WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 23, 2011

"พิชญ์"ชี้ กระแสตีกลับพท.ชนะปชป.เจอข้อหาเผด็จการเสียงข้างมาก สวน"โหวตโน"หมายเชิญสู่รัฐประหาร

ที่มา มติชน



ท่ามกลางกระแสการหาเสียงช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ทำให้บรรยากาศทางการเมืองยิ่งเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

ไม่ว่าจะเป็น การหาเสียง การปราศรัยที่ดุเดือดรุนแรง กระแสโพลต่างๆ รวมถึงการโหมกระแส โหวต โน


จากบรรยากาศทางการเมือง ที่หลายคนอาจจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยนั้น "อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ "มติชนออนไลน์" ถึงมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะช่วง สัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง

อ.พิชญ์ กล่าวว่า การเลือกตั้งในประเทศไทยไม่ได้มีเพียงเรื่องเดียว แต่มีอำนาจเหนือการเลือกตั้งอีกเยอะ ที่เข้ามาแทรกแซงอยู่ทุกวัน และก็มีอำนาจอีกกลุ่มหนึ่งที่มาจากบรรดาคนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวน การประชาธิปไตย เช่น ขบวนการปฏิรูปต่างๆ

โดยกลุ่ม เหล่านี้อาจจะอธิบายปัญหาโครงสร้างได้ดี และมีการจับมือกันเป็นพันธมิตรทางอ้อม แต่เสียงข้างมากของพรรคการเมืองก็ไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างได้เสมอ ต่อให้ชนะการเลือกตั้งแต่ยังมีโจทย์อื่นเข้ามา เพราะการเอาตัวรอดของพรรคการเมือง ควรจะรักษาหลักนิติธรรม ไม่เปลี่ยนกฎหมายเพื่อคนของตนเอง ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการเปลี่ยนกฎหมายทำไปเพื่อคนทุกคน มากกว่านั้นก็คือ ต้องอธิบายความถูกต้องให้ได้ในที่นี้อาจจะอธิบายความสงสัยให้กับทุกฝ่ายให้ ทราบ มีความชัดเจน กล้าหาญ โดยไม่ใช้เสียงข้างมากปิดปากคนอื่น


กระแส ตอนนี้ไม่แน่ไม่นอน และไม่ได้อยู่ที่หลักการทำโพลแล้ว เพราะว่าทุกสำนักผลออกมาตรงกัน อาจจะใช้หลักเดียวกัน หักปากกาเซียนได้เหมือนกัน ประเด็นใหญ่อยู่ที่เสียงของคนที่ยังไม่ตัดสินใจ ซึ่งเสียงนั้นอาจจะไม่ตัดสินใจจริงๆ หรือไม่อยากบอกก็ได้


จาก ปรากฎการณ์ที่พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำ ไม่เป็นคุณกับพรรคเพื่อไทยเท่าไหร่ ควรจะออกมาจากความเซอร์ไพรส์มากกว่า ถ้าเพื่อไทยมีคะแนนนำก็จะตกเป็นเป้าใน 2 สัปดาห์สุดท้าย ทำให้การรณรงค์หาเสียงทำได้ยากขึ้น เพราะว่าทำให้คนที่ยังไม่ตัดสินใจเกิดความรู้สึกไม่อยากลงคะแนนให้พรรคเพื่อ ไทยมากกว่า

ผมไม่คิด ว่าพรรคที่ได้คะแนนนำจะแฮปปี้แต่เป็นผลย้อนกลับมายังตัว พรรคเอง และโดยธรรมชาติของการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาพรรคการเมืองไม่ต้องการมีคะแนนนำ มากๆ การที่มีคะแนนนำมากๆ ในด้านกลับก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการได้ทันที เพราะว่าประเทศไทยต้องการเสียงข้างมากในการบริหารประเทศ แต่ความเสี่ยงของเสียงข้างมากก็จะเสี่ยง กล่าวคือ ถูกมองว่าเป็นเผด็จการเสียงข้างมากได้เสมอ


ถ้า พรรคการเมืองที่มีคะแนนนำไม่มียุทธศาสตร์ในการจัดการความ นิยมของพรรคตัวเอง ก็เป็นการนับถอยหลังตั้งแต่วันแรก อาจจะถูกมองว่าไม่ฟังเสียงส่วนน้อย กฎหมู่เหนือกฎหมายบ้าง สุดท้ายก็คือไม่เป็นผลดีกับพรรคเพื่อไทย (ถ้าชนะจริง) เพื่อไทยต้องให้หลักประกันว่า เสียงข้างมากไม่ได้หมายความว่าถูกต้อง แต่ว่าเสียงข้างมากหมายถึงโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถ บริหารประเทศโดยความต้องการของประชาชน แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย ไม่ละเลยหลักยุติธรรมต่างๆ


เรื่องบางเรื่อง อาจจะใช้การตัดสินใจจากเสียงข้างมาก แต่เรื่องบางเรื่องเสียงข้างมากอาจจะถูกชักจูงได้ เพื่อไทยต้องมีนโยบายที่ยืดหยุ่นและรับฟังเสียงของคนอื่นด้วย แล้วถูกพิสูจน์มาหลายรอบแล้วว่า ในเมืองไทยเสียงข้างมากไม่ได้แปลว่าคนเท่ากัน ต่อให้เสียงข้างมากแล้วคนเท่ากันก็ละเลยเสียงข้างน้อยไม่ได้ เพราะมีสองฐาน แล้วก็มีอะไรนอกเหนือจากการเลือกตั้งอีกมาก แล้วก็มีอะไรที่ไม่ถูกนับโดยการเลือกตั้ง เช่น คนกลุ่มน้อย, NGO ซึ่งมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ในนามของคณะกรรมการปฏิรูป


ส่วน ความเคลื่อนไหวของกลุ่มทางการเมือง อ.พิชญ์ กล่าวกับมติชนออนไลน์ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ โหวตโนไม่ใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมามีการโหวตโนอย่างเป็นทางการ มีนักวิชาการออกมาเคลื่อนไหว ถ้าพูดตามหลักการก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าพูดในแง่ของความเคลือบแคลงสงสัยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบทั้งหมด คนที่ไปเลือกก็ตามเลือกตามใจของตนเอง ฉะนั้นการเลือกตั้งต้องมีการรณรงค์ เพื่อทำให้เสียงของคนถูกอธิบายหรือมุ่งหมายไปทางใดทางหนึ่ง เช่น ต้องการเลือกคนนี้หรืออีกคน และการโหวตโนเป็นการเลือกตั้งที่ซับซ้อนขึ้น เช่น โหวตโนเพื่อไม่ให้คนนี้ได้เป็นส.ส. หรือเป็นการแสดงออกซึ่งความไม่พอใจเป็นหมู่คณะ มากกว่าการไม่ออกไปเลือกตั้ง


ฉะนั้นการโหวตโนครั้งก่อนกับครั้งนี้จึงต่างกัน ที่ผ่านมาแสดงออกต่างฝ่ายต่างพูด ไม่มีการเคลื่อนไหว มีนักวิชาการออกมาพูดประมาณว่าต้องการมีส่วนร่วม แต่ไม่ต้องการเลือกใคร แต่ครั้งนี้มีความสงสัย เพราะนำไปสู่การขัดขวางประชาธิปไตย เช่น การโหวตโนทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ถ้าเสียงไม่ครบ หรือการโหวตโนอาจจะเป็นหมายเชิญนำไปสู่การรัฐประหาร แต่ทั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ทำได้ และการโหวตโนต้องยอมรับการไม่เห็นด้วยได้เช่นกัน ข้อจำกัดของการกล่าวหาคนอื่นเพื่อให้การโหวตโนบรรลุวัตถุประสงค์ ตรงนี้สังคมสามารถวิจารณ์ได้ การรณรงค์โหวตโนโดยที่ให้เหตุผลร้อยแปด เหมารวมว่าคนเหล่านี้เป็นสัตว์ เป็นเรื่องที่ควรตรวจสอบ เป็นการกล่าวร้ายหรือไม่ กลุ่มโหวตโนเองก็ต้องมีคำตอบอธิบายด้วย

ถ้า คะแนนโหวตมีมากกว่าหรือมี เท่ากับปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน และถ้าคนคนหนึ่งยอมโหวตโนมากกว่าการจะเลือกส.ส.เข้าไปทำหน้าที่ในสภาแล้ว คะแนนเสียงมีนัยยะทางการเมือง แต่ถามว่าเป็นเหตุทำให้การเลือกตั้งถึงขั้นไม่ชอบธรรมหรือไม่นั้น คงไม่ใช่


จากกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยที่แยกราชประสงค์ในวันที่ 23 มิ.ย. อ.พิชญ์ มองว่า สิ่ง ที่ไม่เข้าใจก็คือ เกือบจะโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งแล้ว ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ไปเน้นในเรื่องของปรุกกระแสเผาบ้านเผาเมือง แทนที่จะโจมตีนโยบายมากกว่า จากโพลล่าสุด นักเศรษฐศาสตร์เคียงข้างประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้หมายความว่านักเศรษฐศาสตร์ถูก เพราะนักเศรษฐศาสตร์ก็พลาดมาเยอะ อย่างน้อยประชาธิปัตย์มีวัตถุดิบ หรือเรื่องราวอีกมากที่ประชาธิปัตย์สามารถต่อสู้ โดยที่ตนเองยังมีคะแนนำพรรคเพื่อไทยได้ โดยเฉพาะเชิงนโยบาย เพราะเพื่อไทยมีนโยบายออกแนวก้าวไกลเกินไป และไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ จุดมุ่งหมายของนโยบายอีกอย่างหนึ่งก็คือ "กล้าคิดนอกกรอบหรือเปล่า" เพราะความเชื่อมั่นของสังคมจะเป็นพลังสำคัญ ที่จะผลักนโยบาย เพียงแค่ประชาธิปัตย์เล่นเกมเบาๆ ก็ดีอยู่แล้ว แต่ประชาธิปัตย์ไปเล่นเกมโดยที่คิดว่า คนยังไม่ตัดสินใจเลือกเยอะ เชื่อว่าคนที่ยังไม่เลือกอาจจะหันมาเลือก แต่ถ้าการขึ้นเวทีครั้งนี้ไม่มีข้อมูลใหม่กว่าที่เคยมีก็ทำอะไรไม่ได้เช่น กัน


อย่างน้อยฝ่ายตรงข้ามก็มีพื้นที่สื่อตอบ โต้เยอะ แม้สื่อมวลชนจำนวนมากอยู่ในสายของประชาธิปัตย์มากกว่า ฉะนั้นพรุ่งนี้เป็นเกมที่เสื่ยงมากของประชาธิปัตย์ เล่นแล้วไม่รู้คุ้มหรือเปล่า ท่ามกลางกระแสที่ว่าเพื่อไทยชนะ 20 กว่าเขตในกทม. และพรุ่งนี้ก็จะเป็นตัวชี้วัดหลายเรื่องอีกเหมือนกัน เช่น ผู้ประกอบการที่แยกราชประสงค์จะตอบโต้หรือไม่ เป็นต้น

การ ที่เพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลแล้วจะถูกล้มนั้น อ.พิชญ์ เสนอว่า เป็นโจทย์ที่เพื่อไทยต้องแก้ อย่าไปโทษคนอื่น สิ่งที่คุณทักษิณให้โจทย์มาไม่พอ คือ กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นธรรมกับคุณทักษิณ เพื่อไทยจะตอบแทนคุณทักษิณไม่ได้ทั้งหมด แต่เพื่อไทยต้องมีเวอร์ชั่นเป็นของตนเอง ต่อมาคือ คราวที่แล้วคุณทักษิณพลาดเพราะไม่ได้เอาพรรคอื่นมาร่วมรัฐบาล ต่อให้เอาพรรคอื่นมาร่วม ก็เป็นแค่ก๊วนนักการเมือง สุดท้ายต้องตอบคำถามใหญ่ให้ได้ว่า "คอร์รัปชั่นกับประชาธิปไตยไปด้วยกันได้หรือไม่" ใช่ว่าเสียงข้างมากคือความถูกต้อง แต่เสียงข้างมากจะพิสูจน์ว่าถูกต้องได้อย่างไร

เสียง ข้างมากไม่มีหน้าที่ฟอก ใคร แต่ว่ามีหน้าที่ต่อกระบวนการกฎหมายอย่างไร ข้อไหนแก้ได้หรือแก้ไม่ได้ ถ้าแก้แล้วเอื้อต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ไม่ถูกต้อง หากกฎหมายเอื้อทุกผ่าย หรือรื้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมก็เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งทุกพรรคมีสิทธิ์ถูกยุบหรือรอดได้ทั้งนั้น ตราบใดที่ไม่แก้โจทย์ว่าเสียงข้างมากไม่ใช่ความถูกต้อง ควรคำนึงเสียงข้างน้อย คำนึงปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ถ้าเพื่อไทยไม่ชัด ไม่ได้เป็นปัญหาแค่เพื่อไทยอย่างเดียว แต่ยังเป็นปัญหาของอนาคตประชาธิปไตยด้วย จะอยู่ร่วมกันไม่ได้


เมื่อ เพื่อไทยเข้าไปเป็นรัฐบาลแล้ว ควรเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปกองทัพ แต่ตนคิดว่า ไม่ควรเข้าไปแตะตัวผบ.ทบ. ปล่อยให้อยู่ไปจนถึงฤดูโยกย้าย แต่เข้าไปแก้กระบวนการจัดตั้งระดับสูงของกองทัพ ทำให้กระบวนการแต่งตั้งโปร่งใส มีคณะกรรมการที่ทุกคนยอมรับได้ เพื่อตอบคำถามว่า เอาใครมาคุมกองทัพ ถ้ามีความโปร่งใสว่าผบ.ทบ.มาจากไหน กล่าวคือ สังคมรับรู้กระบวนการ กระบวนการเลือกต้องมีคำตอบให้กับสังคม แต่ปัจจุบันไม่ใช่ นายกรัฐมนตรียังไม่รู้เลยว่าจะเลือกใคร ต้องไปปรึกษาใครต่อใครอีกหลายคน


ท้ายที่สุด แล้ว คนที่เป็นคู่ชิงตำแหน่งนายกฯต้องเข้าไปเสนอวิสัยทัศน์ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเอาความจงรักภักดีมาอ้างเพื่อขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งทุกคนมีอยู่แล้ว มาพูดกันดีกว่าว่าจะแก้ปัญหาชายแดนอย่างไร แก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร เอาทหารออกจากการเมืองอย่างไร ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร ที่ผ่านมาไม่เห็นวิสัยทัศน์ ตรวจสอบไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวมา จะทำให้ประชาชนเลิกมองว่าทหารดีหรือไม่ ประชาชนก็มีสิทธิ์พูดเรื่องทหารได้ ถ้ามีโครงสร้างการแต่งตั้งอย่างเป็นระบบ มีการปฎิรูป เราก็จะไม่ได้มองทหารว่าเป็นศัตรู มาดูนโยบายร่วมกัน


อย่าง ไรก็ตาม นักการเมืองทุกคนหรือพรรคการเมืองทุกพรรคต้องการที่จะหาเสียง อยากพูดคุย กับทหารทั้งนั้น อยากให้สังคมถามคำถามใหญ่ว่า หมดอำนาจของผบ.ทบ.คนนี้แล้ว โครงสร้างเดิมจะหายหรือไม่ ตราบใดที่ยังจะเปลี่ยนความมั่นคงให้กลายเป็นทบวงขึ้นมา

มากกว่า นั้น โจทย์ใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล แต่อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เป็นประชาธิปไตยได้มากกว่า โดยก้าวพ้นเรื่องการถูกกล่าวหาและการขายเสียง และเสียงข้างมากจะถูกต้องได้อย่างไร