WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 23, 2010

ปฏิรูปสื่อ-ปฏิรูปรัฐ

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




มูลนิธิ สัมมาชีพ ร่วมกับเครือมติชน จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ "ปฏิรูปสื่อ" ในโครงการอบรม "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" โดยมีผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำองค์กรภาคธุรกิจสังคมและผู้นำภาคประชาสังคม เข้าร่วมเมื่อวันที่ 22 ส.ค.



ฐากูร บุนปาน

บรรณาธิการข่าวสด

"...อยากปฏิรูปสื่อต้องปฏิรูปรัฐก่อน"

จุดยืนคืออย่าพูดข้างเดียว

ปกติรัฐเป็นผู้ถืออำนาจ หากสื่อสยบยอม ต่ออำนาจจะยุ่ง ธรรมชาติสื่อจะไม่ผูกพันกับอำนาจ ต้องมีหลายอำนาจคานกัน

โลกที่ดีต้องมีสมดุล ไม่ใช่ โพสต์ เนชั่น มติชน ข่าวสด จะถูกด้านเดียว ทุกคนมีความชอบ ความเชื่อ อคติ จุดแข็งจุดอ่อนไม่เหมือนกัน

เรื่อง วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแล้วถูกตัดโฆษณา ต้องยอมรับถึงเวลามีการเตะตัดขา เรื่องแบบนี้เป็นปัญหาโครงสร้างธุรกิจสื่อ ไม่ว่าหนังสือ พิมพ์ โทรทัศน์ ที่มีปัญหาในตัวเอง

สิ่งพิมพ์ที่ส่งไปขายต่างจังหวัดต้องขายให้ได้ 100% ถึงจะอยู่ได้ หนังสือพิมพ์ต้องสมดุลทั้งยอดขายและโฆษณา

มี แต่ประเทศเผด็จการเท่านั้นที่รัฐยึดสัมปทาน ไทยบอกว่าเป็นประชาธิปไตยจึงไม่จริง เพราะเราถูกยึด สื่อหลักทั้งโทรทัศน์ วิทยุไว้ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ไม่มีอย่างนี้ อาจมีช่องของรัฐหนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ 200 กว่าสถานีหลักวิทยุ

ใครอยากทำต้องไปสัมปทาน พูดๆ ไปก็อาจเสียงหาย บรรยากาศอย่างนี้ไม่มีทางปฏิรูปประเทศได้

ฐากูร บุนปาน



ก่อนปฏิ รูปสื่อรัฐบาลจึงต้องไปจัดการตัวเองก่อน ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และอย่าปิดอินเตอร์เน็ต

อย่า มาประมูลโทรทัศน์ 30 ปี มีคนรวยทุกที พอพูดผิดหูผู้มีอำนาจเซ็นสัมปทาน 3 ปี ก็อาจเหลือแค่ 6 เดือนหายไปได้ จะไปปฏิรูปอะไรได้ หากสื่อกว่า 50% ยังเป็นของรัฐ อยากปฏิรูปสื่อต้องปฏิรูปรัฐก่อน

ผมเข้าใจว่าแรงปฏิรูปสื่อต้องใช้แรงจากท่านๆ หากบอกว่าไม่ชอบที่สื่อไม่แยกข้อเท็จจริงกับความเห็น ก็ต้องรับฟัง

ใน มุมมองคนทำสื่อ ผมคิดว่ารายการคุยข่าวเป็นปัญหาโครง สร้างของโทรทัศน์ที่อยู่กับรัฐ เสนอตรงไปตรงมาไม่ได้ ต้องดิ้น เป็นวิธีเลี่ยงบาลี ถูกไม่ถูกเป็นอีกเรื่อง แต่เรากำลังชินอยู่ หรือไม่

ผม ไม่เข้าใจว่ารัฐบาลปฏิรูปสื่อคิดบนพื้นฐานอะไร หากจะปฏิรูปสื่อรัฐต้องถอยไป เคเบิลทีวีรับได้ 94 ช่อง ระบบอนาล็อก ทันทีที่โครงสร้างแบบดิจิตอลต่อไปจะมีเป็นพันช่อง รัฐบาลมีปัญญาคุมหรือไม่

สื่อ เปลี่ยนทุกวันเพราะคนพูดคนบอกเราก็ฟัง สังคมบอกอย่างไร สื่อก็เป็นอย่างนั้น มีโซเชียล เน็ตเวิร์ก โซเชียล มีเดีย โลกไปไกลขนาดนั้น

อาการตอนนี้เหมือนก่อนฝีแตก สังคมไทยคล้ายสังคมอเมริกายุค 80 ในเชิงโครงสร้างรายได้และปัญหา

ของอเมริกาพอให้ระบบจัดการปัญหาเอง แต่ของเราเรียกหาแต่อัศวินม้าขาวมาช่วย ปัญหาก็สะสมมาเรื่อยๆ

ข่าว สดยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น มันสะท้อนปัญหาสื่อว่าคุณไปปิดอย่างอื่นหมด คนไม่มีทางออกที่อื่น ซึ่งไม่ดี เหมือนต้มกบ คุณเร่งไฟน้ำกำลังเดือด คุณเพลิน สบาย ตอนมันร้อนและขึ้นจากหม้อไม่ได้นั่นแหละจะรู้

อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ / สุรนันทน์ เวชชาชีวะ



การตรวจสอบสื่อ มีสภาการหนังสือพิมพ์เป็นเวทีเปิด แต่สุดท้ายมีการฟ้องร้องของหนังสือพิมพ์ด้วยกันเองมากเป็นประวัติการณ์

เป็นมา 4-5 ปีแล้ว มากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่รัฐบาลอานันท์ มีการเพิ่มโทษกฎหมายหมิ่นประมาทติดคุก 5 ปี ปรับอาญาสูงสุด 4 ล้าน



อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

กรรมการผู้อำนวยการ เครือเนชั่น

"...คนดำเนินรายการต้องมีความเห็น

ถ้าคนไม่ถูกใจก็อย่าไปดู"



ช่วง มีเรื่องก็กดดันมากในเนชั่นและช่อง 9 ที่เรามีรายการ ทั้งที่เราทำเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ก็ถูกกล่าวหา ช่วงนั้นก็เป็นความรู้สึกคนเป็นช่วงๆ

เราไปทำรายการของช่อง 11 ตอนนี้ ฟังความรอบข้าง คนก็คิดแล้วว่าเป็นพวกรัฐบาลเป็นเหลือง แต่ถ้าดูรายการจะไม่ใช่

ช่อง 11 เองก็อึดอัด ไม่กล้าพูด เพราะก่อนทำผมได้พูด คุยกับ นายอง อาจ คล้ามไพบูลย์ รมต. ประจำสำนักนายกฯ แล้ว ว่าจะทำรูปแบบไหน ผมส่งเทปอย่าให้ใครมาเซ็นเซอร์ ก็ไม่ได้มีปัญหา

เรื่องคุยข่าวยอมรับว่าเราไม่มีรายการอ่านข่าวตามสคริปต์ มีแต่คุยข่าว คนดำเนินรายการต้องมีความเห็น ถ้าคนไม่ถูกใจก็อย่าไปดู

การปฏิรูปสื่อรัฐบาลไม่ควรเจ้ากี้เจ้าการ ควรปล่อยไปตามธรรมชาติ

เรา ปฏิบัติตัวเองทุกวัน ทั้งเทคโนโลยี ผู้บริโภคที่ตรวจสอบ ไม่มีประโยชน์ที่จะตั้งคณะกรรมการประชุมอาทิตย์ละครั้งกว่าจะเสร็จ มีเรื่องที่วิ่งไปมากกว่านี้แล้ว



สุรนันทน์ เวชชาชีวะ

อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

"...วิทยุและโทรทัศน์ควรปล่อยให้เป็นของเอกชนเลย"



ตอนผมเป็นนักการเมืองมีตำแหน่งมองสื่ออย่างหนึ่ง เมื่อมาทำงานในสื่อเป็นคอลัมนิสต์ คอมเมนเตเตอร์ เราได้เห็นอีกมุมมอง

ตอนมติชน ข่าวสด วิพากษ์ทักษิณรุนแรง เราก็เคยโทร.มาคุย ก็เหมือนทำเนียบขาวก็มีการโทร. ล็อบบี้ข่าวขอร้องให้เสนออีกมุมมอง

สื่อต้องปรับตัวเมื่อเป็นบริษัทมหาชน ต้องถูกทดสอบว่ายืนได้ เป็นที่พึ่งประชาชนได้จริง

วิทยุและโทรทัศน์ควรปล่อยให้เป็นของเอกชนเลย การพยายามตั้งกทช. หรือ กสช. ก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้

รายการ คุยข่าววิทยุ โทรทัศน์ ภูมิคุ้มกันของผู้เสพ สื่อเรายังไม่เข้มแข็ง เพราะระบบคิดเราไม่สอนการแยกแยะ ชาวบ้านหลายคนดู อาจบอกว่าพูดจริง ทั้งที่เป็นความเห็น

รัฐบาลนี้เจอปัญหาเยอะในการปิดเว็บไซต์ ปิดกั้นสื่อ เพราะการเมืองและเศรษฐกิจไม่มีที่ระบาย ไม่มีที่ระดมสมอง น่าจะคุมไม่กี่เรื่อง เช่น ล่อลวงเด็ก ค้ามนุษย์ ยาเสพติด

ไม่ ใช่เอาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเมือง การปิดสื่อเพื่อความมั่นคงรัฐต้องเลิก ต้องชัดเจนในข้อปฏิบัติการควบคุม