ที่มา ข่าวสด
เหล็กใน
พร้อมสำนวนสอบสวนสั่งฟ้องฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป กรณีร่วมกันแถลงข่าวหน้ามูลนิธิบ้านเลขที่ 111 เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ส่งให้อัยการพิจารณาสั่งคดี
วันเดียวกัน นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของทั้ง 2 คน ก็ได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการว่า
วันเกิดเหตุเป็นเพียงการแถลงข่าวแค่ 2-3 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบการสลายม็อบเสื้อแดงที่มีคนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก
ไม่ได้เป็นการชุมนุมเกิน 5 คน
เพียงแต่ขณะนั้นมีประชาชนสนใจมาฟังและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ทนายยังร้องให้สอบ พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผกก.สน.นางเลิ้ง และ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.ด้วยว่า
ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับเดียวกัน ทำไมถึงปล่อยให้กลุ่มพันธมิตรฯ จัดชุมนุมหลายครั้งโดยไม่ดำเนินคดี
จะ ว่าไปแล้วคำถามทำนองนี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการดำเนินคดีกับเสื้อแดง ว่าแล้วทำไมไม่ดำเนินคดีกับกลุ่ม พันธมิตรฯ หรือเสื้อเหลืองบ้าง
ทำไมคดีเสื้อแดงถึงรวดเร็ว ทำไมคดีเสื้อเหลืองถึงอืดอาด
โดยเฉพาะคดีพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบิน มักถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างคำถามวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้
สุดท้ายคำตอบคงหนีไม่พ้นเรื่องสองมาตรฐาน
อย่างล่าสุด พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วยผบ.ตร. หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดียึดสนามบิน ได้ออกหมายเรียกพันธมิตรฯ 79 คนให้มารับข้อกล่าวหา
แต่ ก็ยังโดนขัดขวางจากส.ว.บางกลุ่มที่เตรียมทำหนังสือถึงนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้พิจารณาโอนคดีดังกล่าวไปให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ดำเนินการแทน
เพื่อคดีจะได้กลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
แบไต๋กันซึ่งๆ หน้าโดยไม่แคร์ว่าสังคมจะมองอย่างไร
อย่างไรก็ตามมี 2 คนที่จะชี้ขาดเรื่องนี้คือนายกฯ อภิสิทธิ์ ผู้ถืออำนาจสูงสุดในฝ่ายบริหาร กับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรม การคดีพิเศษ (กคพ.)
สำหรับนายสุเทพนั้นไม่เท่าไหร่ เพราะถึงจะร้ายกับเสื้อแดง แต่ก็ไม่เคยหงอให้เสื้อเหลืองเช่นกัน
พูดตรงๆ จะห่วงก็ตรงนายกฯ อภิสิทธิ์นี่แหละ