ที่มา มติชน คำถามหลักที่จอห์น แคพเนอร์ ตั้งไว้ในหนังสือ Freedom for Sale (ค.ศ.2009) คือ: ได้แก่ จีน..... การที่มหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก ยอมขยายวงที่ประชุม G8 (สหรัฐ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, แคนาดา, รัสเซีย+กลุ่มสหภาพยุโรป) ออกไปและเปิดบทบาทหลักให้ G20 (G8+อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, บราซิล, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เม็กซิโก, ซาอุดีอาระเบีย, แอฟริกาใต้, เกาหลีใต้, ตุรกี) แทนนั้น นอกจากแสดงความตระหนักว่า G8 หมดสภาพแล้ว ยังเท่ากับยอมรับโดยนัยว่าอำนาจในโลกทุกวันนี้เอาเข้าจริงอยู่กับ G2 (คือสหรัฐกับจีน) ต่างหากด้วย จะมุ่งปฏิรูปประเทศแบบไหนกัน? จะมีวันที่จีนปฏิรูปเปิดกว้างสิทธิทางการเมืองและสิทธิมนุษยชน (หรือนัยหนึ่งเปิดเสรีภาพสาธารณะ) ให้แก่ประชาชนบ้างไหมอย่างไร? ตัวอย่างเช่นเสรีภาพในการแสดงออกใน จีนถูกจำกัดอย่าง เป็นทางการโดยเฉพาะในอินเตอร์เน็ต แต่กลับเปิดให้พอควรตามท้องถนนและในพื้นที่กึ่งส่วนตัว ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่อาจปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกเสียหมดหากต้องการให้ สังคมวัฒนธรรมความรู้มีพลวัตและเศรษฐกิจเปิดกว้างเพื่อแข่งขันได้ในตลาดโลก ดังนั้น จึงพยายามเข้าไปจัดการและชักนำมันแทนโดยใช้ทั้งไอที (สำหรับเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตที่มีชื่อทางการว่า จินตุ้นกงเฉิง หรือ "โครงการเกราะทอง" แต่มักเรียกกันทั่วไปว่า The Great Firewall of China หรือ กำแพงไฟอันยิ่งใหญ่ของจีน ดู www.greatfirewallofchina.org), เทคนิคสร้างภาพปั่นข่าว, และกำลังดิบเถื่อนผสมผสานกัน ข้าง พรรคคอมมิวนิสต์ก็เข้าใจดีว่าพรรคจะประสบความสำเร็จและครอง อำนาจนำยืนนานได้ก็แต่โดยเสนอสนองปรนเปรอสิ่งอำนวยความสะดวกและความสุขสบาย นานัปการให้แก่โลกชีวิตเอกชนของพลเมืองจีนเท่านั้น แค พเนอร์พบว่า อดีตสหายเหล่านี้พากันไชโยโห่ฮิ้วที่รัฐประหารโดยพวกคอมมิวนิสต์หัวเก่า เมื่อปี ค.ศ.1991 ล้มเหลวและระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์พังทลายลง พวก เขาค้นพบและปลาบปลื้มดื่มด่ำกับเสรีภาพใหม่ๆ ที่ได้มา จนกระทั่งบอริส เยลต์ซิน สถาปนาอำนาจเป็นปึกแผ่นด้วยการเล่นเล่ห์กลจนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี สมัยที่ 2 ในปี ค.ศ.1996 โดยโลกตะวันตกเห็นชอบอยู่ในที แต่นั้นมาประชาธิปไตยรัสเซียก็กลายเป็นเรื่องของความสับสนวุ่นวายและโกงกิน สกปรกไป ด้านหนึ่งปูตินก็ใช้ไม้แข็งเล่นบทโหดปราบหนักทั้งกบฏแยกดินแดนเชชเนียและคอร์รัปชั่นเพื่อรื้อฟื้นความราบคาบมั่นคง อีกด้านหนึ่งราคาน้ำมันและก๊าซในตลาดโลกที่ถีบตัวสูงก็ช่วยให้รายได้จากการส่งออกไหลมาเทมาจนเศรษฐกิจอู้ฟู่ขึ้น (กันเหนียว เผื่อโดนรัฐบาลสั่งยึดทรัพย์ข้อหาเบี้ยวภาษี/คอร์รัปชั่น/ฉ้อ โกง/ฟอกเงิน ฯลฯ แบบที่ปูตินเคยเชือดเศรษฐีคณาธิปัตย์รัสเซียยุคหลังคอมมิวนิสต์บางรายให้ดู เป็นตัวอย่าง อาทิ บอริส เบเรซอฟสกี้, มิคาอิล คอโดร์คอฟสกี้; หรือกรณียึดทรัพย์ทักษิณและครอบครัวญาติมิตรในไทยเป็นต้น) ขณะที่ชาวรัสเซียส่วนใหญ่สยบสมยอมตามข้อตกลงขายเสรีภาพโดยดุษณี กล่าวคือ ทรัพย์สินเอกชนของยูมีแต่จะสั่งสมพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จากการลงทุนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือกินเงินเดือนปลอดภาษีที่นี่ แลกกับการที่พวกยูอย่าแกว่งเท้าหาเรื่องเดือดร้อนป่วนการเมืองก็แล้วกัน โครงการ ดังกล่าวส่งผลให้รัฐดูไบติดหนี้สินล้นพ้นตัวกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จนสภาพคล่องขาดมือ ต้องเจรจาขอเลื่อนการผ่อนชำระหนี้ออกไป 6 เดือนและดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ของดูไบตกลงเกือบครึ่ง
โดย เกษียร เตชะพีระ
"ทำไม ผู้คนมากหลายทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่ใน วัฒนธรรม, สภาพการณ์, ภูมิศาสตร์, หรือประวัติศาสตร์ใด, ดูเหมือนเต็มใจจะสละเสรีภาพบางอย่างเพื่อแลกกับความมั่นคงหรือเจริญ รุ่งเรือง?"
โดยอาศัยสมมติฐานขั้นต้นจากการวิเคราะห์การเมืองสิงคโปร์-ว่าสภาพดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (the unwritten pact) ซึ่งผู้คนพลเมืองมากหลายยอมขายเสรีภาพสาธารณะ (public freedom) ในการมีส่วนร่วมกับกิจการบ้านเมืองทั้งของตนเองและพลเมืองร่วมชาติ แลกกับเสรีภาพเอกชน (private freedom) ในการทำมาหาเงิน, ใช้จ่ายเงินและอื่นๆ โดยมีพันธมิตร [ผู้นำการเมือง+ภาคธุรกิจ+คนชั้นกลาง] เป็นพลังรองรับข้อตกลงที่ว่า และอาศัยลัทธิบริโภคนิยมเป็น ยากล่อมย้อมใจให้ยอมทน ตราบเท่าที่ผู้ได้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ค่อยทวีจำนวนขึ้นและความต้องการ บางอย่างของพวกเขาได้การตอบสนองจากรัฐตามสมควร.....
แคพเนอร์ก็ออกสำรวจตลาดขายเสรีภาพในประเทศต่างๆ ว่ามีสภาพรูปธรรมเฉพาะเช่นใดเริ่มจากกลุ่มภายใต้ระบอบอำนาจนิยม
คำถามนำของแคพเนอร์ในจีนคือ การขายเสรีภาพสาธารณะแลกกับเสรีภาพเอกชนมีลักษณะและเงื่อนไขเฉพาะเช่นใด?
เขา พบว่าคนจีนแสดงความเห็นเรื่องนี้เปิดเผยตรงไปตรงมามากไม่ว่ายาม พูดคุยส่วนตัวหรืออภิปรายรวมหมู่ ทุกคนเห็นตรงกันว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา จีนก้าวหน้าไปอย่างน่าทึ่ง
ทว่าปัญหาคือจากจุดนี้แล้วจีนจะไปไหนต่อ?
ปรากฏ ว่า ดูเหมือนไม่มีใครรู้ชัดว่า "หลักหมายสุดเขต (เสรีภาพสาธารณะ)" (แปลว่าห้ามออกนอกเขต-เรื่องต่อไปนี้ห้ามแตะ.....) ในจีนมันอยู่ที่ไหนกันแน่? เพราะมันขยับย้ายไปเรื่อยวันต่อวัน, ท้องที่ต่อท้องที่, เวทีต่อเวที ฯลฯ
อุปมา อุปไมยว่า เสรีภาพสาธารณะเหมือนท่อน้ำประปา หากตัดท่อทิ้ง สังคมเศรษฐกิจจีนก็จะแห้งตาย แต่ถ้าปล่อยให้ไหลเสรี น้ำก็อาจจะบ่าท่วมการเมืองจีนได้ กลเม็ดของผู้ปกครองระบอบอำนาจนิยมใหม่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 อย่างจีนจึงอยู่ตรงรู้จักเปิดก๊อกเสรีภาพบ้างปิดบ้าง ณ จังหวะเวลาอันเหมาะสม
ข้อที่พิสดารในทรรศนะแคพเนอร์อยู่ตรงคน ชั้นกลางจีนดูจะรู้สึกว่าพวก ตนมีประโยชน์โภชผลน้อยที่สุดในอันที่จะเปิดพหุนิยมทางการเมือง (เช่น ให้มีระบบหลายพรรค) และยอมให้คนจนคนชั้นล่างจีนหลายร้อยล้านผู้มีลำดับความต้องการทางการเมือง ต่างจากพวกตนได้มีสิทธิออกคะแนนเสียงทางการเมืองอย่างแท้จริง ที่คนชั้นกลางจีนคิดเช่นนี้ไม่ใช่เพราะพรรคคอมมิวนิสต์จีนบอกเท่านั้น หากเป็นเพราะว่าการขาดประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญยังคงเป็นเนื้อหาส่วนที่พึงปรารถนาให้คงไว้ในข้อตกลงขายเสรีภาพที่ขับเคลื่อนโดยพวกเขาเองด้วย
อันดับถัดไปคือรัสเซีย.....
แค พเนอร์เคยไปทำข่าวเยี่ยมเยียนรัสเซียเป็นประจำมาร่วม 30 ปีแล้ว จึงสะสมสหายเก่าไว้เยอะตั้งแต่สมัยคอมมิวนิสต์โซเวียตที่การจะได้ของ บางอย่างมานั้นต้องอาศัยอำนาจอภิสิทธิ์เป็นสำคัญกว่าอำนาจซื้อ และการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศต้องไปกันเป็นคณะโดยทางการอนุญาตเท่านั้น
การขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน อดีตเจ้าหน้าที่เคจีบีและทายาทการเมืองที่เยลต์ซินเลือก (ผู้ตอบสนองพระคุณด้วยการประกาศนิรโทษกรรมและคุ้มกันเยลต์ซินไม่ให้ถูกฟ้อง ร้องด้วยคดีใดๆ) นับว่าสอดรับกับสถานการณ์
ใน ภาวะที่รัสเซียกลับมามั่งคั่งและค่อยแข็งกล้าขึ้นในเวทีโลก สหายเก่าทั้งหลายของ แคพเนอร์ ก็พากันเสพดอกผลเสรีภาพเอกชนของตัวกันอย่างบันเทิงเริงใจ นั่งเครื่องบินเจ็ตไปเที่ยวไหนต่อไหน เช่น ชมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ, เล่นสกีที่คูเชอเวลบนเทือกเขาแอลป์, ซื้อหานาฬิกาเครื่องประดับอัญมณียี่ห้อคาร์เทียร์หรูเลิศใช้ พร้อมทั้งขนเงินไปฝากหรือลงทุนนอกประเทศด้วย
ขณะ เดียวกันเศรษฐีใหม่รัสเซียเหล่านี้ก็ปล่อยให้พวกนักการเมืองและ หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงปกครองประเทศไปตามใจชอบ แม้ว่าจะมีพวกนักหนังสือพิมพ์หรือนักรณรงค์สิทธิมนุษยชนบางคนสืบสวนเปิดโปง และตั้งคำถามเอากับพฤติการณ์กดขี่ข่มเหงฉวยใช้อำนาจในทางมิชอบของรัฐบาลบ้าง แต่นั่นก็เป็นคนส่วนน้อย
และลำดับสุดท้ายสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่ง แคพเนอร์ เห็นว่าเป็นสัญลักษณ์บริสุทธิ์ ของข้อตกลงขายเสรีภาพในระดับโลก โดยเฉพาะรัฐดูไบที่ชอบทำกร่างอวดมั่งอวดมี และรัฐเศรษฐีน้ำมันอาบูดาบีที่สงบเสงี่ยมกว่า ดังที่บรรดานักค้าในตลาดหุ้นตลาดเงินตะวันตกเล็งการณ์ว่าศูนย์กลางการเงิน โลกจะย้ายจากนิวยอร์ก-ลอนดอน-แฟรงก์เฟิร์ตในปัจจุบันไปยัง "เซี่ยงไฮ้-มุมไบ-ดูไบ" ในอนาคตอย่างแน่นอน
สำหรับชาวต่างประเทศ นานาชาติไม่ว่าหนุ่มสาวนักค้าเงินค้าหุ้นชาว อังกฤษ, เจ้าพ่อมาเฟียรัสเซีย, คนดังจากหมู่เกาะแหล่งฟอกเงินเลี่ยงภาษีแถวแคริบเบียน ฯลฯ นั้น ชี้คหรือผู้ปกครองชาวอาหรับแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เสนอข้อตกลงในการมาตั้ง หลักแหล่งที่ยั่วใจยิ่ง
ยิ่ง รัฐดูไบที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นชาวต่างชาติด้วยแล้ว ยิ่งโอ๋เอาอกเอาใจฝรั่งตาน้ำข้าวหนักข้อเข้าไปอีกโดยยอมผ่อนคลายข้อกำหนดทาง ศาสนาอิสลามลง ปล่อยให้ใช้ชีวิตส่วนตัวกันได้ค่อนข้างเสรีดังใจปรารถนา จะโดนเล่นงานเอาเรื่องบ้างก็เฉพาะกรณีเมาอาละวาดหนักหรือลามกอนาจารกันสุด โต่งโจ๋งครึ่มเท่านั้น มองไปทางไหนในรัฐแห่งนี้ก็เห็นแต่โรงแรมเอยอาคารชุดเอยแข่งกันผุดขึ้นระฟ้า เป็นดอกเห็ดประดุจอุทยานอนุสาวรีย์แห่งความรวยเลิศหรูล้นก็มิปาน
ชี้ คแห่งดูไบหลงเชื่อว่าตัวแบบเศรษฐกิจการเมืองฟองสบู่ยักษ์พิเศษ เฉพาะของตนจะไม่สะทกสะท้านต่อวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ของตะวันตก จึงหาญกล้าให้ Nakheel บริษัทย่อยทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในสังกัด Dubai World อันเป็นบริษัทลงทุนของรัฐ ทุ่มทุนสร้างและเปิดหอคอยดูไบ (Burj Dubai) ที่สูงโด่เด่ที่สุดในโลกขึ้นมาเมื่อต้นปีนี้
ใน เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่อันผันผวน จึงไม่แน่ว่าข้อตกลงขายเสรีภาพจะดำเนินงานได้ราบรื่นดีเสมอไปในสภาพที่ผู้ ปกครองอำนาจนิยมใหม่ไม่ต้องพร้อมรับผิดใดๆ ในเชิงสถาบันต่อการบริหารผิดพลาดที่ตนกระทำและขาดกลไกทัดทานแก้ไขตรวจสอบ ถ่วงดุลการใช้อำนาจดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดเหล่านั้นจนปัญหาหมักหมมเน่าเฟะ และลุกลามขยายตัว