WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 22, 2010

ดีเอสไอนั่งไม่ติด 91ศพร้อน นัดเปิดผลชันสูตร

ที่มา ข่าวสด




จี้91ศพ- นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มธ. ร่วมเสวนา
"ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" ที่ตึกข่าวสด เมื่อวันที่ 21 ส.ค.
ระบุต้องมีคนรับผิดชอบกรณี 91 ศพ และยอมรับความจริงเพื่อคลี่คลายปัญหา

ดีเอสไอนัดแถลงผลชันสูตรศพเหยื่อสลายม็อบแดงวันจันทร์นี้
ส่วนการตายของนักข่าวญี่ปุ่น-อิตาลี ยังสรุปสำนวนคดีไม่ได้
อ้างเหตุเกิดช่วงจลาจลมีคนตายจำนวนมาก ต้องใช้เวลาตรวจสอบอย่างละเอียด
"อ.ปริญญา"ชี้ทางออกสร้างความปรองดอง เสื้อแดง-เสื้อเหลือง และพรรคการเมือง
ต้องเคารพความคิดกันและกัน จี้หาคนรับผิดชอบการตาย 91 ศพ ระบุ
คนไทยต้องไม่ลืมเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.
แต่ต้องจำไว้เป็นบทเรียนไม่ให้เกิดนองเลือดซ้ำซาก
"หมอวันชัย" แนะนายกฯขอโทษประชาชน และเร่งเยียวยาสังคม
เสื้อแดงทำบุญอุทิศเหยื่อสลายม็อบ เตรียมจัดงาน"2 ปี 2 มาตรฐาน"
26 ส.ค.นี้ ประชดพันธมิตรฯบุกยึดทำเนียบ ทั้งยังตรงกับวันเกิด"ป๋าเปรม"อายุครบ 90 ปี


เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่ห้องประชุมอาคารข่าวสด มูลนิธิสัมมาชีพร่วมกับเครือมติชน
จัดอบรมโครงการ "ผู้นำ-นำการเปลี่ยน แปลง" โดยจัดให้มีการบรรยายพิเศษหัวข้อ
"Road Map ปรองดอง" น.พ.วันชัย วัฒน ศัพท์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า
ในระบอบการปกครองของสังคมไทยควรใช้อำนาจและสิทธิให้น้อยลง
แต่ควรใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยเข้ามาแก้ไขปัญหาให้มากขึ้น
ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยเข้ามาแก้ปัญหาเท่าที่ควร
อย่างกรณีนายกฯ กับแกนนำนปช. เคยเข้ามาพูดคุยกันนั้น ก็ไม่ถือเป็นการเจรจา
แต่เป็นการดีเบต
ซึ่งตามหลักความจริงควรใช้การสานเสวนาประชาธิปไตยมาเป็นแนวทางด้วย
เพื่อเป็นทางออกปัญหา
เช่นเดียวกับโรดแม็ปที่จะเกิดขึ้นนี้ก็ต้องฟังเยอะๆ ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างมาชี้หน้าด่ากัน
กระบวนการสานเสวนาประชาชนเพื่อให้ประชาชนหาทางออก

ด้านนายปริญญา เทวนฤมิตรกุล รอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
หากเราดูอดีตเพื่อหาอนาคตที่ดีกว่า สิ่งที่สำคัญมากคือ
เหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค. ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 91 คน เราต้องคิดเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ประกอบกับเหตุการณ์ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. หากนำมาเทียบเคียงจะพบว่า
มีลักษณะคล้ายเหตุการณ์นองเลือดในฝรั่งเศสที่มีกรรมกรถูกฆ่าตายกว่า 3 หมื่นคน
หลังปิดล้อม กรุงปารีส
ส่วนสาเหตุที่คนไทยไม่ประสบความสำเร็จในการปกครองระบอบประชาธิป ไตย
เป็นเพราะคนไทยไม่ฉลาดกันมากนักแต่ก็ไม่ได้โง่
หากเปรียบเทียบกับเกาหลี ใต้ ไทยเคยมีศักยภาพสูงกว่ามาก
แต่ปัจจุบันเกาหลีใต้กลับพัฒนาไปมากกว่า ต้องมองย้อนกลับไปตั้งคำถามว่ามีสาเหตุจากอะไร

นายปริญญากล่าวว่า
มีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่าอะไรทำให้คนไทยไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้
ภายหลังเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค. และจะต้องฆ่ากันอีกกี่ครั้ง
หากมองย้อนไปในอดีตจะพบว่าประเทศไทยเคยผ่านเหตุการณ์นองเลือดมาแล้ว 4 ครั้ง
ผ่านการรัฐประหาร 11 ครั้ง มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ
คงไม่มีใครอยากเห็นภาพเหล่านี้อีก ดังนั้น
เป็นไปได้หรือไม่ว่าความจริงแล้วประเทศไทยไม่เหมาะกับระบอบประชาธิปไตย
ยกตัวอย่างเช่นอเมริกากว่าจะได้มา
ซึ่งประชาธิปไตยก็ต้องฆ่ากันตายมาแล้วจำนวนมากเช่นกัน
บทเรียนจากเยอรมัน อย่างการปกครองของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่มาจากการเลือกตั้ง
ถือเป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่สะท้อนความล้มเหลวของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ขณะนั้นฮิตเลอร์ มีคำสั่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันเองและมีคนเสียชีวิตไปกว่า 4 แสนคน
หากเราลองตรวจสอบไปในหลายประเทศจะพบว่า
ทุกประเทศต่างล้มเหลวมาจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้วทั้งสิ้น
และไม่มีชนชาติไหนเกิดมาเป็นประชาธิปไตยแม้แต่ชนชาติเดียว
แต่ประเด็นน่าสนใจในตอนนี้คือจะแก้ไขอย่างไร
เพราะวิธีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่เหมือนแนวทางการปกครองอื่นๆ

นายปริญญากล่าวว่า การปกครองทุกระบบ รวมทั้งระบอบประชาธิปไตย
หากต้องการให้ทุกฝ่ายอยู่อย่างสงบสุข ทุกคนต้องเคารพกติกาและทำตัวเป็นกลาง
รวมทั้งสื่อมวลชนด้วยเช่นกัน ไม่ควรเสนอข่าวเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
ยกตัวอย่างในเยอรมัน เขาสอนคนให้รู้จักสิทธิพลเมือง
ฉะนั้นความปรองดองในประเทศเราจะเกิดขึ้นได้ถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้

รวมทั้งความปรองดองก็สามารถทำได้ ไม่สาย เกินไป ไม่ได้หมายความว่า
คนที่เคยเลือกพรรคเพื่อไทยจะหันมาเลือกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้
หรือคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์จะเลือกพรรคเพื่อไทยไม่ได้
แต่ทุกคนต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น ความปรองดองที่แท้จริงคือ
เราคิดต่างกันได้แต่ต้องเคารพกติกา รวมทั้งเคารพซึ่งกันและกัน

ช่วงท้ายการเสวนา มีการเปิดให้ผู้เข้าอบรมแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถาม
โดยมีผู้ถามว่าอะไรที่รัฐบาลควรทำในตอนนี้ น.พ.วันชัย กล่าวว่า
ต้องการคำขอโทษจากคนที่เป็นนายกฯ และต้องการการเยียวยา นอกจากนี้
ยังต้องการความจริงใจจากรัฐบาล ตอนนี้เห็นได้ว่ารัฐบาลยังมีความไม่ไว้วางใจ
จึงนำไปสู่การไม่ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะต่างก็เห็นว่าไม่ใช่พวกเรา
แต่เป็นพวกเขา ซึ่งไม่มีความเป็นพวกเดียวกัน
เราไม่ควรเอาตัวบุคคลเป็นตัวตั้งแต่ต้องเอาระบบเป็นตัวตั้ง
การเป็นผู้แทนที่ไม่ฟังเสียงประชาชน
สังคมอาจจะไม่เกิดประชาธิปไตยแห่งการมีส่วนร่วม
ดังนั้นจึงควรสร้างเวทีขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนมาพูดโดยฉันทามติ

นายปริญญากล่าวว่า
เราต้องเคารพกติกา เพราะที่ผ่านมา
ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ หรือกลุ่มเสื้อแดงก็ละเมิดสิทธิผู้อื่นทั้งสิ้น
แต่ไม่ได้หมายความว่าถูกยิงตายหรือการเผาสถานที่ก็ไม่ใช่
หากตั้งข้อสังเกตจะพบว่าประวัติศาสตร์บทเรียนของไทย
จะเป็นลักษณะการกลบประวัติศาสตร์ ไม่ยอมพูดถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น
ถ้าเราไม่เรียนรู้ความผิดพลาดในอนาคตก็จะผิดพลาดอีก
รัฐบาลก็ผิดพลาดมาแล้ว 91 ศพ ซึ่งต้องมีใครรับผิดชอบ คนไทยมีนิสัยชอบลืมอดีต
และไม่กล้าเผชิญหน้า ทำให้ไม่รู้จักโต เช่นเดียวกับเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.
เราเอาแต่กลบมันไว้ ซึ่งเชื่อว่าการเผชิญหน้ากันครั้งต่อไปก็จะฆ่ากันอีก
และประชาธิปไตยจะไม่เกิดถ้าหากเราไม่รู้จักเคารพกัน
ส่วนสถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ เรื่องโรดแม็ปและการปรองดองถือเป็นเรื่องรอง
แต่เรื่องหลักคือการเผชิญหน้ากับความจริงเพื่อเป็นบทเรียน
ใครที่กระทำผิดก็ต้องยอมรับผิด ใครผิดก็ต้องรับผิดชอบไม่ว่าฝ่ายไหน
ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงก็ต้องมีฆ่ากันอีก


วันเดียวกัน นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า
ในวันที่ 23 ส.ค. ดีเอสไอจะแถลงข่าวชี้แจงความคืบหน้าและผลชันสูตรศพผู้เสียชีวิต
จากการกระชับพื้นที่ของทหาร
ตามที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
เพื่อลดคำครหาการปฏิบัติอย่างไม่เป็นไปตามขั้นตอน ทั้งนี้
การชันสูตรพลิกศพเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแต่ละท้องที่ที่เกิดเหตุ
โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลได้รับผิดชอบรวบรวมสำนวนการชันสูตรและส่งมอบให้ดีเอสไอ
เบื้องต้นคาดว่าครบถ้วนทั้งหมดแล้ว
เชื่อว่าจะตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับภาพรวมการทำงานในเรื่องดังกล่าวได้

ด้านพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดี ดีเอสไอ กล่าวถึง
ความคืบหน้าตรวจสอบการเสียชีวิตของนายฮิโร มูราโมโตะ ช่างภาพรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น กับ
นายฟาบิโอ้ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี ว่า ยังไม่สามารถสรุปสำนวนคดีได้
แต่ยืนยันว่ามีการประสานงานกับญาติและสถานทูตเพื่อรายงานความคืบหน้าคดีอยู่ตลอด
อุปสรรคสำคัญเนื่องจากเป็นคดีที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาจลาจล มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 80 ราย
ดีเอสไอจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียด และพยายามเร่งการทำงานเต็มที่