WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 24, 2010

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ปฏิรูปสื่อ

ที่มา มติชน

ครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงว่าหากมองจากสังคม อะไรคือปัญหาของสื่อที่น่าจะปฏิรูป
ในครั้งนี้ ผมขอเสนอว่า หากสังคม (ไม่ใช่รัฐ) สามารถกำกับการปฏิรูปสื่อได้
เส้นทางปฏิรูปสื่อควรเป็นอย่างไร

1/ รัฐต้องโปร่งใสมากขึ้น โปร่งใสหมายความว่าเปิดตัวเองให้คนอื่นๆ สามารถมองเห็นได้ทะลุปรุโปร่ง เพื่อเขาจะได้สามารถตรวจสอบรัฐได้ในทุกแง่ ไม่เฉพาะแต่แง่โกงเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงแง่โง่, แง่หาประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่ใส่ใจต่อประโยชน์ของส่วนรวม, ฯลฯ
นอก จากต้องแก้กฎหมายและระเบียบราชการ ที่จะเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐได้สะดวกขึ้นกว่าที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของรัฐในปัจจุบันแล้ว รัฐและหน่วยงานของรัฐก็ต้องกระตือรือร้นในการให้ข้อมูลเองด้วย ไม่ต้องตามจี้กันไปทุกเรื่อง เคยมีความคิดกันว่า เอกสารราชการส่วนใหญ่ควรเอาลงในเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพราะถึงอย่างไรในปัจจุบัน ก็เตรียมเอกสารเหล่านี้ในระบบดิจิตอลหมดแล้ว ไม่ได้เพิ่มแรงงานอะไรขึ้นมา ที่จะเปิดให้ประชาชนเข้าถึงได้ด้วยปลายนิ้วอยู่แล้ว
แน่ นอนว่า พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของรัฐก็ควรปรับ ปรุงแก้ไข เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ต้องการข้อมูลที่ถูกปิดกั้นโดยหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐร่วมกับเอกชน ในเวลาอันรวดเร็วพอสมควร
สื่อ มีหน้าที่ต้องฉายแสงไปให้ประชาชนได้เห็นหลังบ้านของรัฐอย่าง โจ่งแจ้ง การจ้องมองและเห็นคืออำนาจ ในยุคสมัยที่รัฐมีความสามารถในการจ้องมองและเห็นประชาชนแต่ละคนได้มากขึ้น
ประชาชนก็ต้องมีความสามารถไม่น้อยไปกว่ากันที่จะจ้องมองและเห็นรัฐได้ไม่น้อยกว่ากันบ้าง

2/ จำเป็นต้องทบทวน พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์กันใหม่
จุด มุ่งหมายหลักของกฎหมายประเภทนี้ คือทำให้ทุกคนปลอดภัยจากการขโมย, ละเมิด และถูกรังแก เพราะอินเตอร์เน็ตสร้างตลาดชนิดใหม่ ซึ่งนับวันก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ, ข้อมูลข่าวสาร, และความคิดในปริมาณมากขึ้นทุกที จนกระทั่งในอนาคตอันใกล้ ตลาดออนไลน์จะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของการแลกเปลี่ยนดังกล่าว รัฐนับตั้งแต่โบราณมามีหน้าที่ปกป้องให้ตลาดปลอดภัยและเป็นธรรม รัฐก็ต้องทำอย่างนั้นกับตลาดออนไลน์เหมือนกัน
แต่ ความคิดที่มีกฎหมายเพื่อปกป้องระบอบปกครอง และระบบสังคม-วัฒนธรรมในตลาดประเภทนี้ เป็นความคิดที่ไม่อาจทำได้ในความเป็นจริง เพราะมีวิธีการร้อยแปดที่จะเล็ดลอดเข้าสู่พื้นที่ไซเบอร์ (อย่าลืมว่าโดยธรรมชาติแล้วพื้นที่นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่เปิด)
คง ถึงเวลาเสียทีที่ต้องคิดถึงการปกป้องคุณค่าของระบอบการปกครองก็ตาม ของระบบสังคม-วัฒนธรรมก็ตาม ด้วยสติปัญญาแทนการใช้อำนาจ ถึงอย่างไรก็ไม่มีเทคโนโลยีอะไร หรืออำนาจอะไรที่จะสามารถปิดกั้นการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและความคิดเห็น กันอย่างเสรีได้เสียแล้ว แทนที่จะเสียกำลังทรัพย์และกำลังคนไปนั่งคอยจับผิดผู้คน ใช้เงินและทรัพย์นั้นไปในทางที่จะทำให้การถกเถียงอภิปรายกันบนพื้นที่นี้ เป็นไปด้วยเหตุผลและข้อมูลที่เป็นจริงดีกว่า
สิ่งที่มีคุณค่าจริง ย่อมยืนยงได้ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง ไม่ใช่อำนาจดิบ
อำนาจ ที่รัฐได้ไปจาก พ.ร.บ.ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ รัฐใช้มันอย่างที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้เลย เป็นอันตรายต่อการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลอย่างยิ่ง กฎหมายใหม่เพื่อการปฏิรูปสื่อจึงต้องลดอำนาจรัฐลง และสร้างกระบวนการที่อำนาจรัฐในการใช้ดุลพินิจ ต้องถูกตรวจสอบหรือยับยั้งได้ตลอดเวลา

3/ หนังสือพิมพ์ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของตนมานาน กว่าสังคมจะยอมรับว่าเสรีภาพของหนังสือพิมพ์มีความสำคัญ สื่อทางเลือกซึ่งเป็นสื่อชนิดใหม่ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้น ก็ควรได้เสรีภาพของตัว โดยไม่ต้องใช้เวลาต่อสู้ยาวนานอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์, วิทยุชุมชน, โทรทัศน์ชุมชน, หรือสื่อประเภทอื่น ต้องได้รับหลักประกันเรื่องเสรีภาพเหมือนกัน ต้องเข้าใจว่า เราอาจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยที่สื่อจะมีขนาดเล็กลง และครอบคลุมตอบสนองต่อผู้คนในวงแคบกว่าเดิม แต่ทุกคนกลับเข้าถึงสื่อได้ง่ายกว่า
หาก คิดถึงเสรีภาพของสื่อเฉพาะแต่สื่อขนาดใหญ่ เช่น หนังสือพิมพ์และทีวีในทุกวันนี้ เสรีภาพนั้นก็อาจไม่เป็นหลักประกันเสรีภาพในการรับรู้ของผู้คนมากนัก เพราะจะมีคนใช้สื่อประเภทนี้น้อยลงไปเรื่อยๆ

4/ ถึง แม้ปัจจุบัน อำนาจรัฐตามกฎหมายที่จะใช้ในการควบคุมสื่ออาจลดน้อยลง แต่สื่อซึ่งกลายเป็นธุรกิจเต็มตัวแล้ว กลับอ่อนไหวต่อการคุกคามและกำกับของรัฐ (ที่จริงคือนักการเมืองที่ใช้อำนาจรัฐ) ได้มากกว่าเดิม เพราะรัฐกุมงบฯโฆษณาก้อนใหญ่ ซึ่งเป็นของกระทรวงทบวงกรมและรัฐวิสาหกิจ (รวมบริษัทมหาชนที่รัฐถือหุ้นใหญ่ด้วย) จึงอาจลงหรือถอนโฆษณาเพื่อกำกับสื่อได้ด้วย
การเข้าถึงแหล่งข่าว ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่รัฐเลือกจะเปิดหรือปิดแก่สื่อได้ และย่อมกระทบต่อการแข่งขันทางธุรกิจของสื่ออย่างแน่นอน
จนถึงที่สุด มาตรการนอกกฎหมาย เช่น การคุกคามด้วยการออกหนังสือขอความร่วมมือ ไปจนถึงปาระเบิดข่มขู่ ก็เป็นสิ่งที่รัฐยังใช้อยู่
เรา ควรกลับมาคิดถึงกระบวนการที่จะควบคุมรัฐ มิให้ใช้มาตรการในกฎหมายและนอกกฎหมายเหล่านี้ในการควบคุมสื่อ เช่น จะทำอย่างไร รัฐจึงจะไม่อาจใช้อำนาจการวางโฆษณาเป็นเครื่องมือควบคุมสื่อได้ เป็นต้น
การเข้าถึงแหล่งข่าวควรถือว่าเป็นสิทธิ เสมอภาคแก่สื่อทุกชนิด อย่างน้อยก็ในบรรดาหน่วยงานของรัฐทั้งหมด จะไม่มีสื่อใดถูกกีดกันจากการให้ข่าวที่เป็นทางการของหน่วยงาน
การ คุกคามสื่อในทางลับจะเกิดขึ้นไม่ได้ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในด้านนี้ ต้องเอาจริงเอาจังกับอาชญากรรมประเภทนี้อย่างไม่ไว้หน้า หากสื่อฟ้องร้องถึง ผู้บังคับบัญชา รัฐต้องดูแลว่าผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นพร้อมจะสืบสวนสอบสวน เพื่อลงโทษบุคคลที่คุกคามสื่อ

5/ ควรมีหน่วยงานในภาคสังคม ที่มีความเป็นกลางจริง ในการเฝ้าติดตามตรวจสอบสื่อ และรายงานผลให้สังคมได้รับรู้อยู่เป็นประจำ ต้องหาทางให้หน่วยงานนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ โดยไม่ต้องอยู่ในอาณัติของผู้ให้ทุนจนไม่สามารถให้ความเห็นที่เป็นกลางได้ จริง ในขณะเดียวกันก็ควรสร้างหน่วยงานให้มีสมรรถภาพในการเฝ้าติดตาม และประเมินได้ดีด้วย
หน่วยงานประเภทนี้ สามารถให้ความรู้ด้านสื่อแก่ประชาชนได้มาก
ในขณะเดียวกัน ก็เท่ากับช่วยทำให้สังคมมีความสามารถในการอ่านสื่อ "ออก" (media literacy)

6/ ประเด็น สุดท้ายเท่าที่ผมจะนึกออกก็คือ การศึกษาวิชาสื่อ (ในชื่อ เช่น นิเทศศาสตร์, สื่อสารมวลชน หรือวารสารศาสตร์) ในระดับมหาวิทยาลัย ควรได้รับการทบทวนปรับปรุงเสียที วิชานี้สอนกันในมหาวิทยาลัยมาหลายสิบปีแล้ว และผลิตนักทำสื่อประเภทต่างๆ ป้อนตลาดแรงงานที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น จึงควรมีส่วนรับผิดชอบต่อคุณภาพของสื่อที่อาจไม่ได้ดีขึ้นในหลายด้านด้วย
ประเด็น ที่น่าทบทวนมีมาก เช่น ยังควรรักษาหลักสูตรปริญญาตรีไว้ต่อไปหรือไม่ เพราะคนทำสื่อน่าจะมีวุฒิภาวะสูงกว่าความรู้ด้านเทคนิคเพียงอย่างเดียว หากเปิดสอนแต่ระดับหลังปริญญาตรีอย่างเดียวจะดีกว่าหรือไม่ มหาวิทยาลัยควรมีภาระหน้าที่ด้านการผลิตคนด้านนี้ หรือผลิตความรู้ด้านนี้ โดยปล่อยให้สื่อผลิตคนของตนเอง หรือสื่ออาจร่วมมือกันในการผลิตคน (เช่น สมาคมสื่อทำหลักสูตรของตนเอง และฝึกเอง เป็นต้น) โดยมหาวิทยาลัยหาทางเชื่อมต่อความรู้ที่ตนสร้างขึ้นได้กับสื่อที่ทำงานอยู่ จริง
ผมเชื่อว่า คนที่มีความรู้ด้านสื่อกว่าผม คงสามารถคิดถึงเส้นทางปฏิรูปได้อีกมาก โดยมีสังคมเป็นผู้นำการปฏิรูป ไม่ใช่รัฐเป็นผู้นำ