขายข้าวในครั้งนี้รัฐน่าจะได้รับรายได้ต่ำกว่าที่ควรจะได้ มหาศาล ทั้งนี้ เอกสารเชิญชวนเอกชนยื่นเสนอราคา พณ 0307/ว.598 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ลงนามสมัยนายวิจักร วิเศษน้อย ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ประธานคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ผู้สื่อข่าวรายงานจากการตรวจ สอบรายชื่อผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมือง พบว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์มีผู้ประกอบการค้าข้าว 4 รายบริจาคเงินให้ประชาธิปัตย์ โดยเป็นการบริจาคในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2543 จำนวน 1 ราย 6 แสนบาท ,ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จำนวน 1 ราย จำนวน 1 แสนบาท ,บริจาคในเดือนมิถุนายน 2549 จำนวน 1 ราย 2 แสนบาท และบริจาคเมื่อเดือนมกราคม 2552 จำนวน 1 ราย 2 แสนบาท ส่วนพรรคภูมิใจไทยไม่พบว่ามีผู้ประกอบการค้าข้าวบริจาคเงินให้แต่อย่างใด