WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 26, 2010

นักวิชาการญี่ปุ่น:การต่อสู้ของรัฐ Monarch Vs. รัฐประชาชน

ที่มา Thai E-News


การ เมืองแบบนี้จบยาก และไม่รู้จะออกไปทางไหน ประเด็นที่น่าสนใจคือทั้งสองฝ่ายรู้หรือไม่ว่ากำลังสู้อยู่กับใครกันแน่ เสื้อเหลือง สู้กับทักษิณ ? โจมตีมา 5 ปีแล้วยังชนะไม่ได้ ? เพราะยังทำลายฐานเงินไม่หมด ? ส่วนเสื้อแดง "รู้ไหม สู้กับใครอยู่"เป็นคำที่ พล อ.อนุพงษ์ เคยพูด โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐกษัตริย์และรัฐของประชาชน


ที่มา สำนักข่าวประชาธรรม

นัก วิชาการ นักสังคมศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์ สื่อมวลชล หลายท่านพยายามอธิบายความขัดแย้งทางการเมืองไทยในแง่มุมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการอภิปรายทางวิชาการอย่างกว้างขวาง แต่ในแง่มุมจากนักวิชาการต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาไทยยังมีไม่มากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะอคติที่มองว่าคนต่างถิ่นจะรู้เท่าคนในพื้นที่ แต่บางครั้งการมองในแง่มุมของตัวเองเพียงอย่างเดียวอาจมองไม่เห็นบางมุมที่ ถูกพรางอยู่ เหมือนก้อนหินที่ถูกมองอยู่ด้านเดียว


ศ.ดร.ทามาดะ โยชิฟูมิ ( Prof.Tamada Yoshifumi School of Asian and African Area Studies Kyoto University )เป็นนักวิชาการที่ศึกษาประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน มาเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากงานวิจัยที่ท่านได้ศึกษามา เช่น Decentralization in Thailand 1997-2007) ,Democratization in Asia (1998-2006) ,State-building in Southeast Asia Thai history,state,nation(1994-2005) ซึ่งทำให้การอธิบายของท่านไม่ได้เลื่อนลอย หากแต่อยู่บนฐานที่ท่านได้เคยศึกษามาเป็นอย่างดี และมุมมองของท่านย่อมเป็นคุณุปการต่อการถกเถียงแลกเปลี่ยนในวงวิชาการไทย


เมื่อ วันที่ 24 ส.ค. 53 ศ.ดร.ทามาดะ ได้มาเสวนาวิชาการกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้เห็นถึงมุมมองจากนักวิชาการต่างประเทศ ท่านนี้ว่า มองการเมืองไทยในขณะนี้เป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยและสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง

ศ.ดร.ทามาดะ กล่าวว่า ช่วงปี 2003-2006ประชาธิปไตยในไทยยังอยู่ในเกณฑ์ ที่ดีอยู่ (อยู่ในเกณฑ์ 2-3 ในด้าน Political rights (มีสิทธิทางการเมือง) และ civil liberties (เสรีภาพ) ตามลำดับ ซึ่งให้คะแนน 1- 7 1 สูงสุด 7 ต่ำสุด) แต่หลังจากเกิดการรัฐประหารปี 49 (2007) ประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ 7กับ 4 ณ ปัจจุบันประชาธิปไตยในไทยเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน


เราอาจจะพอ สรุปภาพเหตุการณ์การเมืองไทยพอสังเขปได้ว่า การเมืองไทยเริ่มแย่ จุดเริ่มต้นอยู่ที่การรัฐประหาร 19 กันยายน 49 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้แย่งอำนาจกัน ต่อมามีการบังคับให้รับร่างรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อเป็นเครื่องต่อรองให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาธิปปัตย์ก็หวังว่าพรรคของตนจะเป็นนายก


หลังการ เลือกตั้งธันวาคม ปี 2550 ประชาธิปปัตย์กลับแพ้การเลือกตั้ง ทำให้อภิสิทธิ์และพรรคพวกเริ่มต่อรองกับอำนาจที่มองไม่เห็น พร้อมกับการออกมาเคลื่อนไหวของม๊อบพันธมิตร ยึดสนามบินโดยมี "เส้นใหญ่" ชักใยอยู่เบื้องหลัง จนในที่สุดอภิสิทธิก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีทหารและชนชั้นนำอยู่เบื้อง หลัง คอยล๊อบบี้สส.ฝ่ายพรรคเพื่อไทย

แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งมาจากการโอบอุ้มคนหลายกลุ่มจึงก่อให้เกิดการเข้ามาขอส่วนแบ่งผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ

จน กระทั่งเกิดกระแสความไม่พอใจรัฐบาล นำมาสู่เหตุการณ์ประท้วงของคนเสื้อแดง จนเกิดเหตุการณ์ 10 เมษาฯ และ 19 พฤษภาฯ จนทำให้มีคนเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่น่าจะทำให้อภิสิทธ์อยู่รอดได้ แต่สื่อมวลกลับเป็นผู้ปกปิดอำพรางความผิดและคนตายให้แก่อภิสิทธิ์ จนทำให้ข้อเท็จจริงบ้างด้านถูกปกปิด

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนไม่คิดว่าเป็นสงครามระหว่าง สาวก "คนดี" กับ สาวก "ทักษิณ"เพียงอย่างเดียว มัน เป็นสงครามที่ไม่เท่าเทียมกันเพราะฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรุกเสียเป็นส่วนใหญ่ และมันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย อย่างแน่นอน กล่าวคือ ประชาธิปไตย จะมีกฎที่แน่นอน แต่ผลสรุปไม่แน่นอน คือไม่รู้ผลล่วงหน้าถ้ารู้ผลก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ฉะนั้นการที่พรรคประชาธิปปัตย์ จะยอมให้มีการเลือกตั้งต่อเมื่อผลเข้าทางตัวเอง จึงไม่ใช่ประชาธิปไตย

อ.ธงชัย วินินจะกูล เคย กล่าวไว้ว่า ฝ่ายสนับสนุนรัฐประหาร คือ 1) urban elite (ชนชั้นสูงในเมือง) (vs.the poor) 2) bureaucratic power (vs. Mps ส.ส.) 3) monarchist (นิยมเจ้า) ( vs. taksin)

พวก monarchist จะไม่ชอบทักษิณเพราะรัฐในอุดมการณ์ของเขาเข้ากับทักษิณไม่ได้ เขาต้องการประชาธิปไตยแบบไทยซึ่ง อ. ปิยะบุตร แสงกนกกุล ประชาธิปไตยแบบไทยไว้ว่า


๑. ประชาธิปไตยที่องคมนตรีมีอำนาจแทรกแซงการเมือง

๒. ประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นได้เพียง ข้าแผ่นดิน ไม่ใช่ พลเมือง

๓. ประชาธิปไตยที่เชื่อว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ตัวบ่งชี้ประชาธิปไตย

๔. ประชาธิปไตยที่ปราศจากการตรวจสอบและความรับผิด

๕. ประชาธิปไตยที่มีกองทัพเป็นผู้อนุบาล

๖. ประชาธิปไตยที่ปราศจากการตรวจสอบและความรับผิด


ประชาธิปไตย ตามอำนาจการปกครองรัฐศาสตร์มีหลายแบบ แต่ประชาธิปไตยไทยเป็นแบบที่ PM(นายกฯ) & Monarch มีอำนาจร่วมกัน ซึ่งต่างจากประเทศที่ปกครองแบบ PM & president มีอำนาจร่วมกัน(อย่างฝรั่งเศส,ไต้หวัน) เพราะ ประธานาธิบดีมาจาการเลือกตั้ง สำหรับประเทศที่ผู้นำทั้งสองมีอำนาจร่วมกัน power balance (อำนาจที่สมดุล)เป็นสิ่งสำคัญมาก ตามรัฐธรรมนูญแล้วต้องกำหนดอำนาจให้ชัดเจน มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจกัน

ลักษณะการปกครองของ PM & Monarch แบบไทย นายกฯจะต้องมี ความนิยม ความเป็นผู้นำ และ legitimacy สำหรับ Monarchies popularity(ความนิยม) กับ ability(ความสามารถ)สำคัญมาก

ปัญหาความขัดแย้งของ PM & Monarch ในประเทศไทย ที่ผ่านมาเกิดขึ้นง่ายเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้จำกัดอำนาจของ Monarch ไว้อย่างชัดเจน ทำให้อำนาจดังกล่าวเลื่อนไหล สูงขึ้น หรือต่ำลง กล่าวคือ เปลี่ยนแปลงง่าย ตาม ability(ความสามารถ) และ ความสัมพันธ์กับ PM ฉะนั้นพวกนิยมเจ้าจึงต้องพึงพิงอำนาจของ Monarch เพื่อตนจะได้ผลประโยชน์

พวก นิยมเจ้า ขัดแย้งกับทักษิณเพราะความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งทันทีที่การเมืองแบบเลือกตั้งเปิด อำนาจและฐานความนิยมของทักษิณพุ่งพรวดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว พวกนิยมเจ้าจึงตกใจในอำนาจตรงนี้มาก และหวั่นว่าจะเสียประโยชน์ จึงต่อต้านทักษิณ

ความขัดแย้งในสงครามของชนชั้นนำที่กล่าวมานี้ ประชาชนได้เข้าร่วมกับสงครามของชนชั้นนำ ก่อให้เกิดเป็นเหลืองเป็นแดง โดยประชาชนที่เข้าร่วมกลุ่มเหลือง แดง มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ เป็นชนชั้นกลาง

ซึ่งฝ่ายเหลืองจะไม่ชอบให้มีการเลือกตั้งเพราะมอง ว่า นักการเมืองโกง เป็นคนไม่ดี ยอมรับได้กับการรัฐประหาร ด่าคนที่ถูกฆ่า และยอมรับในฐานะที่ต่างกัน

ในขณะที่ฝ่ายแดง อยากให้มีการเลือกตั้งเพราะสามารถเพิ่งผลประโยชน์จากส.ส.ได้ ไม่ยอมรับการรัฐประหาร ด่าคนที่สั่งฆ่าประชาชน และประชาชนมีฐานะเท่ากัน

ส่วน ฝ่าย Monarchist จะได้ประโยชน์จากการเลือกตั้ง ก็จะโจมตีการเลือกตั้งว่า ไม่มีความชอบธรรม เพราะประชาชนยังโง่อยู่ สส.ซื้อเสียงและเข้าไปโกง เป็นต้น

การโจมตีว่าประชาชนโง่ ยากจน การศึกษาต่ำ จะเห็นได้จากคำพูดของผู้พิพากษาท่านหนึ่งที่กล่าวทำนองว่า "16 ล้านเสียงคูณด้วย 1000 บาท ก็จะเท่ากับ 1.6 หมื่นล้านบาท เอาคืนได้อย่างสบาย" ซึ่งผมก็งงว่าการอยู่ในอำนาจตุลาการแล้วออกมาพูดอย่างนี้ได้อย่างไร ถ้าเป็นญี่ปุ่นถูกปลดไปแล้ว

ด้วย เหตุดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่พอใจของทั้งฝ่ายแดงและฝ่ายเหลือง โดยฝ่ายแดง ไม่พอใจการรัฐประหาร 19 ก.ย. ,ไม่พอใจสองมาตรฐาน (injustice) , ที่มาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ส่วนเสื้อเหลืองเป็นกลุ่มที่ไม่พอใจการเมืองแบบ Majority rule ,เสียเปรียบด้านเศรษฐกิจจากที่ตนเคยได้ประโยชน์(ดังที่อ.นิธิเคยกล่าวไว้ใน บทความชิ้นหนึ่ง) และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงสังคม

การเมืองแบบนี้จบยาก และไม่รู้จะออกไปทางไหน ประเด็นที่น่าสนใจคือทั้งสองฝ่ายรู้หรือไม่ว่ากำลังสู้อยู่กับใครกันแน่ เสื้อเหลือง สู้กับทักษิณ ? โจมตีมา 5 ปีแล้วยังชนะไม่ได้ ? เพราะยังทำลายฐานเงินไม่หมด ? ส่วนเสื้อแดง "รู้ไหม สู้กับใครอยู่"เป็นคำที่ พล อ.อนุพงษ์ เคยพูด โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐกษัตริย์และรัฐของประชาชน

สุดท้ายอยากบอกว่าประชาธิปไตยจะปฏิเสธการเลือกตั้งไม่ได้ ปฏิเสธประชาชนไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย