WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 23, 2011

ไฟใต้เขย่าซ้ำ "รัฐบาลชั่กิโล"

ที่มา ข่าวสด



เหตุการณ์โจรใต้กลุ่มใหญ่กว่า 40 คนพร้อมอาวุธครบมือ บุก เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการทางทหารใน อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อคืนวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา

จนเป็นเหตุให้นายทหารยศร้อยเอก ระดับ ผบ.ร้อย เสียชีวิตพร้อมลูกน้องรวม 4 ศพ บาดเจ็บ 7 นาย ทั้งยังปล้นอาวุธปืนไปอีกหลายสิบกระบอก

แน่นอนการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเปิดฉากไล่ล่ากลุ่มโจรใต้ชนิดพลิกเทือกเขาบูโด ไปพร้อมๆ กับ การเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียเป็นอันดับแรก ถือเป็นสิ่งถูกต้อง

แต่ที่รัฐบาลต้องเตรียมตัวรับมือต่อจากนั้น

คือแรงกดดันจากคำถามถึงการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใดและเดินมาถูกทางแล้วหรือไม่

ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ก็คือสถาน การณ์ไฟใต้รอบใหม่ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในสมัย "รัฐบาลทักษิณ" เมื่อเดือนม.ค.2547 จากเหตุการณ์ปล้น ปืนค่ายทหารพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส

จากนั้นสถานการณ์ความรุนแรงก็เกิดขึ้น ต่อเนื่อง

การที่ "ทักษิณ" ประเมินกลุ่ม ผู้ก่อความไม่สงบเป็นแค่ "โจรกระจอก"

บวกกับมาตรการอุ้มฆ่า ใช้ความรุนแรงแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กลายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ ทำให้สถานการณ์บานปลายมากขึ้น

ในทางการเมืองถึง "รัฐบาลอภิสิทธิ์" จะมีปัญหาด้านความชอบธรรมเนื่องจากเข้ามาโดยทางลัดวิธีพิเศษ

แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นความหวังของชาวบ้าน ในพื้นที่ และคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเห็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุข

บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลเป็นพรรคการเมืองที่มีส.ส.ภาคใต้มากที่สุด น่าจะมีความเข้าใจปัญหาได้ดีกว่ารัฐบาลทักษิณ

ที่เป็นพรรคของคนเหนือและอีสาน



รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาใช้งบประมาณปี2552 ในส่วนของการดับไฟใต้ที่รัฐบาลชุดก่อนจัดไว้ให้จำนวนกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท

และเมื่อถึงเวลาที่พรรคได้จัดทำงบปี 2553 ก็จัดงบดับไฟใต้ไว้กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และในปี 2554 อีกกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท

นั่นทำให้ยอดรวมงบดับไฟใต้ในระยะ 8 ปีมหาศาลถึง 1.45 แสนล้านบาท

ด้วยตัวเลขงบดังกล่าวจึงดูเหมือนรัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาไฟใต้อย่างมาก

ในการเลือกตั้งปี 2550 พรรคประชาธิปัตย์ เคยหาเสียงว่าหากได้เป็นแกนนำรัฐบาล จะตั้งรองนายกฯ ลงไปอยู่ประจำในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาไฟใต้เป็นการเฉพาะ

หรือในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา นายกฯ อภิสิทธิ์ได้จัดลำดับงานดับไฟใต้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะเริ่มดำเนินการในปีแรก

ด้วยการจัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้

ยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนว ทาง "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล

รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

อย่างไรก็ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศ เป็นจริงบ้างไม่เป็นจริงบ้าง เช่น การตั้งรองนายกฯ ดับไฟใต้ ก็ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ

ช่วงต้นปี 2553 กรณีการตายของ "จ่าเพียร" หรือ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมยา ผกก.บันนังสตา ทำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เสียศูนย์ไปพักใหญ่

รวมทั้งข้อมูลอื้อฉาวเกี่ยวกับการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ดับไฟใต้ในส่วนของกองทัพ ที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง เช่น เครื่องตรวจจับระเบิดจีที 200 เรือเหาะตรวจการณ์ และบอมบ์สูท

หลังจากเหตุการณ์ 19 ม.ค. เชื่อว่าจะมีคนงัดประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาโจมตีรัฐบาลอีกอย่างแน่นอน



เหตุการณ์ไฟใต้ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นระหว่างที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องรับมือกับมรสุมหลายด้าน

ไม่ว่ากรณี 7 คนไทยที่เพลี่ยงพล้ำให้กับทางฝ่ายกัมพูชา แม้ล่าสุดศาลกรุงพนมเปญจะตัดสินลงโทษจำคุก 9 เดือน แต่ให้รอลง อาญา 5 คน ไทย พร้อมอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศได้

ยกเว้น นายวีระ สมความคิด กับ นางราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ซึ่งโดนข้อหาจารกรรมข้อมูลด้านความมั่นคง ที่ยังต้องรอการตัดสินอีกครั้งวันที่ 1 ก.พ.

การที่คำตัดสินออกมาเช่นนี้ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้กลุ่มคน ไทยหัวใจรักชาติ ใช้เป็นประเด็นเคลื่อนไหวหนักหน่วงกว่าเดิม ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะนำไปสู่ความวุ่นวายในระดับใด

ขณะที่การเคลื่อนไหวของม็อบเสื้อแดง กรณี 91 ศพเหยื่อเดือน พ.ค.53 ก็มีความคืบหน้าก้าวสำคัญในการผลักดันคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ

ในจังหวะเดียวกับช่วงเวลาแห่งการชี้เป็นชี้ตายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใกล้จะได้ข้อสรุปในที่ประชุมร่วมรัฐสภาอีกไม่กี่อึดใจข้างหน้า

ความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างพรรคแกนนำรัฐบาลกับพรรคร่วม จะเป็นชนวนให้เกิดการยุบสภาหรือไม่ คือประเด็นที่ห้ามกะพริบตาภายในสัปดาห์นี้

"ไข่วิวัฒน์" ชั่งกิโลขาย ที่อุตส่าห์ทุ่มงบ 69 ล้านบาทจ้างบริษัทเอกชนออกแบบ ก็ยังถูกชาวบ้านร้านตลาดรุมสวดกันเสียงขรม กลบเรื่องอื่นที่พอถูไถไปจนหมด

มาตรการ "เคอร์ฟิวเด็ก" ที่แม้แต่ อดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย ก็ยังออกมาทักท้วงเสียงเข้มว่าอาจเป็นการลิดรอนสิทธิเด็ก

ทันทีที่เกิดปัญหาไฟใต้ปะทุแทรกซ้อนขึ้นมา

จึงเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าถ้าหากเป็น เรื่องแก้ปัญหาการเมือง รัฐบาลยังพอพึ่งบริการมือที่มองไม่เห็นให้ช่วยประคับประคองฝ่า ฟันมาได้

แต่ถ้าเรื่องงานที่เป็น "งาน" จริงๆ บอกได้คำเดียวว่ายุบสภาเลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่

ถ้าไม่ได้รับการอุ้มชูจากกลุ่มอำนาจพิเศษ เห็นทีคงจะกลับมาลำบาก