WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 26, 2010

เมื่ออำนาจรัฐถูกปล้น from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

ที่มา thaifreenews

โดย Porsche


ในมุมมอง
http://www.opendemocracy.net/democracy-fukuyama/fukuyama_3852.jsp
ของ ประเทศตะวันตก การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเปรียบเสมือน
การประกาศการ “สิ้นสุดของประวัติศาสตร์”
และยังเป็นการสันนิษฐานว่านี่คือชัยชนะอันถาวรและเด็ดขาดของแนวความคิด
แบบ เสรีนิยมประชาธิปไตยและระบบตลาดทุนนิยมที่มีต่อประเทศคู่แข่งทางความคิดใน ศตวรรษที่ 20

การด่วนสรุปนี้ ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสื่อมของระบบคอมมิวนิสต์
และหลังจากหลายคนมองว่าระบบตลาดทุนนิยมคือตัวเลือกเดียวที่เหลืออยู่
ในปี 2535 ประเทศคอมมิวนิสต์ต้องเผชิญกับตัวเลือก 3 ทาง คือ
การแยกตัวของประเทศในยุโรปตะวันออก,
ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (จีน, เวียดนาม)
หรือเลือกที่จะอยู่ในสภาพที่ประเทศมีความล้าหลังทางด้านเศรษฐกิจ
และโดด เดี่ยวประเทศจากประชาคมโลก (คิวบา, เกาหลีเหนือ)

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ
การล้มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้ประเทศทั่วทุกมุมโลก
ขยายและดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย
http://muse.jhu.edu/login?uri=/journals/journal_of_democracy/v006/6.1rowen.html

อย่าง ไม่เคยมีมาก่อน นายซามูเอล ฮันทิงตันเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า
“คลื่นลูกที่สาม”ของการเกิดประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์/ทหาร
ที่ยังคงมีอยู่ในประเทศยุโรปตะวันตก (สเปน โปรตุเกส และกรีซ)
ได้ล่มสลายลงในกลางยุค 70
เช่นเดียวกับระบอบเผด็จการทหารในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศที่ล่ม
สลายลง ในปลายยุค 70และ 80 คลื่น “พลังมหาประชาชน”
ได้นำประชาธิปไตยมาสู่เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์
ในขณะที่การฆ่าหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมินแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของพรรค
ผู้ นำทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ภายหลังที่ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันตกล่มสลาย “คลื่นลูกที่สาม”
ยังได้เคลื่อนไปยังเหล่าประเทศในแอฟฟริกาซึ่งตั้งอยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาร่าอีก ด้วย
โดยเหล่าผู้นำเผด็จการถูกโค่นล้มหรือกลุ่มผู้นำเหล่านั้น
ตัดสินใจเปลี่ยนการ ปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยด้วยตนเอง

ความเชื่อที่มีร่วมกันกันคือ อนาคตของ “ประชาธิปไตย”
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคือเรื่องที่เกี่ยวกับทางโลก
คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ส่วนระบอบเผด็จการนั้นเป็นระบบที่อ่อนแอและไม่มีความชอบธรรม
ทั้งแนวทางความคิดพื้นฐานของระบอบเผด็จการไม่มีความน่าเชื่อถืออย่างสิ้น เชิง
เหตุผลง่ายๆของการล้มสลายของระบอบนี้และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอื่นคือ
เงื่อนไขของเวลาและยุคสมัย

แต่ความคาดหวังในระบอบประชาธิปไตยในต้นยุค 90
ต้องพังทลายลงอย่างช้าๆ
เมื่อจีนและพม่าไม่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
ซ้ำประเทศประชาธิปไตย “คลื่นลูกที่สาม”
บางประเทศกลับต้องเผชิญกับความเลวร้ายของการใช้อำนาจรัฐที่ไร้ขอบเขต
บางประเทศติดชงัก
ระหว่างความเป็นประชาธิปไตยและเผด็จการ
http://en.wikipedia.org/wiki/Delegative_Democracy

ซึ่ง ก่อให้เกิดระบอบการปกครองแบบลูกผสมแบบใหม่ขึ้น
และในบางประเทศพยายามรักษาโครงสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยภายใต้
รัฐธรรมนูญ ไว้ แต่เมื่อ“ลอกคราบ”
ของประชาธิปไตยออกมาจะพบความด้อยของคุณภาพของผู้แทนราษฎร
เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำ
ความเสื่อมของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง และ/หรือ
ความล่มสลายของระบบนิติรัฐ

สาเหตุที่เหมือนกันของความเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยอย่างช้าๆ
ในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศตะวันตกคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า
“การปล้นอำนาจรัฐ”
http://econ.worldbank.org/external/default/main?pagePK=64165259&theSitePK=469372&piPK=64165421&menuPK=64166093&entityID=000094946_00091405494828

ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่องค์กรระหว่างประเทศศึกษาประเมินและพัฒนาคุณภาพ
ของ รัฐบาลหลายองค์กรให้ความสนใจ
กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกได้ให้ความหมายของ “การปล้นอำนาจรัฐ” ว่า
“ขอบเขตของคือการที่กลุ่มบริษัทกระทำผิดกฎหมาย
โดยการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับรัฐเพื่อแลกกับการมีอิทธิพลในการออกกฎหมาย
กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับที่ออกโดยสถาบันรัฐ
” การที่กลุ่มนักวิชาการธนาคารโลกนิยามความหมายของปรากฏการณ์ดังกล่าว
นั้นถือ ว่่ามีประโยชน์ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตามคำนิยามดังกล่าวมีข้อผิดพลาดบางประการ ซึ่งทำให้
“การปล้นอำนาจรัฐ” เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน

กลุ่มเครือข่ายที่มีผลประโยชน์พิเศษและบริษัทเอกชนเกือบทั่วโลกเหล่านี้ มัก
พยายามที่จะซื้อโอกาสในการเข้าถึงองค์กรรัฐ
ไม่เว้นแม้กระทั่งกลุ่มเครือข่ายหรือบริษัทเอกชนในประเทศ
ที่มีระบอบ ประชาธิปไตยมายาวนานและ “มั่นคง”
แต่ความแตกต่างของปรากฏการณ์การนี้ในประเทศรัสเซียและสหรัฐนั้นนับซ้อน
มากกว่านั้น
ความแตกต่างที่สำคัญคือกลุ่มธุรกิจใหญ่เหล่านั้นอาจมีอิทธิพลต่อการออก นโยบายรัฐ
แต่ประชาชนยังคงใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อการแต่งตั้งหรือล้มรัฐบาลได้
การสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
โดยใช้สถาบันของรัฐเพื่อการเพิ่มอำนาจและความร่ำรวยให้กับพรรคพวกของตน
โดยจำกัดสิทธิของประชาชนและพื้นที่ของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง
ในการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยปกติ “การปล้นอำนาจรัฐ”
มักจะเป็นเรื่องที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิการแสดงออกอย่างหนัก
และกระบวนการข่มขู่คุกคามเพื่อที่จะขัดขวางไม่ให้ประชาชนเหล่านั้น
เคลื่อน ไหวล้มล้างอำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนักงานกฎหมายของผมเผชิญกับปรากฏการณ์ “ปล้นอำนาจรัฐ”
หลายรูปแบบจากทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ตัวอย่างเช่นในประเทศกัวเตมาลา
http://econ.worldbank.org/external/default/main?pagePK=64165259&theSitePK=469372&piPK=64165421&menuPK=64166093&entityID=000094946_00091405494828

และ รัสเซีย กลุ่มคนเหล่านี้ได้ปล้นและบิดเบือนอำนาจรัฐและหน่วยงานสืบราชการลับ ศาล
สภานิติบัญญัติ และกองทัพเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง
ระบอบประชาธิไตยภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นคือภาพลวงตา
เพราะการตัดสินใจไม่ได้มาจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง คดีความถูกตัดสินจากเบื้องบน
กระบวนการยุติธรรมมีไว้เพื่อเป็นเครื่องประกันไม่ให้กลุ่มคนเหล่านี้
และ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐสนับสนุนคนกลุ่มนี้โดยยอมให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทาง อำนาจ
เพื่อให้ร้าย คุมขัง หรือเนรเทศกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ออกนอกประเทศ
หรือลดอำนาจฝ่ายตรงข้าม
สื่อถูกควบคุมโดยการผสมผสานระหว่างปิดกั้นข่าวสาร คุกคาม และให้สินบน
และประชาชนจะไม่ถูกจับกุมคุมขังตาบใดที่ไม่ใช้เสรีภาพเรียกร้องให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

ในขณะเดียวกัน “การปล้นอำนาจรัฐ” คือ
ปรากฏการณ์ที่มักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นใน ประเทศยุโรป
และละตินอเมริกา
และนั้นคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ภายใต้คราบของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งได้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศไทย
ตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยได้อยู่ภายใต้อำนาจ
ของกลุ่มธุรกิจครอบครัวไทยเชื้อสายจีน
กลุ่มนายทหารในกองทัพ ข้าราชการพลเรือน
และกลุ่มองคมนตรีผู้มีอำนาจ
สมุกปกขาวของเราได้เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มอำมาตย์”
เพื่อการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ส่วนตัวอันมหาศาลของตนเอง
เหล่าข้าราชการพลเรือนและนายทหารร่วมมือกันเพื่อทำให้แน่ใจว่ากลุ่มบริษัท
ใน ประเทศกลุ่มใหญ่นี้ได้รับประโยชน์จากนโยบายงบประมาณรัฐ
พยายามทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ใช้แรงงานอ่อนแอ
และขัดขวางไม่ให้มีการแข่งขันทางการธุรกิจมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ตระกูลไม่กี่สิบตระกูลผูกขาดระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ของประเทศ

หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใดพยายามจะท้าทายระบบนี้โดยการควบคุม
การ ออกนโยบาลรัฐหรือแทรกแซงเครือข่ายกลุ่มอำมาตย์เหล่านี้ก็จะถูกกล่าวหา
อย่าง เป็นระบบว่าไม่จงรักภักดีต่อบัลลังและโกงกินประเทศ หากยังไม่สำเร็จ
รัฐบาลนั้นจะถูกยึดอำนาจโดยการทำรัฐประหารของเหล่าทหาร

สิ่งที่ตลกร้ายคือ
กลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยกระทำการไม่ต่างจากเครือข่ายกลุ่มอาชญากร
แต่กลุ่มคนที่ต่อต้านระบบเหล่านั้นกลับถูกประณามว่า
เป็นคนที่ “โกงกิน” ประเทศ และ “น่ารังเกียจ”

ข้ออ้างในการทำรัฐประหารในประวัติศาสตร์ชาติไทยทุกครั้งคือ
ต้องการกำจัดการคอรัปชั่น
และในบางครั้งยังมีการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากทหารด้วยกันเอง
ข้อกล่าวหาคอรัปชั่นให้ยึดอำนาจที่ผิดกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยโดยกลุ่มนายทหาร
การใช้ข้ออ้างนี้ก็เพื่อที่จะปกปิด
http://online.wsj.com/article/NA_WSJ_PUB:SB10001424052748703837004575012531027404078.html

ความ ชั่วร้ายของคนกลุ่มนี้
และประเทศตะวันยังคงเชื่อข้ออ้างดังกล่าวจนถึงทุกวันนี้
แม้มือของกลุ่มคนพวกนี้จะเปียกโชกไปด้วยเลือดของประชาชนที่พวกเขาสังหาร
ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตาม

การต่อสู้คดีความในประเทศที่เผชิญกับปรากฏการณ์อำนาจรัฐถูกปล้นนั้นเป็น
เรื่องที่ซับซ้อนอย่างมาก นั้นเพราะศาลเป็นสถาบันที่ถูกปล้นอำนาจได้ง่าย
การดำเนินคดีต่อเจ้าหน้ารัฐในการใช้อำนาจที่ผิดกฎหมายแทบจะเป็นสิ่งที่เป็น ไปไม่ได้
และในขณะเดียวกันการพิจารณาคดีในศาลไม่ได้ต่างไปละครที่วิจิตรบรรจงอย่าง ละครคาบูกิ
ที่การพิพากษาคดีไม่ขึ้นอยู่กับความอ่อนหรือแข็งของการข้อต่อสู้ทางคดีของ ผู้ต้องหา อีกกรณีหนึ่งคือ
การทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจปัญหาเป็นสิ่งที่ยาก
เพราะ ประโยชน์ที่ประเทศเหล่านี้ได้รับนั้นจำกัด
และรัฐบาลตะวันตกนั้นให้ความสำคัฐกับภาพลักษณ์ในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า
แก่นสารของระบอบนี้

การ “ปล้นอำนาจรัฐ” ในประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะ ในยุค 50
สิ่งสำคัญแรกสุดในมุมมองของประชาคมโลกต่อการแก้ปัญหาความไม่มั่นคง
ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการใช้วิธีการทางการเมืองที่
ไม่ได้คำนึงถึง จริยธรรม อย่างแรกคือการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์
และเมื่อไม่นานมานี้คือลดอิทธิพลของสาธารณรับประชาชนจีน
โดยสหรัฐได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินอย่างมาก
ต่อกลุ่ม อำมาตย์ในประเทศไทย
แม้ว่าในเวลานั้นรับบาลไทยจะใช้ระบบที่กดขี่ประชาชนแค่ไหนก็ตาม
ผลก็คือประเทศเดียวที่สามารถกดดันและผลักดันให้ประเทศไทยไปสู่
แนวทาง ประชาธิปไตยได้นั้น ไม่ได้มีความสนใจที่จะทำเช่นนั้น
และในประเทศไทยนั้น
พื้นฐานของ “การปล้นอำนาจรัฐ”มีเล่ห์อุบายที่ซับซ้อนกว่า
ประเทศรัสเซียหรือกัวเตมาลา ประเทศเหล่านี้
การปล้นอำนาจรัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานของเงินและกองทัพอย่างชัดเจน
แต่การปล้นอำนาจรัฐในประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อ
ในสิ่งที่เหนือ ธรรมชาติและกระบวนการล้างสมอง กว่าร้อยปีที่ผ่านมา
หน้าที่หลักของระบบการศึกษาไทยและสถาบันทางศาสนาคือ
การหลอกลวงประชาชนให้ เชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางอำนาจและรายได้นั้นคือ
สิ่งที่ “เป็นธรรมชาติ” และคำกล่าวนั้น ทำให้เชื่อว่ากลุ่มอำมาตย์เหล่านั้น
มีสิทธิตามธรรมชาติที่จะทำอะไรก็ได้ เพราะได้ทำกรรมที่ดีกว่า
และกระทำคุณงามความดีที่มากกว่าคนทั่วไป

โศกนาถกรรมที่เกิดขึ้นใน 4ปีที่ผ่านมา อาจจะเผยให้เห็นว่า
กลุ่มอำมาตย์ในประเทศไทยสามารถรักษาอำนาจของกลุ่มตน
โดย การใช้วิธีการสุดขั้วและจนตรอกอย่างการทำรัฐประหาร
ยึดสนามบิน ปิดกั้นข่าวสารอย่างรุนแรง คุมขังนักโทษทางการเมืองหลายร้อยคน
ใช้อำนาจฉุกเฉิน สังหารหมู่ประชาชนเท่านั้น
และยังมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการโฆษณาชวนเชื่อว่า
จะมีการก่อการร้ายอย่างต่อ เนื่อง เหตุผลที่วิธีการเหล่านี้มีความจำเป็น
เพราะกระบวนการล้างสมองประชาชนได้ล้ม เหลว
ประชาชนไม่เชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่ออีกต่อไป
และหลายคนต้องการที่จะทวงประเทศของพวกเขาคืน

กว่าสองทศวรรษผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า
ระบอบประชาธิปไตยใช้ได้ผลกับประเทศกำลังพัฒนาไม่เป็นไปอย่างที่ชาวตะวันตก กลัว
แต่ข้อเท็จจริงคือจุดสูงสุดของคลื่นประชาธิปไตย
ในต้นยุค 90 ได้ถอยหลังลงคลองแสดงให้เห็นว่าความเชื่อ
ในเรื่อง “จุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” ไม่เป็นความจริง
ความเสื่อมของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาคมโลกได้เห็นในสองศตวรรษที่ผ่านมา
ย้ำให้เห็นเราต้องระมัดระวังอย่างจริงจังว่าไม่มีชัยชนะใดที่ถาวร
และเมื่อเราได้ความเป็นประชาธิปไตยมา
เราจะต้องปกป้องเสรีภาพนั้นอย่างจริงจัง
ประชาชนไทยกำลังจารึกประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพ
และ ประชาธิปไตยอันยาวนานหน้าใหม่
โดยทวงคืนอำนาจรัฐจากกลุ่มอำมาตย์เผด็จการที่ไร้ยางอาย
และนี่จะเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้ประชาคมโลกเห็นว่า
กระบวนการการทวงคืนและ เรียกร้องสิ่งเหล่านั้นทำกันอย่างไร


Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม


http://robertamsterdam.com/thai/?p=366