WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 26, 2010

กรรมการสมัชชาปฏิรูปฯ เผย เตรียมเสนอเพิ่มภาษีถ้วนหน้า เพื่อสวัสดิการถ้วนหน้า

ที่มา ประชาไท

กรรมการ คณะกรรมการสมัชชาปฎิรูปหมอประเวศ เผยอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำแผนปฏิรูประบบภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ โดยภาษีตัวแรกที่อยู่ระหว่างการศึกษาขณะนี้คือภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คาดว่าจะเพิ่มจาก 7% เป็น 10%

25 ส.ค. 53 - นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะกรรมการ คณะกรรมการสมัชชาปฎิรูป(คสป.) ที่มี นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นประธาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯอยู่ระหว่างการศึกษาและจัดทำแผนปฏิรูประบบภาษีเพื่อให้เกิดความ เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ ได้แก่ภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิต ภาษีทรัพย์สินและที่ดิน ภาษีการซื้อขายหุ้น โดยภาษีตัวแรกที่อยู่ระหว่างการศึกษาขณะนี้คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับโยบายการจัดระบบสวัสดิการสังคม ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้นโยบายชัดเจนที่จะให้เกิดขึ้นให้ได้ในอนาคต

"ในเมื่อ สวัสดิการสังคมเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ภาษีแวตก็เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่เช่นกัน ทั้ง 2 ส่วนนี้น่าจะมารวมกันได้ ภายใต้แนวคิดว่าเมื่อคุณต้องการให้รัฐบาลดูแลสวัสดิมากขึ้น ก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนอัตราการเรียกเก็บแวตที่จะเพิ่มขึ้นนั้น น่าจะเป็น 3% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 7% รวมเป็น 10% โดยในอัตรานี้ก็ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายปัจจุบันอยู่แล้ว เพียงแต่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือจึงได้ปรับลดลงมา" นายนิพนธ์กล่าวและว่าการศึกษาเรื่องการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มและ สวัสดิการสังคมดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจะแล้วเสร็จ และเสนอรัฐบาลพิจารณาต่อไปได้

นายนิพนธ์กล่าวว่า สำหรับภาษีตัวที่เหลือจะมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำใน การจัดเก็บภาษี และการขยายฐานการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น โดยในส่วนของคนที่ไม่เคยเสียภาษีมาก่อน จะมีการวางกติกาให้เข้ามาอยู่ในระบบการเสียภาษี เพื่อขยายฐานการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น เช่น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) พ่อค้าแม่ค้า รวมถึงเกษตรกร ส่วนวิธีการที่จะทำให้คนกลุ่มนี้เข้ามาสู่ระบบภาษีคือการกำหนดให้ทุกคนต้อง ยื่นแบบการเสียภาษีตั้งแต่วันแรกที่ได้รับบัตรประชาชน ส่วนจะมีรายได้เพียงพอที่จะต้องถูกประเมินภาษีหรือไม่ ค่อยมาว่ากันอีกขั้นตอนหนึ่ง

นายนิพนธ์กล่าวว่าในเรื่องการให้สิทธิ ประโยชน์ด้านส่งเสริมการลงทุน(บีโอ ไอ)ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยมีแนวคิดว่าการให้สิทธิทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุน ไม่ควรจะให้เป็นการทั่วไป แต่จะต้องมีการเฉพาะเจาะจงเงื่อนไขสำคัญ เช่น การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา(อาร์แอนด์ดี) เป็นต้น เมื่อได้รับสิทธิประโยชน์ไปแล้วต้องถูกประเมินด้วยว่า ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขขอรับส่งเสริมหรือไม่ ขณะที่บริษัททั่วไปซึ่งปัจจุบันถูกจัดเก็บในอัตรา 30% อาจจะเสนอให้ปรับลดอัตราภาษีลงแบบขั้นบันได โดยมีเป้าหมายให้เหลือที่อัตรา 20%แทน

"ในกระบวนการจัดทำกฎหมายทุกประเภทคณะกรรมการฯจะมองเรื่องผล ประโยชน์ที่ ประเทศจะได้รับเป็นหลัก และถ้ากฎหมายฉบับใดจัดทำแล้วเสร็จก็จะมีการเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเป็นช่วงๆ แต่ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่" นายนิพนธ์ระบุ

รายงาน ข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทสไทย(ธปท.)เคยมีข้อเสนอแนะในลักษณะเช่นเดียวกัน โดยเห็นว่าการใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ อาจจำเป็นต้องมีการปรับอัตราเพิ่มขึ้น ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังคงยืนยันว่า รัฐบาลยังไม่จำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ที่มาข่าว:

"สมัชชาปฎิรูป"ชงเก็บแวต10%ลดเหลื่อมล้ำปท. ดึง"เอสเอ็มอี-พ่อค้า-เกษตร"สู่ระบบภาษี (มติชน, 25-8-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1282751189&grpid=03&catid=