WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 24, 2011

วิกีลีกส์’1: อ้างปลัด ยธ. ในหลวงทรงขอให้อภิสิทธิ์ทบทวนการใช้ ม.112

ที่มา ประชาไท

เว็บไซต์ ไทยเคเบิล เผยแพร่เอกสารลับทางการทูตของสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลังรัฐประหารเป็นต้นมา โดยมีเนื้อหาการพบปะและพูดคุยกับบุคคลระดับนำ ทั้งฝ่ายราชสำนัก ข้าราชการระดับสูง นายทหาร และผู้นำรัฐบาล ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น การล้มรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช บทบาทของราชสำนักต่อการเมือง และการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ทั้งนี้ เว็บไซต์ดังกล่าว เผยแพร่เอกสารชั้นต้นที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้นจำนวนหลายสิบชิ้นต่อเนื่องกันตลอดช่วงเช้าของวันนี้ (23 มิ.ย.) โดยมีคำอธิบายที่หน้าแรกของเว็บว่า เอกสารที่หลุดมาจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยมีทั้งสิ้นราว 3,000 ชิ้น และเชิญชวนให้เว็บไซต์ต่างๆ นำไปเผยแพร่ต่อ ทั้งนี้ มีข้อความเจาะจงถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศว่า “นี่คือคำเตือน เมื่อใดก็ตามที่คุณบล็อกเว็บไทยเคเบิ้ล เราจะเปิดใหม่ทันทีอีก 3 เว็บ”

000

10BANGKOK287 KING BHUMIBOL RESUMES A MORE VISIBLE ROLE – IN HIS HOSPITAL RECEPTION ROOM

http://thaicables.wordpress.com/2011/06/23/10bangkok287-king-bhumibol-resumes-a-more-visible-role-%E2%80%93-in-his-hospital-reception-room/

“246944″,”2/3/2010 10:47″,”10BANGKOK287″,”Embassy

KING BHUMIBOL กลับมาดำเนินบทบาทที่ชัดเจนขึ้น จากห้องพักในโรงพยาบาล

วิกิลีกส์หมายเลข 10BANGKOK287 วันที่ 2 มีนาคม 2553 เวลา 10:47

ข้อสรุปและความคิดเห็น

——————-

1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (หมายเหตุ: ต้นฉบับใช้คำว่า ‘KING BHUMIBOL’) ได้เป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณสามครั้ง ณ โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่กลางเดือนมกราคม และพระราชทานพระบรมราโชวาทต่อคณะรัฐมนตรีและคณะผู้พิพากษาในที่สาธารณะ และต่อนายกรัฐมนตรีเป็นการส่วนตัว

นอกจากการถวายสัตย์ปฏิญาณของรัฐมนตรีใหม่จำนวน 5 คน ในวันที่ 18 มกราคม (อ้างอิง A) พระองค์ยังเป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะผู้พิพากษาอีกสองกลุ่มใน วันที่ 25 มกราคม และ 1 กุมภาพันธ์ และพระราชทานพระราชดำรัสสด ซึ่งในส่วนหลังได้ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทั้งสองครั้ง

ในโอกาสสองครั้งดังกล่าว พระองค์ตรัสค่อนข้างยาว (10 นาที) เท่าๆ กัน ในลักษณะที่กำกวมตามปรกติ และยากในการทำความเข้าใจ ซึ่งเป็นลักษณะที่รู้กันโดยทั่วไป

ในวันที่ 18 มกราคม ในการเข้าเฝ้าอย่างเป็นส่วนตัวกับนายกฯ อภิสิทธิ์ พระองค์ได้ตั้งใจพูดคุยถึงความกังวลต่อการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และให้นายกฯ อภิสิทธิ์ดำเนินการแก้ไข หลังจากให้มีการทบทวนขั้นตอนและกระบวนการในปัจจุบัน (เกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว)

ถึง แม้ว่าจะมีตัวบ่งชี้ว่าพระองค์ทรงกระฉับ กระเฉงมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็ยังทรงได้รับการรักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ที่ซึ่งทรงพำนักอยู่มาตั้งแต่เดือนกันยายน

2. (ความคิดเห็น) นอกจากพระวรกายดีขึ้นแล้ว การพบปะกับบุคคลในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงได้ฟื้นฟูทางจิตใจ หลังจากมีข่าวลือว่าทรงป่วยเป็นโรคซึมเศร้า นอกเหนือไปจากการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น พาร์กินสัน และโรคปอดบวม

ความ สามารถในการพระราชทานพระราชดำรัสต่อ รัฐมนตรีและผู้พิพากษา เป็นสิ่งที่แตกต่างอย่างมากกับการพระราชทานพระราชดำรัสด้วยความยากลำบาก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม เนื่องในวันพระราชสมภพ และวันปีใหม่ โดยเฉพาะการพูดคุยเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับ อภิสิทธิ์ ดูเหมือนจะบ่งชี้ว่าพระองค์รับทราบถึงการถกเถียงที่กว้างขวางเกี่ยวกับบทบาท ของกษัตริย์ในปัจจุบันและในอนาคต

คำ ถามที่ยังคงอยู่คือ ทำไมพระองค์ยังทรงรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เหตุผลที่ว่าต้องการให้พระองค์มีพระวรกายและพระพลานามัยแข็งแรงขึ้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในวัง หรือที่กรุงเทพฯ หรือที่พักที่พระองค์โปรดปรานที่หัวหินก็ได้

บางคนอาจจะคิดว่ามีเหตุผลอื่น แต่จะเป็นอะไรก็ยังไม่ชัดเจน (จบการสรุปและความคิดเห็น)

การสาบานตนของรัฐมนตรีใหม่

——————————–

3. สมาชิกคณะรัฐมนตรีใหม่จำนวน 5 คน เดินทางไปโรงพยาบาลศิริราชเมื่อวันที่ 18 มกราคม ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวฯ (อ้างอิง A) หลังจากการสาบานตนอย่างเป็นทางการแล้ว พระองค์มีพระราชดำรัสต่อคณะถึงการยืนหยัดต่อหลักการความซื่อตรง ทรงขอให้คณะดังกล่าวรักษาผลประโยชน์ของชาติไว้ในจิตใจเมื่อทำงาน และเน้นย้ำความสำคัญของความซื่อสัตย์ และศักดิ์ศรีในทุกขั้นตอน

พระองค์เน้นย้ำว่า ในฐานะบุคคลสาธารณะ การทำงานของรัฐมนตรีจะเป็นที่จับตาอย่างใกล้ชิด และถือเป็นแบบอย่างของการประพฤติที่เหมาะสม ใน การกล่าวสรุป พระองค์กล่าวว่า หากรัฐมนตรีทำงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังของสาธารณชน ก็จะช่วยให้เกิดความสงบสันติและความก้าวหน้ามาสู่ประเทศไทย

คำกระซิบ (WHISPERS)สำหรับอภิสิทธิ์

————————–

4. หลังจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของรัฐมนตรี สิ้นสุดลง พระองค์ได้ขอให้อภิสิทธิ์อยู่ต่อเพื่อการพูดคุยสองต่อสอง ยาวหนึ่งชั่วโมง โดยเน้นที่การใช้ข้อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ข้อมูลดังกล่าวมาจากผู้ที่ไว้ใจได้และติดต่อกับสถานทูตมาอย่างนาวนาน ซึ่งได้ยินมาจากบุคคลซึ่งอภิสิทธิ์มักเล่าสรุปหลังจากได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ อยู่เสมอๆ คือ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กิตติพงษ์ กิตติยารักษ์, กิตติพงษ์มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการที่อภิสิทธิ์ก่อตั้งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เพื่อทบทวนการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากข้อมูลของกิตติพงษ์ พระองค์บอกอภิสิทธิ์ว่า เขาต้องทบทวนการใช้กฎหมายเพื่อมุ่งสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยว กับกฎหมายหมิ่นฯ

การทบทวนดัง กล่าวต้องทำอย่างระมัดระวัง พระองค์น่าจะได้กล่าวต่ออภิสิทธิ์ แต่พระองค์ก็ทรงทราบว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ คงจะกระทบบุคคลหลักๆ หนึ่งคน คือตัวพระองค์เอง มีรายงานว่า พระองค์ยังทรงเตือนอภิสิทธิ์ด้วยว่า ในฐานะพระมหากษัตริย์ พระองค์มีพระราชอำนาจในการให้อภัยโทษใครก็ได้ที่ถูกตัดสินด้วยข้อหาหมิ่นพระ บรมราชานุภาพ

5. บันทึก: ในพระราชดำรัสเนื่องในวันพระราชสมภพซึ่งเผยแพร่แก่สาธารณะเนื่องในวันพระราช สมภพ พ.ศ. 2548 ตรัสชัดเจนว่า ไม่ทรงอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ และที่จริงแล้วก็ทรงยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ด้วย ความคิดเห็นในตอนนั้นและ ตอนนี้ของพระองค์เป็นตัวชี้ให้เห็นว่า ทรงเข้าใจว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพถูกใช้ในลักษณะที่ทำให้สถาบัน กษัตริย์อ่อนแอลง และไม่ได้ปกป้องสถาบันกษัตริย์

พระองค์ ทรงมีรายชื่อของคนที่ได้รับพระราช ทานอภัยโทษจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ขณะนี้ยังมีกรณีของคนไทยสองคนที่เพิ่งถูกตัดสินไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ฎีกาขออภัยโทษยังไม่ได้ถูกทูลเกล้าฯ ให้พระองค์ ซึ่งสองกรณีดังกล่าวระบุอยู่ในรายงานสิทธิมนุษยชนปี 2551 และ 2552

การให้โอวาทแก่ผู้พิพากษา

————————-

6. หนึ่งสัปดาห์ถัดมา พระองค์เป็นประธานในพิธีสาบานตนเมื่อวันที่ 25 มกราคม สำหรับผู้พิพากษาศาลสูงสูดด้วยน้ำเสียงที่สม่ำเสมอ ถึงแม้จะดังกว่าการกระซิบเพียงเล็กน้อย อันเป็นผลจากความเจ็บป่วย พระองค์แนะนำต่อผู้พิพากษาให้ยึดถือหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาในการทำงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่พระองค์มักตรัสมาอย่างสม่ำเสมอ ทรงเน้นให้ผู้พิพากษาต้อง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม และเป็นกลาง ซึ่งเป็นความยุติธรรมในแง่ของพุทธศาสนาในเรื่องความดีงาม โดยเน้นเรื่องความเป็นกลางเป็นพิเศษ

7. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พระองค์ได้พบกับคณะผู้พิพากษาสูงสุดอีกกลุ่มหนึ่ง และเช่นเดียวกันก็ได้พระราชทานพระราชดำรัสสดในหัวข้อเดียวกัน พระองค์ทรงย้ำให้ผู้พิพากษาทำงานด้วยความยุติธรรมและความถูกต้อง เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของศาล และเพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งความสงบของชาติบ้านเมือง ความเจริญรุ่งเรืองและความเรียบร้อย มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ถึงแม้โจรก็ยังต้องการความยุติธรรม” ทรงจบพระราชดำรัสโดยแสดงความยินดีในโอกาสที่จะได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่มี ผลกระทบอย่างมากและยาวนานต่อชีวิตคนอื่นๆ

8. ข้อความของพระองค์ต่อคณะผู้พิพากษาทั้ง สองคณะ คงเป็นที่คุ้นเคยกันดีสำหรับคนที่เคยได้ยินพระราชดำรัสของพระองค์ก่อนหน้า นี้ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับหลักการพุทธศาสนา มีลักษณะคลุมเครือ หากแต่ก็ดูเหมือนจะเข้ากับสถานการณ์การเมืองของไทยได้ในหลายแง่ กล่าวอีกทางก็คือ การที่กษัตริย์มีพระราชดำรัสต่อรัฐมนตรี ผู้พิพากษา และประชาชนมาหลายสิบปี –ความจริงข้อนี้ ถ้าคำนึงถึงการเข้ารักษาพยาบาลของพระองค์ที่นานต่อเนื่อง และความกังวลเรื่องปลายรัชกาล ทำให้สองเหตุการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมาก และพระราชดำรัสดังกล่าวที่ เน้นให้ผู้พิพากษาทำงานให้ดีตามหน้าที่ ซึ่งตรัสก่อนการตัดสินคดีการยึดทรัพย์ของผู้หลบหนีคดี อย่างอดีตนายกฯ ทักษิณ ไม่กี่สัปดาห์ จะมีนัยยะอะไรสำคัญที่ลึกไปกว่านั้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังคงต้องพิจารณาและประเมินต่อไป

จอห์น