WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 21, 2011

จับตาคดีนักศึกษายะลาถูกซ้อม หลังยื่นรายงานแพทย์ผลจากการทรมาน

ที่มา ประชาไท

คดี นักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน ศาลปกครองกำหนดวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง ทนายความจัดส่งรายงานนิติ จิตเวชศาสตร์ประกอบคำฟ้อง ยืนยันเหยื่อได้รับผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ศาลปกครองสงขลากำหนดเป็นวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีหมายเลขดำที่ 187 , 188 / 2552 ที่นายอิสมาแอ เตะ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และนายอามีซี มานาก ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ถูกฟ้องคดี ทนายความได้นำส่งรายงานการแพทย์ ซึ่งเป็นรายงานผลการตรวจสภาพร่างกายและจิตใจของนายอิสมาแอ เต๊ะ ผู้ร้องที่ 1 เพื่อยืนยันความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจของเหยื่อที่ถูกซ้อมทำร้ายร่างกาย และทรมานเพื่อให้รับสารภาพในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ทำกิจกรรมนักศึกษาในช่วงปี 2550-2551 แต่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยแลถูกตรวจค้นบ้านพัก ถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ต่อมาได้รับการปล่อยตัวและไม่เคยถูกตั้งข้อหาในคดีอาญาแต่อย่างใด

คดี นี้เป็นคดีแรกที่เหยื่อผู้ถูกควบคุมตัวและซ้อมทรมานตามอำนาจของกฎ อัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องคดีเพื่อให้ หน่วยงานรัฐ (กองทัพบกและกระทรวงกลาโหม) รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ซึ่งอยู่ ในสังกัดของตนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 และต่อมาศาลแพ่งได้โอนคดีไปศาลปกครองสงขลา เนื่องจากการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกอยู่ในอำนาจศาลปกครอง ศาลได้แสวงหาข้อ เท็จจริงทั้งจากผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเวลากว่า 2 ปี

การ ทรมานถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงในทางสากล เนื่องจากเป็นการกระทำโดยผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รูปแบบการทรมานในปัจจุบันมักไม่ปรากฏร่องรอยทางร่าง กาย ทำให้เป็นปัญหาในทางคดีที่ไม่สามารถพิสูจน์ความเสียหายจนไม่สามารถเรียก ร้องค่าเสียหายจากการละเมิดได้ อย่างไรก็ตาม เหยื่อการทรมานที่ผ่านสภาพเลว ร้ายจากการทรมาน แม้จะไม่ปรากฏร่องรอบทางร่างกาย แต่มีปรากฏร่องรอยผลกระทบทางจิตใจคงอยู่ยาวนาน

ดังนั้น ปัญหาผลกระทบจากการทรมานในลักษณะดังกล่าวจึงถูกคลี่คลายลงด้วย การตรวจสอบผลกระทบทางจิตใจจากการผ่านเหตุการณ์เลวร้ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญ ในคดีนี้ นายอิสมาแอได้รับการตรวจร่างกายและผลกระทบทางจิตใจหลังผ่าน เหตุการณ์เลวร้าย (Post-traumatic stress disorder) หรือPTSD และจัดทำเป็นรายงานทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นอิสระ 2 ท่านที่เป็นสมาชิกของสภาเพื่อฟื้นฟูผู้ถูกทรมานระหว่างประเทศ (International Rehabilitation Council for torture victims) หรือ IRCT ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และมีวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาการทำงาน ด้านนิติวิทยาศาสตร์และนิติจิตเวชศาสตร์ต่อเหยื่อที่ถูกซ้อมทรมานทั่วโลกภาย ใต้พิธีสารอิสตันบูล ซึ่งเป็นคู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีการทรมานหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Istanbul Protocol: Manual on the Effective Investigation and Documentation of Torture and other cruel, Inhuman or Degrading Treatment of Punishment) หรือที่เรียกว่าพิธีสารอิสตันบูล เป็นหลักการมาตรฐานสากลในการบันทึกรวบรวม พยานหลักฐานกรณีการทรมานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางให้ความ ช่วยเหลือคุ้มครองและเยียวยาเหยื่อผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานอย่างมี ประสิทธิภาพ

กลไกการคุ้มครองและป้องกันการซ้อมทรมานในระดับสากลจะ ช่วยลดช่องว่างและ ข้อบกพร่องในการสืบสวนสอบสวนกรณีการซ้อมทรมานในประเทศไทย และในขณะที่ PTSD ยังไม่ได้ถูกนำมาพัฒนาใช้ในการพิจารณาให้การช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อการทรมาน แต่เป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะสามารถยืนยันความร้ายแรงของการทรมานที่ ส่งผลกระทบทางจิตใจของเหยื่ออย่างยาวนานมากกว่าอาการบาดเจ็บทางร่างกาย ส่ง ผลให้เหยื่อการทรมานไม่สามารถได้รับการเยียวยาหรือชดใช้ค่าเสียหายอย่างเป็น ธรรม และยังส่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามอำเภอใจเนื่องจากไม่ถูกลง โทษจากความผิดที่ตนกระทำ และหน่วยงานผู้บังคับบัญชาอาจละเลยไม่กำกับดูแลจน หลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบยิ่งลดน้อยและ ถูกทำลายลง

คดีนี้จึงเป็นคดีแรกที่มีการยื่นรายงานทางการแพทย์จากการ ทรมานเพื่อ ประกอบการพิจารณาของศาล และเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยมาตรา 32 ซึ่งบัญญัติถึงสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกทรมานและสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา อย่างเหมาะสม [1] ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไป


[1] มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การท รมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือ ว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

ใน กรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ ได้