ที่มา มติชน หาย ไป 2 สัปดาห์เพราะประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องผ่าตัดสะบ้าหัวเข่า ได้รับการดูแลอย่างดีจาก รพ.สูงเนิน รพ.มหาราช รพ.กรุงเทพ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือและให้กำลังใจจากพี่ เพื่อน น้อง ผู้หลักผู้ใหญ่หลาย ท่าน ที่ไม่อาจเอ่ยนามได้หมด ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้อีกครั้งหนึ่ง
โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
แต่ช่วง 2 สัปดาห์ดังกล่าวยังคงสนใจติดตามข่าวคราว(ด้วยความเศร้า)ในสำนักงานตรวจเงิน แผ่นดิน(สตง.) ที่แย่งชิงอำนาจกันอย่างดุเดือดสะท้อนให้เห็นความหน้าด้านเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา ความไม่รู้จักพอและการขาดหิริโอตตัปปะของ"คนแก่"ที่หลงตัวเองบางคน
ดี แล้วที่ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ปัญหาการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินยืดเยื้อต่ไป อาจสร้างความสับสนและเสียหายให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้เพิกถอนคำสั่งของคุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกาที่อ้าง การปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กรณีมีคำสั่ง เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส) ให้รักษาราชการแทน ผู้ว่าการตวจเงินแผ่นดินว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะได้ออกคำสั่งดังกล่าวหลังจากที่พ้นตำแหน่งผู้ว่าการฯไปแล้ว (เนื่องจากอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2553)
นอกจากนั้น เพื่อมิให้กระทบกระทบการปฏิบัติงานของข้าราชการใน สตง. และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งหมดของรัฐทั่วประเทศ จึง ขอให้ศาลปกครองออกพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน กำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวให้คุณหญิงจารุวรรณหยุดการปฏิบัติ หน้าที่ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งพิพากษา
ในคดีดัง กล่าวนี้ เป็นเพียงการชี้ขาดในข้อกฎหมายเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งรวบรวมข้อกฎหมายไว้เกือบครบ ถ้วนแล้ว การพิจารณาคดีจึงน่าจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว คงไม่น่าจะเกินสัปดาห์หน้า ก็จะรู้ว่า ศาลปกครองจะออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่
อย่างไรก็ตามปัญหาใน สตง.มิใช่มีเพียงเรื่องการแย่งชิงอำนาจกันเท่านั้น เพราะในยุคที่ผ่านมา ได้ สร้างปัญหาต่างๆไว้มากมายตั้งแต่การเล่นพรรคเล่นพวก การแสวงผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆ การเรียกรับผลประโยชน์ จนถึงการทุจริตโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท
แต่ ด้วย สตง.เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการตรวจสอบทางด้านการเงินหน่วยงานรัฐและรัฐ วิสาหกิจทำให้ผู้บริหารหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจไม่กล้าโวยวายหรือมี เรื่องขัดแย้งกับ สตง. จำต้องกล้ำกลืนฝืนทนตกเป็นเบี้ยล่าง เช่น ต้องจัดหาโรงแรมให้พักอย่างหรูหราพร้อมอาหารการกินชั้นเลิศในช่วงการตรวจสอบ
ความเห็นแก่ได้ของผู้บริหารระดับสูงบางคน ทำให้พยายามใช้ทุกวิถีทางในการหาประโยชน์เล็กๆน้อยๆอย่างที่คนธรรมดาคิดไม่ได้ เช่น การ ตั้งน้องชายตัวเองเป็นที่ปรึกษา สตง.ในการพัฒนาเกี่ยวกับการวิเทศสัมพันธ์โดยอ้างว่า มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านต่างประเทศ โดยให้ผลตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท
แต่จากการตรวจสอบเอกสารการจ่ายเงินและการทำงานของ"น้องชาย"บิ๊กใน สตง.คนดังกล่าวในเดือนเมษายน 2553 พบว่า งาน ในการพัฒนา"การวิเทศสัมพันธ์"คือ การตรวจสอบอีเมล์ภาษาอังกฤษถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและส่งกลุ่มวิเทศ สัมพันธ์ดำเนินการโดยอ้างว่าเข้าทำงานใน สตง.(เพียง) 15 วันต่อเดือน
คำถามคือ แล้วเลขานุการส่วนตัวที่"บิ๊ก"สตง.คนดังกล่าวใช้เงินหลวงจ้างญาติตัวเองมาเป็น เอาไว้ขัดรองเท้าหรือล้างชาม? กะแค่อีมล์ภาษาอังกฤษแค่นี้ก็อ่านไม่ออก ต้องจ้างที่ปรึกษาเพิ่มอีกหนึ่งคน
นอกจากนั้นก็ควรยุบกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ของ สตง.ทิ้งเพราะไม่มีความสามารถในการตรวจสอบและอ่านอีเมล์ภาษาอังกฤษได้
เรื่องทุเรศๆแบบนี้ ทำกันมานานหลายปีแล้ว แต่ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นโวยวายหรือคัดค้าน ยิ่งทำให้"บิ๊ก"สตง.รายนี้เข้าใจว่า ตนเองมีอำนาจบารมีล้นเหลือจึงย่ามใจแสวงหาผลประโยชน์ตามอำเภอใจ แต่ลืมไปว่า ช้างตายทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด หรือในที่สุดน้ำลดตอผุด
เพียง แต่ว่า ต้องรออีกระยะเวลาหนึ่งในการสะสางปัญหาที่หมักหมมและปฏิรูปการบริหารงานภาย ใน สตง.ให้โปร่งใส มิให้ใครมาใช้อำนาจตามอำเภอใจได้อีก